วารสารการจัดการและการพัฒนาท้องถิ่น มุ่งนำเสนอบทความในศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ ด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม ด้านการพัฒนาท้องถิ่น และด้านสหวิทยาการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นผลงานที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ในเชิงทฤษฎี หรือการนำไปใช้ประโยชน์ต่อองค์การ ทั้งเชิงนโยบาย เชิงพาณิชย์ หรือเชิงการบริหารจัดการ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน

กำหนดความซ้ำซ้อนของผลงาน

2024-08-31

วารสารการจัดการและการพัฒนาท้องถิ่น (jMLD) ได้กำหนดความซ้ำซ้อนของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCatch จากเว็บไซต์ Thaijo ดังนี้ 

- สำหรับบทความวิจัย ความซ้ำซ้อนต้องไม่เกิน 25%

- สำหรับบทความวิชาการ ความซ้ำซ้อนไม่เกิน 10%

โดยมีผลตั้งแต่ เดือน กันยายน พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ เพื่อให้ไปเป็นตามมาตรฐาน โดยงานวารสารจะได้ดำเนินการแจ้งผู้แต่งให้ทราบ ภายหลังการ Submissions

ขอเชิญส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์วารสารการจัดการและการพัฒนาท้องถิ่น

2024-08-31

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ได้ดำเนินการจัดทำวารสารการจัดการและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ในเชิงทฤษฎี หรือการนำไปใช้ประโยชน์ต่อองค์การ ทั้งเชิงนโยบาย เชิงพาณิชย์ หรือเชิงการบริหารจัดการ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน ของคณาจารย์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน รวมทั้งนักวิชาการและผู้สนใจ 

แจ้งปรับนโยบายการตีพิมพ์บทความ

2024-08-30

วารสารการจัดการและการพัฒนาท้องถิ่นจะดำเนินการตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่วารสารเป็นรูปแบบออนไลน์

ตั้งแต่ ฉบับ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม) ปี พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (2025): วารสารการจัดการและการพัฒนาท้องถิ่น

วารสาร “การจัดการและการพัฒนาท้องถิ่น” ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม – มิถุนายน 2568 ฉบับนี้ ได้รวบรวมบทความวิจัยที่สะท้อนภาพของการพัฒนาใน ระดับพื้นที่ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการปรับตัวและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจท้องถิ่นและชุมชน บทความที่ตีพิมพ์ในฉบับนี้ครอบคลุม ประเด็นที่หลากหลาย ได้แก่ การพัฒนาตลาดดิจิทัลโดยใช้โซเชียลคอมเมิร์ซเพื่อเพิ่ม ศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างยั่งยืนสำหรับวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว ผลกระทบจากการ เข้าสู่ยุคดิจิทัลและการปรับตัวด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทานของผู้ประกอบการร้านค้าปลีก ขนาดเล็ก (โชห่วย) พฤติกรรมการซื้อและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อ ผลิตภัณฑ์ OTOP ของผู้บริโภค และ Exploring the Potential of Artificial Intelligence for Sustainable Business Development in the Hotel Industry. นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอเชิงนโยบาย ตลอดจนแนวทางสำหรับผู้เขียนที่ต้องการ เผยแพร่ผลงานในวารสารฉบับนี้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความเหล่านี้ไม่เพียงแต่มีคุณค่า ทางวิชาการ หากแต่ยังเป็นกรณีศึกษาและต้นแบบที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในพื้นที่อื่น เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างครอบคลุมและยั่งยืน โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นสำคัญ ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่ร่วมกลั่นกรองผลงานวิจัยอย่างเข้มข้นตาม กระบวนการ Double-Blind Peer Review อันเป็นกลไกสำคัญในการรักษาคุณภาพของ วารสาร และขอขอบคุณผู้เขียน นักวิจัย และผู้อ่านทุกท่านที่ให้ความสนใจวารสารการ จัดการและการพัฒนาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง

เผยแพร่แล้ว: 2025-06-29

พฤติกรรมการซื้อและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดกำแพงเพชรของผู้บริโภค

เพชรา บุดสีทา, อรรถวิทย์ เอมโอช, อิสรีย์ ด่อนคร้าม, วรรณพรรณ รักษ์ชน, ชูเกียรติ เนื้อไม้
ดูทุกฉบับ