ความคิดเห็นที่มีต่อการประยุกต์ใช้ความรู้ในการจัดการเรียนการสอนของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1
คำสำคัญ:
ความคิดเห็น, การประยุกต์ใช้ความรู้, การจัดการเรียนการสอนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อการประยุกต์ใช้ความรู้หลังการอบรม 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นจำแนกตามเพศ ตำแหน่ง/วิทยฐานะ และอายุราชการวิธีการวิจัยเป็นการสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือครูผู้สอน 102 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีความน่าเชื่อถือ .985 แบ่งเป็น 3 ตอน ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ระดับความคิดเห็นในการประยุกต์ใช้ความรู้หลังอบรม และข้อเสนอแนะ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและอนุมาน ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (T-test) ผลการวิจัย พบว่า 1) ศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการประยุกต์ใช้ความรู้ในการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนหลังได้รับการอบรม โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ระดับเห็นด้วยมาก ซึ่งด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านหลักสูตรการอบรม รองลงมา ด้านความพึงพอใจในการอบรม และด้านการประยุกต์ใช้ความรู้ในการอบรม ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการประยุกต์ใช้ความรู้ในการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนที่มีเพศ ตำแหน่ง/วิทยฐานะ และอายุราชการต่างกันมีการประยุกต์ใช้ความรู้ไม่แตกต่างกัน เนื่องจากครูที่เข้ารับการอบรมพัฒนาได้รับเนื้อหาการอบรมที่เหมือนกัน และรูปแบบการอบรม เป็นการอบรมที่มีลักษณะการเรียนรู้หรือการฝึกปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน จึงส่งผลให้เกิดความพึงพอใจ และความคิดเห็นของครูในแต่ละด้านไม่มีความแตกต่างกันมาก
References
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2561). ยุทธศาสตร์กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ. 2560-2564 (ฉบับปรับปรุง เดือนมีนาคม 2561). กรุงเทพฯ: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
จีรารัตน์ ณ น่าน, & กัญญ์รัชการย์ เลิศอมรศักดิ์. (2566). การประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฎีการ จัดการความรู้ในสถานศึกษา. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 5 (น. 55 - 67). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ธงชัย คำปวง. (2565). รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการ จัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม. วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2(1), 135 - 157.
นริศรา บุญเที่ยง. (2561). ความพร้อมในการฝึกอบรม กระบวนการฝึกอบรม และความพึงพอใจใน การฝึกอบรมที่มีผลต่อแรงจูงใจในการนำการฝึกอบรมไปพัฒนาในการทำงานของพนักงาน ธนาคารพาณิชย์ในโซนถนนรัชดาภิเษก. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พงศ์เทพ จิระโร. (2554). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ภัทรานิษฐ์ พรหมสุรินทร์. (2566). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะความคิด สร้างสรรค์สำหรับวิชาแอโรบิคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมสาธิตวัด พระศรีมหาธาตุ. วารสารพุทธจิตวิทยา, 8(2), 389 - 392.
ศูนย์สถิติแห่งชาติ. (2565). รายงานการสำรวจอาชีพครู. กรุงเทพฯ: ศูนย์สถิติแห่งชาติ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับ ปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566 - 2570) กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
อารีย์ ธรรมโคร่ง. (2559). ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(1), 123 - 146.
Hazzan, O., & Lapidot, T. (2004). Construction of a professional perception in the methods of teaching computer science course. ACM SIGCSE Bulletin, 36(2), 57 – 61.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.