ผลกระทบจากการเข้าสู่ยุคดิจิทัลและการปรับตัวด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทานของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกขนาดเล็ก (โชห่วย) ในเขตจังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลกระทบจากการเข้าสู่ยุคดิจิทัลและการปรับตัวด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทานของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกขนาดเล็ก (โชห่วย) ในจังหวัดเชียงราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบจากการเข้ายุคดิจิทัล 2) ศึกษาการปรับตัวด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทานและ 3) ศึกษาผลกระทบจากการเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อการปรับตัวด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทานของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกขนาดเล็กในจังหวัดเชียงราย โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง โดยเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นการแจกแบบสอบถามผ่านทางระบบออนไลน์ และ สอบถามด้วยผู้วิจัยเอง และสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกขนาดเล็กได้รับผลกระทบจากการเข้าสู่ยุคดิจิทัลโดยภาพรวมอยู่ในระดับผลกระทบปานกลาง ด้านที่ได้รับผลกระทบสูงสุด ได้แก่ ด้านการเงิน รองลงมา ได้แก่ ด้านลูกค้า และน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการเรียนรู้และพัฒนา ตามลำดับ 2) การปรับตัวด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทาน โดยภาพรวมมีการปรับตัวอยู่ในระดับปรับตัวมาก ด้านที่มีการปรับตัวด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทานมากที่สุด ได้แก่ ด้านการเลือกผู้จัดจำหน่าย รองลงมา ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง และน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการกระจายสินค้า ตามลำดับ 3) ผลกระทบจากการเข้าสู่ยุคดิจิทัลส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ต่อการปรับตัวด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทานของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกขนาดเล็ก เมื่อพิจารณาผลกระทบรายด้านมีเพียง 2 ด้านที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ต่อการปรับตัวในการจัดการห่วงโซ่อุปทานของผู้ประกอบการ ได้แก่ ผลกระทบด้านการเรียนรู้และพัฒนา (β=.27) ผลกระทบด้านการเงิน (β=.19)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of TCI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...
References
กชกร เจียมสง่า ศิริลักษณ์ เอกตระกูล วรรณลักษณ์ เหล่าทวีทรัพย์ และ สุพิชชา ชีวพฤกษ์. (2563). การจัดการสินค้าคงคลังกรณีศึกษาบริษัทผลิตโคมไฟพลาสติก. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสหการไทย, 6(1), 19-28.
กรณิกา สุริยะกมล และ ฉัตรวรัญ องคสิงห์. (2562). ร้านค้าโชห่วยกับการอยู่รอดในยุคเศรษฐกิจดิจิตอล. การประชุมนําเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติครั้งที่ 14 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 1-11.
กิตติชัย เจริญชัย. (2562). การศึกษาระบบจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของมันสำปะหลังในจังหวัดมหาสารคาม. (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม.
กิรติพงษ์ ปัญญาเรือง. (2559). กลยุทธ์ความได้เปรียบในการแข่งขันที่มีต่อผลความสำเร็จในการดำเนินงานตามแนวคิด Balance Scorecard ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแปรรูปอาหารของจังหวดัสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.
เขมิกา สงวนพวก. (2567). การศึกษาการจัดการฐานข้อมูลลูกค้าในการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ของภาคธุรกิจในจังหวัดลพบุรี. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 5(1), 84-107.
คลอเคลีย วจนะวิชากร และคณะ. (2567). การศึกษาห่วงโซ่อุปทานวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่พริก ตำบลหัวเรือจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 17(1), 163-178.
จุฑาทิพย์ ลีลาธนาพิพัฒน์ และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2561). การจัดการสินค้าคงคลังอย่างมืออาชีพ. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะมหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(1), 226-241.
ชุติระ ระบอบ กันต์ติกมาฐ รัตนปริญญานุกุล พัชรา โพชะนิกร พรวิสา ทาระคำ อภิญญา ไกรสำโรงและจริยา ทรัพย์เรือง. (2564). การจัดการโลจิสติกส์และการกระจายสินค้าปลาสลิดผ่านสื่อออนไลน์ของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 13(2), 359-377.
ฐาปกรณ์ ทองคํานุช เบญจพร เชื้อผึ้ง ธาริดา สกุลรัตน์ และ พิมพ์พร พิมพ์สุวรรณ. (2564). รูปแบบการเชื่อมโยงการจัดการห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรสู่ธุรกิจโรงแรมและธุรกิจบริการในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารศิลปะศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 3(2), 118-132.
ฐาปนา บุญหล้า. (2559). การปรับปรุงกระบวนการจัดการซัพพลายเชนในธุรกิจค้าปลีก : กรณีศึกษา บริษัท ซี พี ค้าปลีกและการตลาด จำกัด. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 8(1), 1-13
ณภัทร สิงหพงศ์. (2563). การจัดกลุ่มปัจจัยเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานของกลยุทธ์ Omnichannel ในธุรกิจค้าปลีก. (สารนิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม.
ณภัทร สิริพัฒนดิลก (2561) กลยุทธ์การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในธุรกิจร้านค้าปลีกตั้งง่วนฮง (สารนิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม.
ณัฐนันท์ นิรัชกุลโรจน์ และ สายชล ปิ่มมณี. (2564). การศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดซื้อและการควบคุมสินค้าคงคลังเพื่อสร้างรูปแบบเชิงป้องกันการจัดซื้อ. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 17(3), 134 – 144.
ณัฐวีร์ คุรุกุล. (2566). กลยุทธ์การเลือกซัพพลายเออร์ด้านอะไหล่คงคลังและวัสดุสิ้นเปลืองของอุตสาหกรรมเลนส์แว่นตาจังหวัดนนทบุรี. (สารนิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม.
ถนัดกิจ จันกิเสน. (2563). มองการปรับตัวของ ‘ร้านโชห่วย’ อยู่ให้รอดในวิกฤตโควิด-19 สืบค้นจาก https://thestandard.co/grocery-store-adjustment-during-coronavirus
ทศพร เตธนานันท์. (2561). การสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจโดยใช้กิจกรรมด้านโลจิสติกส์ธุรกิจค้าปลีกเครื่องสําอางค์. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต. ปทุมธานี.
ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. (2561). โครงการแนวทางการพัฒนาศักยภาพและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ SMEs โดยใช้เทคนิคการจัดการโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
ธนะรัตน์ รัตนกูล กันต์ธมน สุขกระจ่าง นิอัสรา หัดเลาะ และ อัญชลี ศรีรัตนา. (2561). ปัจจัยในการตัดสินใจคัดเลือกซัพพลายเออร์ในการจัดส่งวัตถุดิบอาหารทะเล กรณีศึกษาร้าน ABC. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่9. 1429-1439.
ธวัชชัย อ่อนนาเลน และ ศุภฤกษ์ โออินทร์. (2565). การปรับตัวของร้านโชห่วยต่อผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่ ตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 4(2), 2-18.
นิติพล ธาระรูป และณัฐวดี ลิ้มเลิศเจริญวนิช. (2567). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมของวิสาหกิจชุมชนของการจัดการห่วงโซ่อุปทานสมุนไพร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 16(1), 34-48.
ประสิทธิชัย นรากรณ์. (2560). ผลกระทบของความสามารถการตลาดดิจิทัลในฐานะตัวแปรส่งผ่านต่อประสิทธิภาพทางการตลาดของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน, 42(4), 44-46.
พรรณรัตน์ บุญกว้าง ธนกร สิริสุคันธา และ รวมพร มาลา. (2566). โอกาสและความท้าทายเพื่อความอยู่รอดของร้านค้าปลีกขนาดเล็กในยุคหลังโควิด-19. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 8(2), 87-98.
พรเทพ แก้วเชื้อ ธีร์ธนิกษ์ ศิริโวหาร และ กันต์ฤทัย คลังพหล. (2561). ปัจจัยด้านการบริหารจัดการซัพพลายเออร์ที่ส่งผลต่อสินค้าคงคลังในบริษัทผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดกลางและขนาดเล็ก. วารสารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 15(3), 83 – 98
พิเชษฐ เนตรสว่าง. (2565). การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับซัพพลายเออร์และคู่ค้าในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal). วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(3), 209-222.
ภัทรานิษฐ์ ก้อนจันทร์เทศ. (2564). การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Transformation) ต่อความยั้งยืนของธุรกิจร้านอาหาร SME : ในบริบทของการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19. (สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม.
วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ เวทยา ใฝ่ใจดี และ ปรียากมล เอื้องอ้าย. (2563). การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลเพื่อยกระดับความสามารถทางการแข่งขันองค์กร กรณีศึกษา ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 14(20), 25-44.
วิริยา บุญมาเลิศ. (2564). การจัดการการกระจายสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า. วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชนมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. นครปฐม.
ศจิกา ถาวรวิริยะนันท์. (2560). ผลกระทบจากการขยายตัวของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ต่อร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในพื้นที่ตำบลมาบยางพร อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง. (นิพนธ์มหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี
ศิริพร จันทร์หอม. (2563). การศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดซื้อเวชภัณฑ์โดยนำแนวคิดระบบการผลิตแบบลีนมาประยุกต์ใช้กรณีศึกษาการจัดซื้อเวชภัณฑ์ลักษณะฝากขายโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. (การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี.
ศิริพรรษา ทองกำเหนิด. (2563). งานวิจัยเพื่อศึกษาการยกระดับดิจิทัลในห่วงโซ่อุปทานเพื่อความยั่งยืน. (สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม.
ศุภาคนางค์ ยอดคำ. (2565). การคัดเลือกซัพพลายเออร์วัตถุดิบสำหรับผู้รับจ้างผลิตอาหารเสริมในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.
เศรษฐภูมิ เถาชารี. (2560). การทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการวัดประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. วารสารวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 10(2), 95-106.
สกุลรัตน์ แก้วเพิ่มพูน. (2563). เอกสารบรรยายการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. สืบค้นจาก https://hiperc.sru.ac.th/course/view.php?id=935
สุภาภรณ์ บุญเจริญ. กุลนิดากูลระวัง. พนารักษ์ คิดดี. รชต พานิช.และอทิตยา แสงทอง (2567). การวิเคราะห์โซ่อุปทาน สภาพแวดล้อมและศักยภาพการจัดจําหน่าย ปลากุดสลาดและปลาเก๋าทะเล กรณีศึกษาธุรกิจประมงนายธงชัย อินฉาย. วารสารบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 3(1). 71-92
สุจิตตา หงษ์ทองและคณะ. (2562). โซ่อุปทานปลานิลของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลและต้นทุนต่อหน่วย กรณีศึกษา อําเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร. 16(1), 180-199
สุริยนต์ สูงคำ และ ลัดดํา ปินตำ. (2565). การจัดการห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรปลอดภัยของบริษัทเชียงใหม่วิสาหกิจเพื่อสังคมจำกัด. วารสารบริหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์ราชมงคลล้านนา, 10(2), 1-18.
สุวิทย์ นามบุญเรือง. (2560). การบริหารช่องทางการตลาด. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัดแบบปริมาณลูกโซ่ ฉบับ พ.ศ. 2564 ISSN 1686-0799 สืบค้นเมื่อกรกฎาคม 10, จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=gross_regional
สำนักงานสถิติจังหวัดเชียงราย. (2566). ข้อมูลทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย. สืบค้นเมื่อกรกฎาคม 10, จาก http://chiangrai.nso.go.th/
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). (2563). บทวิเคราะห์ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ต่อMSMEไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2563. สืบค้นจาก https://new.sme.go.th/knowledge/
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). (2566). ภาพรวมจำนวนผู้ประกอบการจำแนกรายจังหวัด. สืบค้นจาก https://www.smebigdata.com/views-dashboard/view
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2566). สถานการณ์เศรษฐกิจดิจิทัลประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.depa.or.th/th/article-view/thailand-digital-economy-glance
อัจฉรา กิ้มเถี้ยว. (2563) การปรับตัวทางการตลาดเพื่อความอยู่รอดของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกดั้งเดิมในอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา.
อาทิตยา ทรรศนสฤษดิ์. (2561). แนวทางการปรับตัวของผู้ประกอบการสู่ธุรกิจค้าปลีกรูปแบบใหม่. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กทม.
อวัสดา กิจสวน ประวิท ทองไชย กนก พานทอง และ จักรินทร์ ชินสุวรรณ. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติครั้งที่2. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. กทม.
Herbert, E. S., Dorothy, M. G. and Maynard, W. S. (1963). Multistage Inventory Models and Techniques. Stanford University: Stanford University Press.
Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (2004). Strategy maps: converting intangible assets into tangible outcomes. Boston, Mass: Harvard Business School Press.
Marquardt, D. W. (1970). Generalized inverses, ridge regression, biased linear estimation, and nonlinear estimation. Technimetrics, 12(3), 591-612.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2(2), 49–60.
Sarigul, S. S., & Coskun, A. (2021). Balanced scorecard (bsc) as a strategic performance management tool: application in a multinational bank. R&S-Research Studies Anatolia Journal, 4(2), 115-129.
Spring news. (2565). รายงานเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคอเาเซียน. สืบค้นจาก https://www.springnews.co.th/digital-business/digital-marketing/832365
Tavakol, M., & Dennick, R. (2011). Making sense of Cronbach’s alpha. International Journal of Medical Education, 2, 53–55.