ส่วนประสมการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงแรมหรือที่พักในเขตจังหวัดน่าน

Main Article Content

เฉวียง วงค์จินดา
ภาศิริ เขตปิยรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสำคัญของส่วนประสมการตลาดออนไลน์และการตัดสินใจใช้บริการห้องพักในเขตจังหวัดน่าน และ 2) เพื่อศึกษาส่วนประสมการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงแรมหรือที่พักในเขตจังหวัดน่าน โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวที่เข้าใช้บริการโรงแรมหรือที่พักในเขตจังหวัดน่าน จำนวน 385 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ส่วนประสมการตลาดออนไลน์ของโรงแรมและห้องพักในเขตจังหวัดน่าน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว และด้านราคา ในด้านการตัดสินใจใช้บริการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบ พบว่า ส่วนประสมการตลาดออนไลน์ ด้านการให้บริการส่วนบุคคล ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงแรมหรือห้องพักในเขตจังหวัดน่าน มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
วงค์จินดา เ., & เขตปิยรัตน์ ภ. (2025). ส่วนประสมการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงแรมหรือที่พักในเขตจังหวัดน่าน. วารสารการจัดการและการพัฒนาท้องถิ่น, 7(1). สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMLD/article/view/1846
บท
บทความวิจัย

References

ณภัทร ธานีรัตน์. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการโรงแรมในจังหวัดพิษณุโลก. [Online]. Available: http://www.bec.nu.ac.th/ NPSC/files/25%20382-395%20-A024.pdf [2565, มกราคม].

ไทยรัฐออนไลน์. (2566). ที่เที่ยวน่านเมืองแห่งศิลปวัฒนธรรม บรรยากาศชวนฟิน ถิ่นมูเตลู ที่ต้องลองไปสักครั้ง. [Online]. Available: https://www.thairath.co.th/lifestyle/travel/2720970 [2566, สิงหาคม].

มัลลิกา ธรรมณรงค์ และ วิชิต อู่อ้น. (2565). ปัจจัยเชิงสาเหตุของความพึงพอใจระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการจองห้องพักออนไลน์ผ่านธุรกิจตัวแทนในประเทศไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 14(2), 74–89.

วิศรุต รามศิริ. (2564). ส่วนประสมการตลาด ความไว้วางใจ และการรับรู้คุณค่าของช่องทางออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงออนไลน์. การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ ศุภร เสรีรัตน์ ปณิศา มีจินดา และจีรวัฒน์ อนุวิชชานนท์. (2562). หลักการตลาด ฉบับปรับปรุงใหม่ ปี 2563. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุุงเทพฯ: ไดมอนด์ อิน บิส-เน็ซ เวิร์ด.

สมบูรณ์ สุริยวงศ์ บุญมี พันธุ์ไทย เตือนใจ เกตุษา สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์ สมจิตรา เรืองศรี และเพ็ญศรี เศรษฐวงศ์. (2552). Educational Research and Statistics: วิจัยและสถิติทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

เอสเอ็มอีไทยแลนด์คลับ. (2566). ปรับเว็บไซต์โรงแรมให้เป็น Online Travel Agency สร้างรายได้มากกว่าแค่จองห้องพัก. [Online]. Available: https://www.smethailandclub.com/marketing/6975.html [2566, กันยายน 1].

อัคริยา รณศิริ และคณะ. (2564). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดออนไลน์ (6Ps) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับเงินของผู้บริโภคบนช่องทางเฟซบุ๊ก (Facebook) ในกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 5(2), 99-110.

Black, K. (2006). Business statistic for contemporary decision making. (4th ed). USA : John Wiley & Son.

Borden, N. H. (1964). The Concept of the Marketing Mix. Journal of Advertising Research, 2–7.

Cochran, W.G. (1963). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons. Inc.

Nunnally, J. C. and Bernstein, I. H. (1994). Psychometric Theory. (3rd ed.). New York, NY:McGraw-Hill.