วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านนวัตกรรมการบริหารและการศึกษา th-TH วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา 3057-0611 Soft Power สู่การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1221 <p>ในยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งเต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วและความท้าทายที่ซับซ้อน การศึกษาได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ให้พร้อมต่อการเผชิญหน้ากับโลกอนาคต Soft Power ซึ่งเน้นการสร้างแรงดึงดูดและความน่าเชื่อถือผ่านวัฒนธรรม การสื่อสาร และการมีส่วนร่วม ได้รับการยอมรับว่าเป็นแนวคิดสำคัญที่สามารถบูรณาการสู่การจัดการเรียนรู้ในทุกระบบการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันโลกกำลังประสบปัญหากับความไม่แน่นอนจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการเข้ามาแทนที่ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของประเทศในมิติการศึกษาอยู่ในหัวข้อของวัฒนธรรมในการใช้เป็น Soft Power ฐานะเครื่องมือที่สร้างศักยภาพ เพื่อเพิ่มคุณภาพให้แก่ประชากรในอนาคตผ่านการขัดเกลาทางสังคม โดยบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ซึ่งการรับรู้ในชีวิตประจำวันและวัฒนธรรมการศึกษากับ Soft Power เป็นวิธีการ การส่งเสริมสนับสนุน แทรกซึม อย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งเป็นผลโดยอ้อมที่แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนของ Soft Power ซึ่งส่งผลถึง ค่านิยม และหลงใหลในวัฒนธรรมทำให้เกิดการกล่าวถึงบอกต่อไปในวงกว้าง และการปรับตัวให้ทันต่อ เหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้เกิดประโยชน์แก่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยิ่ง เกิดเป็น รูปแบบบุคคลที่ต้องเป็นผู้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้เท่าทันโลกสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต และเป็น บุคคลแห่งศตวรรษที่ 21 หรือศตวรรษหน้าต่อไป การใช้ Soft Power เป็นแนวคิดสำคัญในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นการสร้างแรงจูงใจและความน่าเชื่อถือผ่านการสื่อสารและการมีส่วนร่วม มากกว่าการบังคับ โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ในระบบการศึกษา สามารถบูรณาการวัฒนธรรม ศิลปะ และเทคโนโลยีในหลักสูตรเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน ในระบบนอกระบบ สามารถใช้ Soft Power ในการฝึกอบรมอาชีพและสร้างเครือข่ายชุมชนเรียนรู้ ขณะที่ในระบบตามอัธยาศัยสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านสื่อดิจิทัลและการสร้างเครือข่ายออนไลน์ การประยุกต์ใช้ Soft Power อย่างเหมาะสมนี้ช่วยพัฒนาผู้เรียนในด้านความคิดเชิงวิพากษ์ การปรับตัว ความเป็นพลเมืองโลก และการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างยั่งยืน</p> โมไณย อภิศักดิ์มนตรี วรพล ศรีเทพ Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-05 2025-04-05 3 1 78 91 แนวทางการจัดห้องเรียนพิเศษ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ: กรณีเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1232 <p>ตลอดชีวิตสำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ กลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities - LD) โดยศึกษาเกี่ยวกับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ การจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ (Environment for Learning) การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และแนวทางการจัดห้องเรียนสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต จากการศึกษาพบว่า แนวทางการจัดห้องเรียนพิเศษ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ กลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ มีความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ซึ่งการจัดห้องเรียนพิเศษไม่เพียงแต่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาความสามารถของนักเรียนให้เต็มศักยภาพ แต่ยังช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ โดยการสร้างบรรยากาศการเรียนที่สนุกสนานและมีความสุข ช่วยกระตุ้นให้นักเรียนมีแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ภายในห้องเรียนและพัฒนาไปสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพในอนาคตต่อไป</p> วลัยลักษ์ขณา รัตนวงค์ นิสสรณ์ บำเพ็ญ Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-05 2025-04-05 3 1 92 105 การจัดกลุ่มผู้เรียนอัจฉริยะด้วย “เอไอ แอลแทร์ สตูดิโอ เคมีล” ตัวช่วยสำหรับครูยุคดิจิทัล https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1287 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำการจัดกลุ่มผู้เรียนอัจฉริยะด้วยเอไอโดยใช้เอไอ แอลแทร์ สตูดิโอ เคมีล (Altair Studio and K-means) นับเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับครูในยุคดิจิทัลที่ต้องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการปรับปรุงการเรียนการสอน Altair Studio เป็นแพลตฟอร์มการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความสามารถในการจัดกลุ่มข้อมูลโดยใช้ K-means clustering ซึ่งเป็นเทคนิคการเรียนรู้แบบไม่มีผู้กำกับ (Unsupervised Learning) การจัดกลุ่มผู้เรียนด้วย K-means ช่วยให้ครูสามารถวิเคราะห์และจัดกลุ่มผู้เรียนตามลักษณะทางการเรียนรู้ที่เฉพาะเจาะจง ทำให้สามารถปรับการสอนให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียนแต่ละกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ Altair Studio มีวิธีการใช้งานที่ง่ายและเหมาะสมสำหรับครูที่ไม่มีพื้นฐานการเขียนโปรแกรม ผู้ใช้งานสามารถนำเข้าข้อมูลผู้เรียน เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พฤติกรรมการเรียนรู้ หรือข้อมูลเชิงลึกอื่น ๆ และใช้ K-means ในการจัดกลุ่มผู้เรียนได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ Altair Studio ยังช่วยให้ครูสามารถสร้างสื่อการเรียนรู้ เช่น อินโฟกราฟิก เพื่อแสดงผลการวิเคราะห์ที่ชัดเจนและเข้าใจง่ายการใช้ Altair Studio ในการจัดกลุ่มผู้เรียนคือ ช่วยให้ครูสามารถวางแผนการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังสามารถเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูเข้าใจถึงลักษณะเฉพาะของผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น ทำให้การประเมินและการปรับปรุงการสอนเป็นไปอย่างแม่นยำและตรงจุดมากขึ้น</p> อัชฌา เผื่อนสถาพร อุทิศ บำรุงชีพ Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-05 2025-04-05 3 1 106 122 คอพพีลีค เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สร้างสรรค์การตรวจสอบการคัดลอก ผลงานทางวิชาการ เสริมสร้างทักษะการเคารพเขาเคารพเราบนโลกดิจิทัล https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1291 <p>คอพพีลีค เป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ โดยสามารถวิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อความจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ โดยสามารถคัดกรอง การลอกเลียนผลงานข้อความทั้งหมดที่เป็นหน้ากระดาษหรือทั้งย่อหน้า และการคัดกรองการลอกเลียนแหล่งที่มาในลักษณะโค้ด ภาษาในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เว็บไซต์ รวมทั้งการคัดลอกข้อความที่มาจากการประมวลผลของปัญญาประดิษฐ์ ดังนั้น คอพพีลีคจึงช่วยเสริมสร้างทักษะการเคารพสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาใน นักวิชาการ นักเรียน นิสิต และนักศึกษา ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของเนื้อหาได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว การนำ คอพพีลีค มาใช้ในการศึกษาและงานวิจัยไม่เพียงแต่ช่วยในการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ยังเสริมสร้างจริยธรรมทางวิชาการที่เคารพซึ่งกันและกันในชุมชนวิชาการบนโลกดิจิทัล</p> ศุภพล ทองอินทร์ อุทิศ บำรุงชีพ Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-05 2025-04-05 3 1 123 138 ฮูส์คอลล์ : แอปพลิเคชันปัญญาประดิษฐ์ยอดฮิตของ พลเมืองดิจิทัลป้องกันการหลอกลวงบนโลกออนไลน์ https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1292 <p class="THTextAB" style="text-indent: 36.0pt;"><span lang="TH" style="font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ และบูรณาการในการจัดการเรียนรู้โดยใช้แอปพลิเคชันฮูส์คอลล์</span> <span lang="TH" style="font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">เป็นเครื่องมือในการช่วยอำนวยความสะดวกการดำรงชีวิตของมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ โดยช่วยตรวจสอบสายเรียกเข้าที่ไม่ได้บันทึกไว้ในสมาร์ทโฟน และเป็นตัวช่วยใน<br /><span style="letter-spacing: -.3pt;">การจัดการข้อความที่ส่งเข้ามาภายในเครื่องโทรศัพท์มือถืออย่างรัดกุม ทั้งนี้ยังสามารถนำแอปพลิ<br />เคชัน</span>ฮูส์คอลล์ให้เป็นสื่อการเรียนรู้บูรณาการเพิ่มทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนเรื่อง ความปลอดภัยในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ผู้เรียนมีภูมิคุ้มกันที่ดีในการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆทางโลกออนไลน์ที่ต้องเผชิญในอนาคต แม้ว่าเทคโนโลยีนั้นจะมีประโยชน์มากมายแต่ยังมีความเสี่ยงสูงมากเช่นกันเมื่อถูกใช้งานในทางที่ผิด ดังนั้น การจัดการเรียนรู้ด้วยแอปพลิเคชันปัญญาประดิษฐ์นี้ จะช่วยส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของ ผู้เรียน และพัฒนาความรู้ในด้านการใช้เทคโนโลยีอย่างรู้เท่าทัน และเทคนิคในการใช้ป้องกันและรับมือกับสถานการณ์การถูกหลอกลวงบนโลกออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</span></p> พีระพงศ์ จนทสิทธิ์ อุทิศ บำรุงชีพ Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-05 2025-04-05 3 1 138 153 การประเมินโครงการพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านปากคลอง 17 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1065 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการ และประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากคลอง 17 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ ผลการประเมินพบว่า ตัวชี้วัด ประเด็นการประเมินทุกประเด็นและภาพรวมของโครงการทั้งหมด มีดังนี้ 1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า มีความสอดคล้องกับความมุ่งหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ วัตถุประสงค์ของโครงการ มีความเหมาะสมกับสภาพปัญหา ความต้องการจำเป็นของโรงเรียนและแนวการดำเนินการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีความพร้อม ความพอเพียง และการสนับสนุนต่าง ๆ ในด้านบุคลากร งบประมาณ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ขั้นเตรียมการ ขั้นดำเนินการ ขั้นประเมินผลและขั้นปรับปรุงแก้ไข มีการปฏิบัติและมีความเหมาะสม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า 4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต ของโครงการพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากคลอง 17 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก พบว่า ครูและนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ มีความเห็นว่า ด้านผลผลิตของโครงการฯทั้ง 8 กิจกรรม มีผลการประเมินทั้งด้านคุณภาพและปริมาณอยู่ในระดับมากทุกกิจกรรม ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน 4.2 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูและผู้ปกครองที่มีต่อนักเรียนก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากคลอง 17 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก พบว่า ครูและผู้ปกครองนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ มีความพึงพอใจหลังร่วมโครงการสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้</p> กุลวดี วิมะลิน Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-05 2025-04-05 3 1 1 15 การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่องการหารของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบเปิด https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1185 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบเปิด(Open Approach) เรื่องการหารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเปิด <br />3) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเปิดและ 4) ศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบเปิดรูปแบบการวิจัยเป็นแบบเชิงทดลองกลุ่มเดียวมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบเปิด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และแบบวัดเจตคติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบเปิดมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .05) 3) ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .05) 4) นักเรียนมีเจตคติต่อกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับมาก</p> สุธิดา จันทร์ส่ง ธัญญา กาศรุณ อัญชลี แสงอาวุธ Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-05 2025-04-05 3 1 16 30 กระบวนการพัฒนาทักษะอาชีพเยาวชนโดยการมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยและชุมชน: ชุมชนเมืองเก่ากำแพงแสน https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1192 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการในการพัฒนาทักษะอาชีพเยาวชนในชุมชนของโรงเรียนขนาดเล็ก 2) พัฒนาแผนกระบวนการพัฒนาทักษะอาชีพเยาวชน โดยการมีส่วนร่วมของทั้งภาครัฐ มหาวิทยาลัย และชุมชน และ 3) ศึกษาผลกระบวนการพัฒนาทักษะอาชีพเยาวชน โดยการมีส่วนร่วมของทั้งภาครัฐ มหาวิทยาลัย และชุมชน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 20 คน เลือกแบบเจาะจงกลุ่ม 3 ฝ่าย 1) ฝ่ายโรงเรียน ประกอบด้วย ผู้บริหาร 1 คน ครู 3 คน เจ้าหน้าที่ 1 คน และ นักเรียน 5 คน 2) ฝ่ายมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย อาจารย์ 4 คน และ 3) ฝ่ายชุมชน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน 1 คน ผู้ปกครอง 5 คน ปฏิบัติการ 2 ขั้นตอน 1) วางแผนกระบวนการพัฒนา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดำเนินการวางแผนกระบวนการพัฒนาทักษะอาชีพเยาวชนของโรงเรียนขนาดเล็ก และ<br />2) ศึกษาผลกระบวนการพัฒนาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดำเนินการกับกลุ่มตัวอย่าง 30 คน โดยเลือกแบบเจาะจงกลุ่มเยาวชนชุมชนที่สมัครใจเข้าร่วมกระบวนการ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยข้อสอบ แบบวัดทักษะ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพื้นฐาน และการทดสอบสถิติ t-test เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสังเกต สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็ก คือ การมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ ขาดอุปกรณ์การศึกษา และมีครูจำนวนน้อย 2) แผนกระบวนการพัฒนาทักษะอาชีพเยาวชนที่พัฒนาขึ้นมี 2 กิจกรรม 2.1) กิจกรรมการวิเคราะห์ทุนชุมชนเกษตร และ 2.2) กิจกรรมเยาวชนผู้นำเที่ยว 3) ผลของกิจกรรม 3.1) เยาวชนมีคะแนนเฉลี่ยหลังร่วมกิจกรรมแตกต่างจากก่อนเรียนระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 3.2) เยาวชนมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการปฏิบัติงานกลุ่มระดับมากที่สุด และ <br />3.3) เยาวชนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมในระดับมากที่สุด และ 4) ผลสะท้อนกระบวนการชี้ให้เห็นว่าเป็นกระบวนการพัฒนาเยาวชนที่ดี และต้องการให้มีการวิจัยอย่างต่อเนื่อง</p> อภิเดช ช่างชัย โชคชัย ดวงแก้ว ไพทูล คำคอนสาร ทศพล บุญธรรม Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-05 2025-04-05 3 1 31 47 ความคิดเห็นที่มีต่อการประยุกต์ใช้ความรู้ในการจัดการเรียนการสอนของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1280 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อการประยุกต์ใช้ความรู้หลังการอบรม 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นจำแนกตามเพศ ตำแหน่ง/วิทยฐานะ และอายุราชการวิธีการวิจัยเป็นการสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือครูผู้สอน 102 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีความน่าเชื่อถือ .985 แบ่งเป็น 3 ตอน ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ระดับความคิดเห็นในการประยุกต์ใช้ความรู้หลังอบรม และข้อเสนอแนะ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและอนุมาน ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/png.image?\dpi{110}\bar{X}" alt="equation" />) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (T-test) ผลการวิจัย พบว่า 1) ศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการประยุกต์ใช้ความรู้ในการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนหลังได้รับการอบรม โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ระดับเห็นด้วยมาก ซึ่งด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านหลักสูตรการอบรม รองลงมา ด้านความพึงพอใจในการอบรม และด้านการประยุกต์ใช้ความรู้ในการอบรม ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการประยุกต์ใช้ความรู้ในการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนที่มีเพศ ตำแหน่ง/วิทยฐานะ และอายุราชการต่างกันมีการประยุกต์ใช้ความรู้ไม่แตกต่างกัน เนื่องจากครูที่เข้ารับการอบรมพัฒนาได้รับเนื้อหาการอบรมที่เหมือนกัน และรูปแบบการอบรม เป็นการอบรมที่มีลักษณะการเรียนรู้หรือการฝึกปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน จึงส่งผลให้เกิดความพึงพอใจ และความคิดเห็นของครูในแต่ละด้านไม่มีความแตกต่างกันมาก</p> ชนาภัทร แสงงาม Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-05 2025-04-05 3 1 48 62 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน กลุ่มโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1569 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน กลุ่มโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน กลุ่มโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ จำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างคือครูผู้สอนกลุ่มโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ จำนวน 169 คน จากนั้นดำเนินการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำแนกตามสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.985 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าคะแนนเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (Independent t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน กลุ่มโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ โดยรวมและรายด้านอยู่ ในระดับมากที่สุด เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ คุณลักษณะด้านความรู้ความสามารถ คุณลักษณะด้านผู้นำ คุณลักษณะด้านมนุษยสัมพันธ์ คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพ ตามลำดับ และคุณลักษณะด้านคุณธรรมจริยธรรม 2) การเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน กลุ่มโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ จำแนกตามระดับการศึกษา โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน</p> อริศรา ชูช่วย สุทธิพงศ์ บุญผดุง Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-05 2025-04-05 3 1 63 77