วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM th-TH journal.iaem@gmail.com (ดร.ศิวาพัชญ์ บำรุงเศรษฐพงษ์) journal.iaem@gmail.com (ดร.ศิวาพัชญ์ บำรุงเศรษฐพงษ์) Sat, 21 Dec 2024 11:24:22 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาที่มีคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยใช้การวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้ https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1146 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ในการลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาที่มีคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยใช้การวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้ 2) สร้างข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาที่มีคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 และ 3) ประเมินข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาที่มีคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 14 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2) แบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1.ข้อเสนอเชิงนโยบายจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาเพื่อร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย ได้แก่ ด้านการจัดสรรงบประมาณ ด้านการจัดสรรอัตรากำลัง ด้านสุขภาพและความปลอดภัย และด้านการเข้าถึงทรัพยากรทางการเรียนการสอน 2.การสร้างข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาที่มีคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จำนวน 6 ด้าน ได้แก่ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ และแนวปฏิบัติ และ 3.การประเมินข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาที่มีคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด</p> คมชาญ มาตรา, เจษฎา บัวฮมบุรา, ชนกชนม์ นาคนาม, ธนภูมิ มาลี, ชนะชน ประทุมทา, ดาวรุวรรณ ถวิลการ, จตุภูมิ เขตจัตุรัส Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1146 Mon, 23 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1182 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ และเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ โดยมีการดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 317 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการบริหารสถานศึกษา มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า จำนวน 3 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเอาใจใส่และเห็นใจผู้อื่น และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความยุติธรรม 2. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ ผู้บริหารสถานศึกษาแจ้งหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานและประเมินให้ตรงตามหลักเกณฑ์ วางตัวเป็นกลาง เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย ดูแลเอาใจใส่ผู้ใต้บังคับบัญชา เคารพและให้เกียรติในความเป็นมนุษย์ เป็นต้น</p> นุชนาถ จันทร์บัว, พงษ์ศักดิ์ ลาบรรเทา, สถิรพร เชาวน์ชัย Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1182 Mon, 23 Dec 2024 00:00:00 +0700 บทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วม เชิงบูรณาการภาครัฐและประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1069 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการภาครัฐและประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 372 คน สำหรับการคำนวณขนาดตัวอย่าง (Sample size) กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง จากจำนวนประชากรทั้งหมด 5,229 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการภาครัฐและประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง กำหนดใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่อใช้ในการบรรยายข้อมูลหรือผลลัพธ์จากแบบสอบถาม ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ระดับบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการภาครัฐและประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเมื่อพิจารณารายข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านพฤติกรรมตามสถานการณ์ที่เหมาะสมกับฐานะของตนเอง มีความเห็นอยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ ด้านการรู้จักตัวเองตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีความเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการประเมินผลของการปฏิบัติหน้าที่ มีความเห็นอยู่ในระดับปานกลาง และด้านที่ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติหน้าที่ มีความเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ</p> สุทธพงษ์ ขวดแก้ว, พระครู โสภณกิตติบัณฑิต Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1069 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 การประเมินโครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะของโรงเรียน บ้านเกล็ดแก้ว (ซีเซะ) โดยใช้แบบจำลองการประเมินของเคิร์กแพทริค https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1049 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการประเมินโครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะของโรงเรียนบ้านเกล็ดแก้ว (ซีเซะ) โดยใช้แบบจำลองการประเมินของเคิร์กแพทริค (Kirkpatrick) โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อประเมินปฏิกิริยาตอบสนอง 2.เพื่อประเมินการเรียนรู้ 3.เพื่อประเมินพฤติกรรม และ4.เพื่อประเมินผลลัพธ์ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นครู โรงเรียนบ้านเกล็ดแก้ว(ซีเซะ) จำนวน 12 คน และนักเรียนชั้นป.3 และป.6 จำนวน 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบประเมินทั้งหมด 4 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบนิเทศและแบบประเมินสมรรถนะผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการประเมินปฏิกิริยาตอบสนอง พบว่า ครูมีระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\tilde{X}" alt="equation" />=3.98, SD=0.45) 2. ผลการประเมินการเรียนรู้ พบว่า คะแนนทดสอบหลังการจัดทำหลักสูตรของครูสูงกว่าก่อนการจัดทำหลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 3. ผลการประเมินพฤติกรรม พบว่า ผลการติดตามนิเทศกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\tilde{X}" alt="equation" />=3.61, SD=0.75) 4. ผลการประเมินผลลัพธ์ ที่เกิดกับผู้เรียน จากการประเมินสมรรถนะของนักเรียนชั้นป.3 พบว่า สมรรถนะด้านการสื่อสาร มีผลการประเมินเหนือความคาดหมาย สำหรับสมรรถนะด้านการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืนที่อยู่ในระดับ "กำลังพัฒนา" และสมรรถนะด้านอื่น ๆ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ "สามารถ" สำหรับนักเรียนชั้นป.6 พบว่า สมรรถนะด้านการจัดการตนเอง การทำงานเป็นทีม และการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งได้รับการประเมินในระดับ "สามารถ" ส่วนด้านการคิดขั้นสูง การสื่อสาร และการอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้รับการประเมินในระดับ "กำลังพัฒนา"</p> อัยรีน ยามา, มัฮดี แวดราแม Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1049 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และความเสมอภาคทางการศึกษาของครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดจันทบุรี https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1047 <p>ในการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาผลสัมฤทธิ์ในการสร้างสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล AI ไปใช้พัฒนาคุณภาพผู้เรียน 2. พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ 3. ศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปร 4. ศึกษาปัจจัยความสำเร็จ ของครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร) ประจำจังหวัดจันทบุรี วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม โดยจัดอบรมการใช้ Generative AI (Chat GPT) ในการเตรียมการสอนในรูปแบบใหม่ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย บุคลากรทางการศึกษา สกร.จังหวัดจันทบุรี จำนวน 129 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบก่อนและหลังการอบรม ใช้ t-test แบบจับคู่ (Paired t-test) สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนและหลังอบรมอบรม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ และ แบบสอบถามความพึงพอใจ ใช้ค่าเฉลี่ยในการประเมินผลการศึกษา 1.ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเปรียบเทียบก่อนและหลังการอบรม ด้วย t-test แบบจับคู่ (Paired t-test) พบว่าคะแนนหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05) 2. ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องทักษะการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ด้านความรู้และด้านทักษะ มีค่าเฉลี่ยพัฒนาการ 2.30 และ 2.45 ตามลำดับ ถือว่าระดับคุณภาพดีมาก 3. ค่าสหสัมพันธ์ของการอบรมและผลสัมฤทธิ์สูงมาก มีค่า 0.85 และ 4. ปัจจัยความสำเร็จ ได้แก่ การฝึกปฏิบัติและคุณภาพของเนื้อหา ผลลัพธ์การนำไปใช้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและนวัตกรรมการสอนในระดับที่สูงขึ้น การทดสอบการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ กล่าวโดยสรุป เครื่องมือวิจัยทั้งสองชนิดมีคุณภาพผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทุกด้าน และมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ในระดับสูงถึงสูงมาก</p> ชัชพงศ์ สร้อยแสง, จิราภรณ์ หันตุลา, สุวรรณี อัศวกุลชัย Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1047 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700