การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ผู้แต่ง

  • ภัทรวิมล โสนะชัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
  • เบญญาพัชร์ วันทอง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, พฤติกรรมการดื่ม, นักศึกษา

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 คณะครุศาสตร์ จำนวน 352 คน เลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก

          ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาดื่มแอลกอฮอล์เมื่อมีงานเลี้ยงสังสรรค์ ร้อยละ 28.37 และดื่มเพื่อความสนุกสนาน ร้อยละ 24.82 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 18-20 ปี ร้อยละ 62.8 พักที่หอพักนอกมหาวิทยาลัย ร้อยละ 70.2 มีค่าใช้จ่ายในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่ละครั้ง 101-300 บาท ร้อยละ 53.87 ประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่นิยมดื่มคือเบียร์ ร้อยละ 46.10 ตามด้วยเหล้า ร้อยละ 44.89 ส่วนใหญ่ดื่มกับเพื่อน ร้อยละ 54.62 ในช่วงเวลาก่อนเที่ยงคืน ร้อยละ 69.86 สถานที่ที่นิยมดื่มแอลกอฮอล์มากที่สุดคือสถานบันเทิง ร้อยละ 29.79 รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแอลกอฮอล์ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ร้อยละ 55.40 และซื้อแอลกอฮอล์จากร้านขายของชำ ร้อยละ 26.20 ผลการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกพบว่า อิทธิพลของเพื่อน (Wald = 19.41, p < 0.001) และที่พักอาศัยนอกมหาวิทยาลัย (Wald = 11.23, p = 0.001) มีอิทธิพลต่อการดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญ รองลงมาคืออายุและชั้นปี ส่วนการเข้าถึงร้านจำหน่ายไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

References

Bandura, A. (1977). Social learning theory. Prentice Hall.

Health Focus. (2023, October 19). Found! New drinkers aged 15-19 years, 30.8%, concerned

that advertisements from influencers increase drinking. Health Focus.

https://www.hfocus.org/content/2023/10/28719

Kriangkrai, P. (2012). Predictive factors of alcohol consumption behavior among youth in

Nakhon Pathom Province (Master's thesis). Graduate School, Kasetsart University.

Manipat, S., & Ampai, M. (2017). Alcohol consumption behavior among students: A case study

of Rajamangala University of Technology Thanyaburi students in Pathum Thani Province.

Journal of Liberal Arts, RMUTT Thanyaburi, 1(1), 1-18.

National Statistical Office. (2024). Prevalence of alcohol consumers among the population

aged 15-24 years. Retrieved September 30, 2024, from

https://gdcatalog.go.th/dataset/gdpublish-os_05_00006

Nongnuch, J., Jirapron, K., & Surasak, C. (2017). The situation, gaps, and opportunities for

controlling the marketing and advertising of alcoholic beverages in Thailand. Journal of

Public Health Systems Research, 11(1), 11-25.

Piya, T. (2007). Factors influencing alcohol consumption behavior among vocational

education students in Banpong District, Ratchaburi Province (Master's thesis). Faculty of

Arts, Silpakorn University.

Rattiya, B., & Chet, R. (2012). Alcohol consumption behavior of undergraduate university

students in the Bangkok metropolitan area. Rama Nursing Journal, 18(2), 256-271.

Sawitree, A. (Ed.). (2019). Report on the situation of alcohol consumption in Thai society

Samitr Pattanakarn Printing.

Thaikla, K. (2010). Online marketing strategies of alcoholic beverages in Thailand. Center for

Alcohol Studies, Research Institute for Health Sciences (RIHES).

Thakapun, T. (Ed.). (2013). The situation of alcohol consumption and its impacts in Thailand

Alcohol Problems Research Center.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-04-2025

How to Cite

โสนะชัย ภ. ., & วันทอง เ. . (2025). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วารสารสังคมศึกษาปริทรรศน์, 1(3), 54–66. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/J_SSR/article/view/1583