การศึกษาพฤติกรรมและความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว ต่อการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงศรัทธา ในจังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

ปนัดดา คำภาสี
สุภาภรณ์ หมั่นหา
ยุชิตา กันหามิ่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงศรัทธาในจังหวัดกำแพงเพชร เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยว จำนวน 384 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาในรูปค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 20-29 ปี การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี อาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวเชิงศรัทธาในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 1-2 ครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์ คือ ไหว้พระ/อธิษฐานขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์  เดินทางมาช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ เดินทางมากับครอบครัว ยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง คือ รถยนต์/รถจักรยานยนต์ส่วนตัว ส่วนความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงศรัทธาในจังหวัดกำแพงเพชร พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสิ่งดึงดูดใจในแหล่งท่องเที่ยว รองลงมา คือ ด้านเส้นทางการเข้าถึง และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว ตามลำดับ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว

Article Details

How to Cite
คำภาสี ป., หมั่นหา ส., & กันหามิ่ง ย. (2025). การศึกษาพฤติกรรมและความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว ต่อการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงศรัทธา ในจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารการจัดการและการพัฒนาท้องถิ่น, 7(1). สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMLD/article/view/1844
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ปนัดดา คำภาสี, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

นักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

สุภาภรณ์ หมั่นหา, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

อาจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพช

ยุชิตา กันหามิ่ง, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

อาจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถิตินักท่องเที่ยว. [Online]. Available: https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=630 [2566, ธันวาคม 11].

กุลวรา สุวรรณพิมล. (2556). หลักการมัคคุเทศก์. กรุงเทพมหานคร: แสงดาว.

กองพระพุทธศาสนา. (2567). จำนวนวัดในประเทศไทย. [Online]. Available: https://bmd.onab.go.th/th/content/category/detail/id/17/iid/742 [2567, กุมภาพันธ์ 1].

ดวงทิพย์ นากระโทก. (2563). แรงจูงใจทางการท่องเที่ยวเชิงศาสนาในศาสนสถานที่มีชื่อเสียงในการอธิษฐานขอพรเรื่องความรัก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ศรีนครินวิโรฒ.

ตันติกร โคตรชารี. (2555). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงศาสนาพระธาตุประจำวันเกิด จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10), กรุงเทพ: สุวีริยาสาส์น.

พระมุนินทร์ มุนินฺทโร (กองจันทร์ดี). (2562). การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. https://e-thesis.mcu.ac.th/storage/2CloR7O4KkdGcTPAlLtcZuB24e40CSXYHp4XV3zu.pdf

พลอยจันทร์ สุขคง. (2567). 10 Travel Trend 2024: จะเกิดอะไรขึ้นบ้างในวงการท่องเที่ยวปี 2024. [Online]. Available: https://thestandard.co/life/10-travel-trend-2024 [2567, กุมภาพันธ์ 1].

สิทธิพล เวียงธรรม และคณะ. (2562). การบริหารจัดการการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม. Journal of Buddhist Education and Research, 5(2), 281-295.

สำนักงานจังหวัดกำแพงเพชร. (2565). ข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพช: อัดสำเนา.

สุธาสินี วิยาภรณ์ และ ตุลา ไชยาศิรินทร์โรจน์. (2566). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมในวัดจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 42(2). 316-324.

Dickman, S. (1996). Tourism : An introductory text. 2nd edition, Hodder Education: Australia.