ผลการพัฒนาเกมการ์ด Career Match เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดจันทร์ตะวันออก

ผู้แต่ง

  • ปิยภัส บุตรจันทร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
  • ปัญญาพล พงษ์ชัยสิทธิ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
  • เบญญาพัชร์ วันทอง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

เกมการ์ด , ความรู้ด้านอาชีพ , แนะแนว

บทคัดย่อ

        บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนาเกมการ์ด Career Match เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดจันทร์ตะวันออก 2. เพื่อเปรียบเทียบความรู้ด้านอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดจันทร์ตะวันออกก่อนและหลังการใช้เกมการ์ด ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดจันทร์ตะวันออก ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 60 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดจันทร์ตะวันออก จำนวน 29 คน ได้มาโดยได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เกมการ์ด Career Match และข้อสอบวัดความรู้ด้านอาชีพ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า 1. เกมการ์ด Career Match ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.67-1.00  และผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ความรู้ด้านอาชีพก่อนและหลังการใช้เกมการ์ด Career Match เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านอาชีพ พบว่า หลังการใช้เกมการ์ด Career Match เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านอาชีพ  มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 62.58 สูงกว่าก่อนใช้เกมการ์ด Career Match เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านอาชีพ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 52.73 และสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยนี้ พบว่า เกมการ์ด Career Match เป็นนวัตกรรมที่ออกแบบจากแนวคิดการจัดหมวดหมู่อาชีพตามทฤษฎีการเลือกอาชีพของฮอลแลนด์ โดยประกอบไปด้วยการให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับอาชีพแต่ละหมวดหมู่ที่นักเรียนจำเป็นต้องทราบ ผ่านการนำเสนอในรูปแบบการ์ดที่มีทั้งภาพและเนื้อหา ผสานกับรูปแบบการเล่นแบบจับคู่ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ จึงทำให้สามารถส่งเสริมความเข้าใจและความรู้ทางด้านอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

Angkana, O. (2019). The effect of participatory learning management to enhance work and

career competencies for secondary school students. Faculty of Education, Naresuan

University.

Cook, W. R. (1967, August). Factors associated with the occupational choices of young men.

Dissertation Abstracts International.

Department of Employment. (2018). A guide to preparing for the labor market: The career

counseling process of the Department of Employment.

https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/vgnew_th/b5dc9e4b64db8d73895ffd0f

faae2e1a.pdf

Department of Employment. (n.d.). Chapter 4: Components of career counseling.

https://lib.doe.go.th/ebookdoc/020400009319_4.pdf

Holland, J. L. (1985). Making vocational choices: A theory of vocational personalities and

work environments. Prentice-Hall.

Jirapa, B. (2020). Enhancing career readiness of upper secondary school students through

guidance activities. Srinakharinwirot University.

Kalayanee, K., Pattarawat, J., & Panthep, L. (2016). Characteristics indicating career readiness

of Grade 9 students at Attawit School, Bangkok. Faculty of Education, Kasetsart

University.

Kurasatean, N. (2005). The development of an advisory program for educational and career

development for upper secondary school students (Master's thesis). Srinakharinwirot

University.

Laphapong, P. (2011). Marketing factors affecting consumers' purchase of trading cards in

Mueang District, Nakhon Ratchasima Province (Master's thesis). Nakhon Ratchasima

Rajabhat University.

Ministry of Education. (2019, August 21). Announcement of the Ministry of Education on the

policies and key focus areas of the Ministry of Education for the fiscal year 2020.

https://www.moe.go.th

Nattawut, K. (2020). Career selection of fourth-year undergraduate students at Kasetsart

University, Bangkhen Campus. Department of Accounting, Faculty of Business

Administration, Ramkhamhaeng University.

Nualjan, S. (2019). The learning achievement in mathematics and group work ability on the

topic of real number systems through cooperative learning with the STAD technique

combined with mathematics games of grade 10 students (Master's thesis). Thaksin

University.

Orcutt, L. E. (1972). Child management of instructional game: Effects upon cognitive abilities,

behavioral maturity, and self-concept of disadvantaged preschool children.

Dissertation Abstracts.

Sripipat, W. (2008). Factors in consumers' purchase of trading cards at Inimagick Shop

(Master's thesis). Burapha University.

Supavinee, L. (2016). Development of an educational game to prepare mathematical

readiness for Kindergarten 2 students at Rajamangala Kindergarten Demonstration

School. Rajamangala University of Technology Thanyaburi.

Taylor, K. M., & Betz, N. E. (1994). Applications of self-efficacy theory to the understanding

and treatment of career indecision. Journal of Vocational Behavior.

Thaksonporn, T. (2021). Project-based learning management using a multimedia mind map to

improve learning achievement on the topic of atmosphere for Grade 7 students.

Pibulsongkram Rajabhat University.

Traiphat, Y., Kitisak, R., & Thitiwich, C. (2019). The card game "Our School is a Pleasant

Academy" to reduce learning difficulties. Rajamangala University of Technology Phra

Nakhon.

Trueblood, C. R., & Szabo, M. (1974, May). Procedures for designing your own ethic games for

pupil involvement. The Arithmetic Teacher, 21(5), 405–408. https://doi.org/10.5951/AT.21.5.0405

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-04-2025

How to Cite

บุตรจันทร์ ป. ., พงษ์ชัยสิทธิ์ ป. ., & วันทอง เ. . (2025). ผลการพัฒนาเกมการ์ด Career Match เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดจันทร์ตะวันออก. วารสารสังคมศึกษาปริทรรศน์, 1(3), 30–43. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/J_SSR/article/view/1557