วารสารการจัดการและการพัฒนาท้องถิ่น https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMLD <p>วารสารการจัดการและการพัฒนาท้องถิ่น มุ่งนำเสนอบทความในศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ ด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม ด้านการพัฒนาท้องถิ่น และด้านสหวิทยาการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นผลงานที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ในเชิงทฤษฎี หรือการนำไปใช้ประโยชน์ต่อองค์การ ทั้งเชิงนโยบาย เชิงพาณิชย์ หรือเชิงการบริหารจัดการ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน</p> คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (Faculty of Management Science, Kamphaeng Phet Rajabhat University) th-TH วารสารการจัดการและการพัฒนาท้องถิ่น 2651-2122 <p><em>Journal of TCI is licensed under a Creative Commons </em><a href="https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/"><em>Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)</em></a><em> licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...</em></p> การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกมะแขว่นของกลุ่มสตรีไทยทรงดำ หมู่บ้านท่าช้าง ตำบลคลองน้ำไหล อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMLD/article/view/1219 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าน้ำพริกมะแขว่นของกลุ่มสตรีไทยทรงดำ หมู่บ้านท่าช้าง ต.คลองน้ำไหล อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร 2) ตรวจสอบความปลอดภัยของน้ำพริกมะแขว่น 3) พัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายน้ำพริกมะแขว่นรูปแบบออนไลน์ 4) ประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคน้ำพริกมะแขว่น เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี วัตถุประสงค์ที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มสตรีไทยทรงดำ หมู่บ้านท่าช้าง ที่ทำการผลิตน้ำพริกมะแขว่น 3 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และทำการวิเคราะห์เนื้อหา วัตถุประสงค์ที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แหล่งข้อมูลคือ ศูนย์ส่งเสริมและตรวจสอบการผลิตตามมาตรฐานความปลอดภัยทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร เครื่องมือวิจัยคือ แบบทดสอบค่าวอเตอร์แอกติวิตี จุลินทรีย์ทั้งหมด ยีสต์และราทั้งหมด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเปรียบเทียบกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกกรมกระทรวงอุสาหกรรม มผช.321/2556 วัตถุประสงค์ที่ 3 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มสตรีไทยทรงดำ หมู่บ้านท่าช้าง ที่ทำการผลิตน้ำพริกมะแขว่น และผู้ที่เกี่ยวข้อง 10 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยคือ การสนทนากลุ่ม และทำการวิเคราะห์เนื้อหา วัตถุประสงค์ที่ 4 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มทดลองบริโภคน้ำพริกมะแขว่น 40 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาเพื่อหาค่าค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพและปัญหาบรรจุภัณฑ์เดิมเป็นรูปแบบพลาสติกอ่อน แตกง่าย ตราสินค้าไม่มีรายละเอียดในการติดต่อที่หลากหลาย ความต้องการคือ การเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ที่มีความแข็งแรง มีฝาปิดมิดชิด และมีตราสัญลักษณ์ของกลุ่ม 2) ผลการตรวจสอบความปลอดภัยพบว่า มีจุลินทรีย์ 5.3x 10<sup>3 </sup>โคโลนี, มียีสต์และรา 9.0x10<sup>1</sup> โคโลนี และ Water Activity 0.909@25.O<sup>0</sup>C ซึ่งผ่านมาตรฐาน 2 เรื่องแรก 3) การพัฒนา ช่องทางการจัดจำหน่ายได้มีการเพิ่มช่องทางการขายผ่านช่องทางออนไลน์ ผ่านเพจ Facebook “น้ำพริก มะแขว่น ชินชินจริงๆ” 4) ความพึงพอใจของผู้บริโภคในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.13) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ราคาอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้านคือ การส่งเสริมการขาย ช่องทางการจัดจำหน่าย และสินค้าและบริการ ตามลำดับ</p> ดารารัตน์ จันทร์อินทร์ เพ็ญศรี ยวงแก้ว พัตราภรณ์ อารีเอื้อ ภาวิดา สินสวัสดิ์ ธนาภา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา พิชิตชัย ใจผ่อง Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 7 2 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่ และการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMLD/article/view/1277 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้ที่กลับมาใช้บริการร้านคาเฟ่ซ้ำ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ที่กลับมาใช้บริการร้านคาเฟ่ซ้ำ 3) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อการตัดสินใจของผู้ที่กลับมาใช้บริการร้านคาเฟ่ซ้ำ 4) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อการตัดสินใจของผู้ที่กลับมาใช้บริการร้านคาเฟ่ซ้ำ จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้ที่เคยใช้บริการร้านคาเฟ่มากกว่า 3 ครั้ง ในอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 385 คน โดยใช้แบบสอบถาม</p> <p>ผลการวิจัย 1) พบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมาก มีอายุระหว่าง 20 - 30 ปี มีสถานภาพโสด มีระดับการศึกษา ปริญญาตรี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท 2) ผู้บริโภคส่วนใหญ่ นิยมไปใช้บริการร้านคาเฟ่กับเพื่อน และเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการไปใช้บริการร้านคาเฟ่เหตุผลที่ทำให้ตัดสินใจไม่กลับไปใช้บริการ คือ พนักงานบริการไม่ดี มีจำนวนค่าใช้จ่ายต่อครั้ง 100 - 300 บาท และร้านคาเฟ่ที่นิยมไปส่วนใหญ่เป็น ร้านฌาลี 3) ระดับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ในปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และปัจจัยด้านบุคลากร มีผลต่อการตัดสินใจกลับมาใช้บริการร้านคาเฟ่ซ้ำมากที่สุด 4 ) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อการตัดสินใจของผู้ที่กลับมาใช้บริการร้านคาเฟ่ซ้ำ ไม่แตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ในขณะที่แตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบตามสถานภาพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน</p> ชนากานต์ ก่ำการยุทธ ไปรยา ฤทธิ์กระจาย ชูเกียรติ สีดานุช ธิดา แก้วแกมทอง พีรพล ชัยบุญเรือง ปาจรีย์ ผลประเสริฐ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 7 2 ความพึงพอใจการเข้าร่วมโครงการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก ตำบลเบญจขร อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMLD/article/view/1349 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเพิ่มรายได้ของประชาชนในชุมชนระดับรากหญ้า ชาวบ้านตำบลเบญจขกร อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ชาวบ้านตำบลเบญจขกร อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้วที่เข้าร่วมโครงการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตและรายได้ให้กับคนในชุมชน<br />ฐานราก ตำบลเบญจขร อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว จำนวน 44 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง กลุ่มอายุ 35-49 ปี อาชีพเจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการอิสระ โดยผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในภาพรวมของกิจกรรมของโครงการในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการอำนวยความสะดวกประสานงาน และการให้บริการของเจ้าหน้าที่ การสนับสนุนด้านการฝึกอาชีพหรือพัฒนาทักษะที่ได้รับจากโครงการฯ และด้านรูปแบบการจัดงานและกิจกรรม ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าโครงการนี้มีความสำเร็จสูงในการสร้างความพึงพอใจและตอบสนองความต้องการของผู้เข้าร่วมโครงการในชุมชน</p> ปรีชญา รุ่งวิกรัยกานต์ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 7 2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน ของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต ในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMLD/article/view/1819 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต ในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตาก 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ที่มีต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ จำนวน 80 แห่ง เครื่องมือคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์แปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์สหสัมพันธ์สัมประสิทธิ์ถดถอยแบบพหุคูณ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษาเปรียบเทียบ พบว่า ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์โดยรวมของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 5 ด้าน โดยค่าเฉลี่ยของการบริหารใกล้เคียงกันตามลำดับดังนี้ ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ ด้านความปลอดภัยและสุขภาพ ด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์&nbsp; และด้านแรงงานสัมพันธ์ อยู่ในระดับมาก 2 ด้าน คือ ด้านการสรรหาและคัดเลือก ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความคิดเห็นเกี่ยวกับความได้เปรียบทางการแข่งขันของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตที่มีประเภทการผลิตแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความได้เปรียบทางการแข่งขันของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์กับความได้เปรียบทางการแข่งขัน สามารถสรุปได้ว่า การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ด้านความปลอดภัยและสุขภาพ 0.014 ด้านแรงงานสัมพันธ์ 0.017 ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน 0.032 มีผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันโดยรวมของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต และด้านแรงงานสัมพันธ์ 0.001 มีผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน ด้านต้นทุนของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต อีกทั้งด้านค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ 0.025 ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน 0.033 มีผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน ด้านสร้างความแตกต่างของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต และด้านความปลอดภัยและสุขภาพ 0.034 มีผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน ด้านการตอบสนองความต้องการที่รวดเร็วของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต</p> สายใจ ต๋าคำ ปรินดา รุ่งหมี วาสนา จรูญศรีโชติกำจร Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 7 2