ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ของประชาชนในจังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

ปาณิสรา จรัสวิญญู
มาพร สายสุด
ธมนวรรณ ยงไธสง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดและการตัดสินใจใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ของประชาชนในจังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่ใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 33.45 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ประกอบอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจมากที่สุด และมีรายได้เฉลี่ย 17,335.01 บาท/เดือน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งด้านลักษณะทางกายภาพมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนการตัดสินใจใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยผู้ใช้บริการจะตัดสินใจใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ทุกครั้งที่มีโอกาสมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และยังพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ของประชาชนในจังหวัดกำแพงเพชร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) เท่ากับ 0.727

Article Details

How to Cite
จรัสวิญญู ป., สายสุด ม., & ยงไธสง ธ. (2025). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ของประชาชนในจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารการจัดการและการพัฒนาท้องถิ่น, 7(1). สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMLD/article/view/1845
บท
บทความวิจัย

References

กมลพัฒน์ ศิริล้น. (2557). การประเมินด้านความพึงพอใจในการใช้บริการที่ทำการไปรษณีย์ไทยสาขาระยอง ในด้านส่วนประสมทางการตลาดบริการ 7Ps. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

กัญญาภัทร เลาห์กมล. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสาหรับการขนส่งพัสดุภัณฑ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

กันหา พฤทธิ์พงศกร. (2564). การศึกษาคุณภาพการบริการและประสิทธิภาพการขนส่งที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการซ้ำของผู้ใช้บริการไปรษณีย์ไทย จังหวัดนครสวรรค์. วารสารมหาจุฬานา ครทรรศน์, 8(1), 145-161.

จิตระวี ทองเถา. (2562). พฤติกรรมและความพึงพอใจในการใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาซีคอนบางแค. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(2), 105-114.

ชุติมา บัวลอย, มุขรินตร์ ณ สงขลา และทุติยา ใจเปี่ยม. (2563). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการที่ทำการไปรษณีย์ท่าฉาง อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. รายงานการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 11. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

ณัฐวัฒน์ ธานีรัตนาภิบาล และ ภีรภัทร ภักคีรี. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการขนส่งพัสดุของบริษัทขนส่งพัสดุเอกชน ในเขตจังหวัดพัทลุง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จํากัด.

ธีรนันท์ เฉยเจริญ และพงศพัฒน์ มาศกสิน. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการไปรษณีย์ด่วน (EMS) ที่ว่าการไปรษณีย์ ศูนย์กลางจ่าย (พิเศษ) เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร. ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นลิศา เตชะศิริประภา. (2565). ธุรกิจขนส่งพัสดุ 5 หมื่นล้าน แต่ละแบรนด์แข่งอย่างไร ในวันที่ ‘ค่าส่งถูก’ อย่างเดียวไม่พอ. [Online]. Available: https://plus.thairath.co.th/topic/politics&society/101155 [2566, เมษายน 21].

นิติพล ภูตะโชติ. (2561). ความพึงพอใจของลูกค้าต่อบริการของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขามหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(27), 85-96.

บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด. (2565). รายงานประจำปี 2565 บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด. กรุงเทพฯ: บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด.

ภัทราวุฑ ตะวันวงค์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการขนส่งสินค้าของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ในอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปุญญภพ ตันติปิฎก. (2565). เกาะติดตลาดขนส่งพัสดุ 2022: เร่งปรับตัวและขยายสู่ตลาดใหม่ในวันที่การแข่งขันยังรุนแรงต่อเนื่อง. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์.

สุคนธ์ทิพย์ สุภาจันทร์ และศรัณยา สินพาณี. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการขนส่งภาคเอกชนและไปรษณีย์ไทยในจังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(3), 92-108.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2565). ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย. [Online]. Available: http://webstats.nbtc.go.th/netnbtc/INTERNETUSERS.php [2566, เมษายน 22].

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). รายงานผลการสํารวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley and Sons.

Daoud, J. I. (2017). Multicollinearity and regression analysis. Journal of Physics: Conference Series, 949(1), 1-6.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. and Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. (7th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Kotler, P. and Armstrong, G. (2006). Principles of Marketing. (9th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Kotler, P. and Armstrong, G. (2008). Principles of Marketing. (12th ed.). London: Pearson Education Limited.

Rovinelli, R. J. and Hambleton R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2(1), 49-60.