ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เพื่อการพัฒนาทักษะ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในรายวิชาการวิจัยการตลาด สําหรับนักศึกษา สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร

Main Article Content

เพชรา บุดสีทา

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนปัญหาเป็นหลัก เพื่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ด้านปัจจัยนําเข้า กระบวนการและผลผลิต ในรายวิชาการวิจัยการตลาด สําหรับนักศึกษาสาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาสาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย ราชภัฏกําแพงเพชร ที่เรียนวิชาการวิจัยตลาดในภาคเรียนที่ 1/2563 จํานวน 11 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบยกกลุ่ม จัดการเรียนการสอนการใช้ปัญหาเป็นหลักในรายวิชาการวิจัยการตลาด ทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน ใช้วิธีดําเนินการวิจัยแบบการวิจัยกึ่งทดลองสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test Dependents ผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนแบบปัญหาเป็นหลักด้านปัจจัยนําเข้า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.98) ด้านกระบวนการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.08) และด้านผลผลิต สามารถนํามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างได้ผลอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.12)

Article Details

How to Cite
บุดสีทา เ. (2024). ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เพื่อการพัฒนาทักษะ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในรายวิชาการวิจัยการตลาด สําหรับนักศึกษา สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร. Journal of Management and Local Development, 3(2). retrieved from https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMLD/article/view/905
Section
Research Articles