จริยธรรมการรับตีพิมพ์
จริยธรรมในการตีพิมพ์ในวารสาร “วารสารการจัดการและการพัฒนาท้องถิ่น” (Publication Ethics) การเผยแพร่ผลงานวิชาการ ผลงานสร้างสรรค์ในปัจจุบันมีหลายลักษณะ ซึ่งประกอบด้วย หนังสือตำรา เอกสารประกอบการสอน งานแปล บทความวิชาการ บทความวิจัย งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ งานวิจัยอื่น ๆที่นำเสนอในการประชุมวิชาการ งานประดิษฐ์หรืองานสร้างสรรค์ วารสาร“วารสารการจัดการและการพัฒนาท้องถิ่น” มุ่งมั่นที่จะรักษามาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์มาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์ (Publication Ethics) อย่างเคร่งครัด ดังนี้
บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)
- 1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน
- 2. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อในผลงานจะต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการเรียบเรียงผลงานนี้จริง
- 3. ผู้นิพนธ์ต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น และต้องมีการอ้างอิงทุกครั้งเมื่อนำผลงานของผู้อื่นมาเสนอหรืออ้างอิงในเนื้อหาและท้ายผลงานของตนเอง ถ้าวารสารทราบว่าผลงานของผู้นิพนธ์มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น ทางวารสารจะไม่ขอรับผิดชอบ และให้เอาผิดจากผู้นิพนธ์ทุกประการ
- 4. ผู้นิพนธ์ต้องไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จในผลงานที่ส่งมาตีพิมพ์
- 5. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนผลงานให้ตรงตามรูปแบบที่วารสารกำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้ประสงค์ส่งผลงาน”
- 6. ผู้นิพนธ์ต้องยินยอมโอนลิขสิทธิ์ให้แก่วารสารก่อนการตีพิมพ์
บทบาทและหน้าที่ของผู้ตรวจประเมินผลงาน (Duties of Reviewers)
- 1. ผู้ประเมินผลงานต้องคำนึงถึงคุณภาพผลงานเป็นหลัก โดยพิจารณาผลงานด้วยหลักการและเหตุผลทางวิชาการ ที่ปราศจากอคติ และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์
- 2. ผู้ประเมินผลงานต้องรักษาระยะเวลาในการตรวจประเมินผลงานตามกรอบเวลาที่กำหนด และไม่เปิดเผยข้อมูลของผลงานที่ตรวจประเมินให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ
- 3. ผู้ประเมินผลงานควรประเมินผลงานในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญโดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่จะมีต่อสาขาวิชานั้นๆ คุณภาพของการวิเคราะห์ และความเข้มข้นของผลงาน ไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินผลงาน
- 4. ผู้ประเมินผลงานต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์จากผลงานที่ตรวจประเมินโดยเด็ดขาด
- 5. หากผู้ประเมินผลงานตรวจสอบพบว่าผลงานมที่ตรวจพิจารณา มีการคัดลอกผลงานจากที่อื่นๆ ผู้ประเมินผลงาน ต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบทันที หรือปฏิเสธผลงานนั้นโดยการประเมินให้ “ไม่ผ่าน”
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (Duties of Editors)
- 1. บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของผลงาน ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ตนรับผิดชอบ และรักษามาตรฐานของวารสาร พัฒนาวารสารให้มีคุณภาพ และทันสมัยอยู่เสมอ
- 2. บรรณาธิการวารสารต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ และจะต้องไม่นำผลงานหรือวารสารไปใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจ และนำไปเป็นผลงานของตนเอง
- บรรณาธิการวารสารต้องไม่แก้ไขผลการประเมินผลงานของผู้ทรงคุณวุฒิ
- บรรณาธิการวารสารต้องใช้เหตุผลทางวิชาการในการพิจารณาบทความทุกครั้งโดยปราศจากอคติที่มีต่อผลงาน ผู้นิพนธ์ และสังกัดของผู้นิพนธ์
- หากบรรณาธิการวารสารตรวจสอบพบว่าผลงานที่ตรวจพิจารณา มีการคัดลอกผลงานต้องแจ้งให้ผู้นิพนธ์ทราบทันที และปฏิเสธการตีพิมพ์ผลงานนั้น
- บรรณาธิการวารสารต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้นิพนธ์ ให้แก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องทราบ
7. บรรณาธิการวารสารจะไม่รับบทความที่เคยตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว