วารสารการจัดการและการพัฒนาท้องถิ่น https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMLD <p>วารสารการจัดการและการพัฒนาท้องถิ่น มุ่งนำเสนอบทความในศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ ด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม ด้านการพัฒนาท้องถิ่น และด้านสหวิทยาการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นผลงานที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ในเชิงทฤษฎี หรือการนำไปใช้ประโยชน์ต่อองค์การ ทั้งเชิงนโยบาย เชิงพาณิชย์ หรือเชิงการบริหารจัดการ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน</p> th-TH <p><em>Journal of TCI is licensed under a Creative Commons </em><a href="https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/"><em>Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)</em></a><em> licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...</em></p> jmld_fms@kpru.ac.th (ดร.ประพล จิตคติ) jmld_fms@kpru.ac.th (วชิรวิทย์ กรรณิกา) Tue, 01 Aug 2023 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาแอปพลิเคชันศูนย์การเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกลือต้มบ้านเก่าน้อยสามัคคี ตําบลไพศาล อําเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMLD/article/view/940 <p class="p1">การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาแอปพลิเคชันศูนย์การเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่2. ประเมินประสิทธิภาพของการพัฒนาแอปพลิเคชันศูนย์การเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ และ 3. วิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ใช้งานแอปพลิเคชันศูนย์การเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ซึ่งได้ทําการศึกษาระบบงานและนํามาพัฒนาโปรแกรม ร่วมกับระบบฐานข้อมูล มายเอสคิวแอล ข้อมูลที่พัฒนาโดยนําข้อมูลตัวอย่างมาจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกลือต้มบ้านเก่าน้อยสามัคคี ตําบลไพศาล อําเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด</p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า 1) แอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้งานได้จริง คิดเป็นร้อยละ 100 2) การประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นใน ภาพรวมมีประสิทธิภาพในระดับเหมาะสมมาก(ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47) และ 3) ความพึงพอใจของผู้ใช้งานแอปพลิเคชันศูนย์ โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40)</p> ญาณกร เขตศิริสุข, ตรีธิดา บุญทศ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMLD/article/view/940 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 การสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจพริกแกงหนองขาม ตําบลเขาคีริส อําเภอพรานกระต่าย จังหวัดกําแพงเพชร https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMLD/article/view/942 <p class="p1">การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจพริกแกงหนองขาม ตําบลเขาคีริส อําเภอพรานกระต่าย จังหวัดกําแพงเพชร 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจผู้บริโภคพริกแกงหนองขาม ตําบลเขาคีริส อําเภอพรานกระต่าย จังหวัดกําแพงเพชร การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี วัตถุประสงค์ที่ 1 ประชากรคือ กลุ่มแม่บ้านหนองขาม นักวิชาการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง จํานวน 120 คน กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มแม่บ้านหนองขามที่ทําการผลิตน้ําพริก นักวิชาการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง จํานวน 20 คน วัตถุประสงค์ที่ 2 ประชากร คือ กลุ่มผู้บริโภคพริกแกงหนองขาม จํานวน 450 คน กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มผู้บริโภคพริกแกง หนองขาม จํานวน 222 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) พริกแกงหนองขามแบบเดิมเป็นรสชาติดั้งเดิม บรรจุภัณฑ์ใส่ถุงพลาสติกใช้เครื่องซีลถุงละครึ่งกิโลกรัม ฉลากสินค้ามีชื่อสินค้าและที่อยู่ติดต่อเป็นรูปสี่เหลี่ยมสีส้ม ราคาขายถุงละ 40 บาท ทําการสร้างมูลค่าเพิ่มโดยมีทั้งรสชาติดั้งเดิม และรสชาติที่มีเครื่องเทศ ใส่กระปุกพลาสติกใสปิดฝาเกลียวกระปุกละครึ่งกิโลกรัม ฉลากสินค้าเป็นรูปวงกลมสีเหลืองพร้อมรายละเอียดสินค้า ราคาขายกระปุกละ 50 บาท 2) ความพึงพอใจของผู้บริโภคอยู่ในระดับมากที่สุดในด้านฉลากสินค้ามีความสวยงาม รองลงมาคือบรรจุภัณฑ์เปิดใช้ได้ง่าย และบรรจุภัณฑ์ทําการจัดเก็บ เคลื่อนย้ายง่าย ตามลําดับ มียอดการสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากเดิม 50 ถุง เป็น 80 กระปุก ต่อ 1 สัปดาห์ ช่องทางการจัดจําหน่ายมีทั้งทางออนไลน์ และขายในตลาดทั่วไป</p> เดชวิทย์ นิลวรรณ, ศิริจันทร์ เชื้อสุวรรณ, เพ็ญศรี ยวงแก้ว, พลอยณัชชา เดชะเศรษฐ์ศิริ, พัตราภรณ์ อารีเอื้อ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMLD/article/view/942 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 ดนตรีตับเต่า จังหวัดอุตรดิตถ์ https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMLD/article/view/944 <p class="p1">การวิจัยเรื่อง ดนตรีตับเต่า จังหวัดอุตรดิตถ์ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาที่มาและพัฒนาการของการละเล่นดนตรีตับเต่า จังหวัดอุตรดิตถ์ 2) เพื่อศึกษาลักษณะเฉพาะทางดนตรีของดนตรีตับเต่าจังหวัดอุตรดิตถ์ ขั้นตอนในการศึกษาวิจัย ผู้วิจัยใช้การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับดนตรีตับเต่า คือ นักดนตรีและผู้แสดงดนตรีตับเต่า นักวิชาการดนตรี ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีตับเต่า จํานวน 37 คน และใช้ระบบการบันทึกเสียงจากการบรรเลงจริง ซึ่งวงดนตรีที่นํามาศึกษาครั้งนี้ เป็นวงดนตรีที่บรรเลงประกอบการละเล่นดนตรีตับเต่า ของจังหวัดอุตรดิตถ์ จํานวน 3 คณะ คือ คณะฟากท่าบันเทิงศิลป์ คณะชมรมผู้สูงอายุน้ําปาด และคณะกลุ่มแม่บ้านนาคันทุง ผลการวิจัยพบดังนี้ 1) ที่มาและพัฒนาการของการละเล่นดนตรีตับเต่า จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า ดนตรีตับเต่าเป็นดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการละเล่นตับเต่าโดยเฉพาะ การละเล่นตับเต่า พัฒนาการจากการนําวรรณกรรมที่บันทึกเป็นภาษาไทยน้อยในสมุดใบลาน มาเล่าเป็นนิทาน จนกระทั่งพัฒนาเป็นรูปแบบการละเล่น เครื่องดนตรีที่ประสมวงมี 2 ชนิด คือ ซอตับเต่า (ซอปิ๊บ) และกลองตับเต่า เพลงที่ใช้บรรเลงเพลงเดียวคือ เพลงตับเต่า จากการศึกษาพบว่าดนตรีตับเต่ามุ่งเน้นบรรเลงประกอบการการละเล่นให้สัมพันธ์กลมกลืน มากกว่าการบรรเลงประกอบกิริยาของตัวละคร และ 2) ลักษณะเฉพาะทางดนตรีของดนตรีตับเต่า จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า ดนตรีตับเต่ามีกลุ่มเสียงทํานองเพลงเสียง 5 เสียงคือ C (โด), D (เร), E (มี), G (ซอล) และ A (ลา) ทํานองหลักมี 2 วรรค (หรือ 4 วลี)โครงสร้าง ทํานองประกอบด้วย การบรรเลงภายในวรรค การบรรเลงทั้งหมด ทํานองหลักแบ่งตามลักษณะการใช้ได้ 2 ช่วง คือ ช่วงที่ใช้บรรเลงประกอบการร้อง และช่วงใช้เป็นลูกจบเพลง การเคลื่อนที่ของทํานองนิยมใช้การเคลื่อนที่เป็นแบบช่วงกว้างระยะ 2 เสียง และใช้แบบช่วงกว้างระยะ 3 เสียงและ 4 เสียงตามลําดับ ทิศทางการเคลื่อนที่ของทํานองมีลักษณะขึ้นและลงอย่างรวดเร็ว และลงจบที่เสียง D (เร) การประดับตกแต่งทํานอง พบว่ามีการใช้ทุกคณะ กระสวนจังหวะกลองตับเต่า แบ่งได้ 2 ช่วง คือ ช่วงที่ยืนจังหวะตรงกับจังหวะเคาะ และเป็นสัญญาณเพื่อลงจบ</p> อำนาจ บุญอนนท์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMLD/article/view/944 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านทางเฟซบุ๊ก ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMLD/article/view/945 <p class="p1">งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านทางเฟซบุ๊กของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านทางเฟซบุ๊กของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชรที่เคยใช้บริการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์จํานวน 384 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีลักษณะพฤติกรรมในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านทางเฟซบุ๊ก ประเภทเสื้อผ้า/เครื่องแต่งกายมากที่สุด ซึ่งมีความถี่ในการซื้อประมาณเดือนละ 1 ครั้ง และมีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อการซื้อแต่ละครั้งคือ 201-300 บาท และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านทางเฟซบุ๊ก ของนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านทางเฟซบุ๊ก โดยรวมทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมาก ซึ่งด้านผลิตภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ยรวมมากที่สุดรองลงมาคือ ด้านราคา และด้านช่องทางการจัดจําหน่าย ตามลําดับ ในขณะที่ด้านการส่งเสริมการตลาด มีค่าเฉลี่ยรวมน้อยที่สุด</p> กนกนิภา ก่วยจีน, รัชนี พันธ์โยศรี, ศิรินันท์ เงินนา, กนิษฐา ศรีภิรมย์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMLD/article/view/945 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700