https://so11.tci-thaijo.org/index.php/J_SSR/issue/feed
วารสารสังคมศึกษาปริทรรศน์
2025-04-20T14:34:02+07:00
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา ศรีพันธ์
journal.ssa.review@gmail.com
Open Journal Systems
<p><strong><span class="OYPEnA font-feature-liga-off font-feature-clig-off font-feature-calt-off text-decoration-none text-strikethrough-none">ISSN 3057-076X</span> <span class="OYPEnA font-feature-liga-off font-feature-clig-off font-feature-calt-off text-decoration-none text-strikethrough-none">(Online)</span></strong></p> <p><strong> </strong></p>
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/J_SSR/article/view/1515
วิเคราะห์คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในคดีพิพาทระหว่างสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีกับพรีเมียร์ลีกในประเด็นท้าทายเกี่ยวกับกฎว่าด้วยธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน (กฎ APT)
2025-01-17T07:18:47+07:00
ปีดิเทพ อยู่ยืนยง
pedithep@gmail.com
<p> บทความวิชาการนี้มุ่งเน้นศึกษาข้อตกลงทางการค้าระหว่างสโมสรกีฬาฟุตบอลอาชีพและคู่ตกลงอีกฝ่ายที่เกี่ยวข้องการกำหนดมูลค่าตลาดที่ไม่ยุติธรรม ผ่านการวิเคราะห์มุมมองของคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในคดีพิพาทระหว่างสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีกับพรีเมียร์ลีกในประเด็นท้าทายเกี่ยวกับกฎว่าด้วยการตรวจสอบรายการกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน (กฎ APT) บทความฉบับนี้แสดงให้เห็นว่าเมื่อเกิดปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการบังคับใช้กฎดังกล่าว สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ ซิตี้ก็มุ่งหมายกับคาดหวังถึงกระบวนการอนุญาโตตุลาการที่สามารถเข้าถึงได้กับกระบวนการเช่นว่านี้ย่อมตอบสนองความประสงค์ของคู่พิพาททุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ในทันที บทความฉบับนี้ยังชี้ให้เห็นว่าการดำเนินการระงับข้อพิพาทที่นอกเหนือไปจากการระงับข้อพิพาทในศาลแบบดั้งเดิมนั้น ย่อมช่วยให้สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีแสวงหาการระงับข้อพิพาทผ่านการอนุญาโตตุลาการในทางปฏิบัติได้จริงและไม่ใช่ทางเลือกที่เสียเปรียบ บทความฉบับนี้พยายามเชื่อมโยงข้อถกเกียงในวงกว้างในเชิงเปรียบเทียบระหว่างกฎ ATP กับกฎหมายอังกฤษที่เกี่ยวข้อง และความยุติธรรมเชิงกระบวนการเป็นหลัก โดยมีการอภิปรายถึงองค์ประกอบสำคัญอื่น ๆ ของการวางกฎระเบียบเพื่อการบริหารปกครองกีฬาฟุตบอลของพรีเมียร์ลีกอีกด้วย บทความฉบับนี้ยังเสนอแนะว่าการรับฟังความเห็นอาจก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้กำหนดนโยบายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของพรีเมียร์ลีกด้วยการระดมความเห็นจากบรรดาสมาชิกเพื่อที่จะให้สมาชิกแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อกังวลต่าง ๆ</p>
2025-04-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศึกษาปริทรรศน์
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/J_SSR/article/view/1452
กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษา
2025-01-09T11:49:59+07:00
จิระพงษ์ ชมกลิ่น
jirapongcho@gmail.com
กนกพร กิริยะ
jirapongc66@nu.ac.th
<p> บทความวิชาการนี้นำเสนอกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษา ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้และความเสมอภาคทางการศึกษา กลยุทธ์สำคัญประกอบด้วย การกำหนดวิสัยทัศน์ และพันธกิจที่ชัดเจน เพื่อให้ทุกฝ่ายในองค์กรมีเป้าหมายร่วมกัน การวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่น และสามารถปรับตัวได้ตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม การจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สถานศึกษาสามารถดำเนินงานได้อย่างยั่งยืน และการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการเรียนรู้ โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มผู้เรียนที่มีข้อจำกัด นอกจากนี้ บทความยังเน้นถึงความสำคัญของการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชน ซึ่งช่วยสนับสนุนทรัพยากรและองค์ความรู้ในการพัฒนาการศึกษา ตลอดจนการศึกษากรณีตัวอย่างของสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการใช้กลยุทธ์ดังกล่าว ผลลัพธ์ที่ได้แสดงให้เห็นว่า การบริหารที่มีแบบแผน และมีความยืดหยุ่นสามารถช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ดังนั้น กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาจึงเป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษา ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ในบริบทต่าง ๆ เพื่อพัฒนาระบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุม และยั่งยืนในระยะยาว</p>
2025-04-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศึกษาปริทรรศน์
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/J_SSR/article/view/1575
แนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
2025-01-30T07:50:30+07:00
พระนพดล ปันมะ
noppadon_papatsaravangso@hotmail.com
พระครูปลัดณฐกร ไชยบุตร
Noppadon_papatsaravangso@hotmail.com
พระครูวินัยธรสัญชัย ทิพย์โอสถ
Noppadon_papatsaravangso@hotmail.com
<p> บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงสังเคราะห์จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า เทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสงฆ์และบุคลากรทางพระพุทธศาสนา ผ่านการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ หรือ แอปพลิเคชัน และสื่อดิจิทัลประเภทต่างๆ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในระดับนานาชาติ อย่างไรก็ตาม การประยุกต์ใช้เทคโนโลยียังเผชิญกับข้อจำกัด เช่น การขาดแคลนทรัพยากร ความพร้อมของผู้ใช้ และความเหมาะสมของเนื้อหา การศึกษาเสนอแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในบริบทของพระพุทธศาสนา ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล</p>
2025-04-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศึกษาปริทรรศน์
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/J_SSR/article/view/1284
เทคโนโลยีอัจฉริยะบิดดีเฟนเดอร์ สคามิโอ เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัย ในโลกไซเบอร์ของผู้เรียนยุคดิจิทัล
2024-12-04T08:15:21+07:00
พีรพล แซ่หลี
fong.peerapon@hotmail.com
อุทิศ บำรุงชีพ
uthit505@gmail.com
<p> เทคโนโลยีอัจฉริยะบิดดีเฟนเดอร์ สคามิโอ เป็นโปรแกรมที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเสริมสร้างความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ให้กับผู้เรียนยุคดิจิทัลได้ ทั้งนี้เนื่องจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทวีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การรู้ดิจิทัล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างปลอดภัย การจัดการ การรู้เท่าทันสื่อนวัตกรรมและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต่อการดำเนินชีวิต อาชีพ และสังคม การโจมตีทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนและหลากหลายรูปแบบทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการถูกหลอกลวงผ่านอีเมล ข้อความ และลิงก์ต่าง ๆ ซึ่งโปรแกรม บิดดีเฟนเดอร์ สคามิโอ ถูกพัฒนาเพื่อช่วยตรวจจับการหลอกลวงออนไลน์โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) วัตถุประสงค์คือช่วยให้ผู้ใช้สามารถส่งเนื้อหาที่น่าสงสัยสามารถให้โปรแกรมวิเคราะห์และรับคำตอบภายในไม่กี่วินาที ดังนั้นถ้านำบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนในตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ สามารถนำไปเป็นกรณีศึกษาโดยการระบุและป้องกันภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ บิดดีเฟนเดอร์ สคามิโอ ไม่เพียงแต่ช่วยในการตรวจจับภัยคุกคาม แต่ยังส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบและจริยธรรมในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และสื่อสารออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยในโลกที่เต็มไปด้วยความอันตรายทางไซเบอร์</p>
2025-04-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศึกษาปริทรรศน์
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/J_SSR/article/view/1468
ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการเปลี่ยนแปลงสมัยใหม่
2025-01-10T08:00:43+07:00
ฉันท์ชนก หนูไชยทอง
song.chanchanok@gmail.com
วาธิณีย์ พหุพัฒนา
wathinee113@gmail.com
รุจิรา อ่อนแก้ว
rujiraonkaew2537@gmail.com
<p> บทความวิชาการนี้กล่าวถึงผู้บริหารสถานศึกษาเป็นบุคคลสำคัญที่มีบทบาทชี้นำและจัดการองค์กรการศึกษาโดยเฉพาะในยุคสมัยที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและซับซ้อน ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมถือเป็นตัวแปรสำคัญในการเสริมสร้างความไว้วางใจ ยกระดับคุณภาพขององค์กร ยกระดับคุณภาพการศึกษา และปลูกฝังวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งในการดำเนินงานของสถานศึกษา การบริหารโดยยึดหลักจริยธรรมมุ่งเน้นองค์ประกอบสำคัญ เช่น ความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม ความรับผิดชอบ ความเคารพ และความเอาใจใส่ องค์ประกอบเหล่านี้ส่งผลต่อประสิทธิภาพในด้านวิชาการ การพัฒนาและดูแลบุคลากร ตลอดจนการบริหารงบประมาณ</p> <p>ในบริบทของโลกที่พัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่งความคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น บทความนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาโดยเน้นการพัฒนาทักษะการเพิ่มพูนองค์ความรู้และการปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล เพื่อให้ผู้บริหารสามารถนำพาองค์กรเดินหน้าสู่ความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน </p>
2025-04-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศึกษาปริทรรศน์
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/J_SSR/article/view/1290
มหัศจรรย์แชทจีพีทีสร้างสรรค์เนื้อหาเพื่อการสื่อสารของผู้เรียนในยุคเอไอ
2024-12-04T08:09:22+07:00
ศิณัฐตา ธรรมนันท์
sinatta43@gmail.com
อุทิศ บำรุงชีพ
uthit.505@gmail.com
<p> ยุคเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอมีแพลตฟอร์มที่ช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งแชทจีพีที (ChatGPT) เป็นคำที่ย่อมาจาก Chat-Generative Pre-trained Transformer เป็นหนึ่งในปัญญาประดิษฐ์ที่ทำหน้าที่เป็นภาษาปัญญาประดิษฐ์แชทบอทที่สามารถสื่อสารกับมนุษย์ผ่านการประมวลผลภาษาธรรมชาติ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยเหลือในการตอบคำถาม สร้างเนื้อหา เขียนโค้ด และการแปลภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านการศึกษา การวิจัย การสร้างสรรค์ผลงาน และการบริการลูกค้า การใช้งาน แชทจีพีที ยังช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการเรียนรู้ส่วนบุคคล และการเรียนการสอนแบบใหม่ โดยมีการปรับแต่งการเรียนรู้ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ อย่างไรก็ตาม การใช้ แชทจีพีที ยังมีข้อจำกัดในด้านความน่าเชื่อถือของข้อมูลและการใช้งานอย่างมีจริยธรรม ดังนั้น การใช้งานต้องอาศัยการพิจารณาและการกำกับดูแลจากผู้ใช้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด บทความนี้แสดงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ วิวัฒนาการ ประโยชน์ ข้อจำกัดของแชทจีพีที การเปรียบเทียบกับแชทจีพีทีกับ<br />เอไอแชทบอทอื่นๆ หลักการทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการนำไปใช้ในการเรียนการสอน ขั้นตอนวิธีการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ของบทความนี้แสดงบทบาทของ ChatGPT ในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการสร้างสรรค์เนื้อหาของผู้เรียนในยุคเอไอ</p>
2025-04-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศึกษาปริทรรศน์
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/J_SSR/article/view/1629
การศึกษาประสิทธิผลของการบังคับใช้พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559
2025-02-27T12:27:20+07:00
ณิชารัศม์ ปัญจจิตราพัฒน์
0816225713aa@gmail.com
กิรณา เทวอักษร
0816225713aa@gmail.com
<p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบังคับใช้พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของวัยรุ่นและเยาวชนต่อผลการใช้มาตรการตามพระราชบัญญัติฯ เป็นวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้ 100 คน และวัยรุ่นและเยาวชน 100 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามออนไลน์ ได้แก่ 1) ผู้ปฏิบัติจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติฯ 2) ความพึงพอใจของวัยรุ่นและเยาวชนต่อประโยชน์ที่ได้รับจากพระราชบัญญัติฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า กลไกที่อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุดและรองลงมา ได้แก่ กฎกระทรวงสามารถเป็นแนวทางให้หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นได้ชัดเจนขึ้น (X̅= 4.30) และกลไกด้านผู้บริหารที่ให้ความสำคัญในการดำเนินการ<br />ตามกฎหมาย (X̅= 4.29) ด้านมาตรการคุ้มครองสิทธิที่อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุดคือและรองลงมาคือ การช่วยให้วัยรุ่นได้ฝึกอาชีพระหว่างตั้งครรภ์รวมทั้งการจัดหาครอบครัวทดแทนในกรณีที่แม่วัยรุ่นไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรได้ (X̅= 4.29) และความร่วมมือระหว่างราชการส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา สถานบริการ สถานประกอบกิจการ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของเอกชน ในการส่งต่อให้วัยรุ่นได้รับความช่วยเหลือ (X̅= 4.22) วัยรุ่นและเยาวชนมีความพึงพอใจมากที่สุดต่อประโยชน์ที่ได้รับจากช่องทางสื่อสารความรู้ด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ (X̅ = 4.30) และกลไกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่มีการช่วยเหลือวัยรุ่นที่ประสบปัญหาให้ได้รับสวัสดิการสังคม (X̅ = 4.28) ข้อเสนอแนะครั้งนี้คือ เพิ่มการสนับสนุนด้านงบประมาณ สนับสนุนการสร้างเครือข่ายสภาเด็กและเยาวชนในการเฝ้าระวังปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น </p>
2025-04-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศึกษาปริทรรศน์
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/J_SSR/article/view/1411
ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพจิตกับการผัดวันประกันพรุ่งของนักศึกษามหาวิทยาลัย
2024-12-29T19:37:44+07:00
อามีเราะห์ อายีมะสาและ
ameeroh.ayimasalaeh@gmail.com
เพ็ญประภา ปริญญาพล
penprapa.p@psu.ac.th
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสุขภาพจิตและการผัดวันประกันพรุ่งของนักศึกษามหาวิทยาลัย 2)เปรียบเทียบการผัดวันประกันพรุ่งตามตัวแปรเพศของนักศึกษามหาวิทยาลัย 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเกรดเฉลี่ยสะสมกับการผัดวันประกันพรุ่งของนักศึกษามหาวิทยาลัย และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพจิตกับการผัดวันประกันพรุ่งของนักศึกษามหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างนักศึกษามหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 160 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และความเครียด (DASS-21) และแบบสอบถามการผัดวันประกันพรุ่ง สถิติที่ใช้ประกอบด้วย 1) สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) สถิติเชิงอนุมานใช้วิเคราะห์สมมติฐาน ได้แก่ t-test ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมนและเพียร์สัน ผลวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามหาวิทยาลัยมีการผัดวันประกันพรุ่งอยู่ในระดับปานกลาง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=2.50, S.D.=.62) นักศึกษามหาวิทยาลัยแทบจะไม่มีภาวะซึมเศร้า (ร้อยละ 50.6) มีภาวะวิตกกังวลระดับเล็กน้อย (ร้อยละ 26.3) แทบจะไม่มีความเครียด (ร้อยละ 52.5) 2) นักศึกษามหาวิทยาลัยเพศชายและเพศหญิงมีการผัดวันประกันพรุ่งไม่แตกต่างกัน 3) เกรดเฉลี่ยสะสมมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับการผัดวันประกันพรุ่ง (r=-.270, p<.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักศึกษามหาวิทยาลัยที่มีภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการผัดวันประกันพรุ่ง (r=.568, p<.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ภาวะวิตกกังวลมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับการผัดวันประกันพรุ่ง (r=.394, p<.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการผัดวันประกันพรุ่ง (r=.521, p<.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2025-04-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศึกษาปริทรรศน์
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/J_SSR/article/view/1557
ผลการพัฒนาเกมการ์ด Career Match เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดจันทร์ตะวันออก
2025-01-25T08:43:48+07:00
ปิยภัส บุตรจันทร์
benyapat.wun@psru.ac.th
ปัญญาพล พงษ์ชัยสิทธิ์
benyapat.wun@psru.ac.th
เบญญาพัชร์ วันทอง
Benyapat.wun@psru.ac.th
<p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนาเกมการ์ด Career Match เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดจันทร์ตะวันออก 2. เพื่อเปรียบเทียบความรู้ด้านอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดจันทร์ตะวันออกก่อนและหลังการใช้เกมการ์ด ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดจันทร์ตะวันออก ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 60 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดจันทร์ตะวันออก จำนวน 29 คน ได้มาโดยได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เกมการ์ด Career Match และข้อสอบวัดความรู้ด้านอาชีพ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Samples)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. เกมการ์ด Career Match ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ความรู้ด้านอาชีพก่อนและหลังการใช้เกมการ์ด Career Match เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านอาชีพ พบว่า หลังการใช้เกมการ์ด Career Match เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านอาชีพ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 62.58 สูงกว่าก่อนใช้เกมการ์ด Career Match เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านอาชีพ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 52.73 และสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p> องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยนี้ พบว่า เกมการ์ด Career Match เป็นนวัตกรรมที่ออกแบบจากแนวคิดการจัดหมวดหมู่อาชีพตามทฤษฎีการเลือกอาชีพของฮอลแลนด์ โดยประกอบไปด้วยการให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับอาชีพแต่ละหมวดหมู่ที่นักเรียนจำเป็นต้องทราบ ผ่านการนำเสนอในรูปแบบการ์ดที่มีทั้งภาพและเนื้อหา ผสานกับรูปแบบการเล่นแบบจับคู่ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ จึงทำให้สามารถส่งเสริมความเข้าใจและความรู้ทางด้านอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
2025-04-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศึกษาปริทรรศน์
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/J_SSR/article/view/1442
การพัฒนาชุดฝึกทักษะการพัฒนาเว็บไซต์ในทางธุรกิจ เพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรร่วมกับกลุ่มธุรกิจกระยาสาท ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล วิทยาลัยการอาชีพพิชัย
2025-01-08T12:17:00+07:00
วาสนา สุขใจ
koopicc@gmail.com
<p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการพัฒนาชุดฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรของผู้เรียน 2) เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรของผู้เรียน เป็นวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ผู้อำนวยการ จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการ จำนวน 2 คน และครูจำนวน 32 คน และนักศึกษา ผู้เรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยการอาชีพพิชัย จำนวน 28 คน โดยผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสอบถาม 2) แบบทดสอบ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (Percentages) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าความต้องการจำเป็นตามสูตร Modified Priority Needs Index (PNI <sub>Modified</sub>) ผลการวิจัย พบว่า ค่า Modified Priority Needs Index (PNI <sub>Modified </sub>) 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. ด้านทักษะความริเริ่ม (PNI <sub>Modified </sub>= 0.404) 2. ด้านทักษะการตั้งคำถาม (PNI <sub>Modified</sub> = 0.361 ) 3. ด้านทักษะการสังเกต (PNI <sub>Modified</sub> = 0.355) 4. ด้านทักษะการทดลอง (PNI <sub>Modified</sub> = 0.331) และ 5. ด้านทักษะการสร้างเครือข่าย (PNI <sub>Modified</sub> = 0.269) และ 2) ประสิทธิภาพของการชุดฝึกทักษะการพัฒนาเว็บไซต์ในทางธุรกิจเพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรของผู้เรียน โดยภาพรวมมีค่าเท่ากับ 85.43/86.67</p> <p> องค์ความรู้/ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ คือ การสอนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการพัฒนาเว็บไซต์ในทางธุรกิจธุรกิจ เพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรของผู้เรียน ผู้สอนต้องศึกษาวิเคราะห์ หลักสูตร จุดประสงค์รายวิชา สมรรถนะรายวิชา คำอธิบายรายวิชา ที่จะนำมาสอนให้เข้าใจ ครูผู้สอนควรมีการศึกษาในเรื่องของความต้องการของชุมชนและการบูรณการการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล รวมถึงการประยุกต์ใช้ AI เข้ามาในงานวิจัย เพื่อที่จะได้ให้ข้อเสนอแนะแก่นักศึกษาได้อย่างดีต่อไป</p>
2025-04-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศึกษาปริทรรศน์
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/J_SSR/article/view/1570
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนจริง โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2025-01-29T19:22:02+07:00
วิลาวัลย์ สาโยธา
wilawan.sy@ksu.ac.th
สุวรรณวัฒน์ เทียนยุทธกุล
Wilawansayotha@gmail.com
<p> บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนจริง ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนจริง ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ โรงเรียนจตุรพักตรพิมานรัชดาภิเษก จำนวน 28 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนจริง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) ของนักเรียนเป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนจริง ก่อนและหลัง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2025-04-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศึกษาปริทรรศน์
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/J_SSR/article/view/1583
การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
2025-02-15T08:52:43+07:00
ภัทรวิมล โสนะชัย
benyapat.wun@psru.ac.th
เบญญาพัชร์ วันทอง
Benyapat.wun@psru.ac.th
<p> บทความวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 คณะครุศาสตร์ จำนวน 352 คน เลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาดื่มแอลกอฮอล์เมื่อมีงานเลี้ยงสังสรรค์ ร้อยละ 28.37 และดื่มเพื่อความสนุกสนาน ร้อยละ 24.82 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 18-20 ปี ร้อยละ 62.8 พักที่หอพักนอกมหาวิทยาลัย ร้อยละ 70.2 มีค่าใช้จ่ายในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่ละครั้ง 101-300 บาท ร้อยละ 53.87 ประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่นิยมดื่มคือเบียร์ ร้อยละ 46.10 ตามด้วยเหล้า ร้อยละ 44.89 ส่วนใหญ่ดื่มกับเพื่อน ร้อยละ 54.62 ในช่วงเวลาก่อนเที่ยงคืน ร้อยละ 69.86 สถานที่ที่นิยมดื่มแอลกอฮอล์มากที่สุดคือสถานบันเทิง ร้อยละ 29.79 รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแอลกอฮอล์ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ร้อยละ 55.40 และซื้อแอลกอฮอล์จากร้านขายของชำ ร้อยละ 26.20 ผลการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกพบว่า อิทธิพลของเพื่อน (Wald = 19.41, p < 0.001) และที่พักอาศัยนอกมหาวิทยาลัย (Wald = 11.23, p = 0.001) มีอิทธิพลต่อการดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญ รองลงมาคืออายุและชั้นปี ส่วนการเข้าถึงร้านจำหน่ายไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ</p>
2025-04-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศึกษาปริทรรศน์