การส่งบทความ
รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ
ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด- บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
- บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
- มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
- บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
- บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)
คำแนะนำผู้แต่ง
การพิจารณาและคัดเลือกบทความ
บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน โดยบทความผู้นิพนธ์ภายนอกได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายในและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ส่วนบทความผู้นิพนธ์ภายในได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสาร มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review)
ส่วนประเภทของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร
วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา ตีพิมพ์บทความประเภทต่าง ๆ ดังนี้
- บทความวิจัย
รายงานผลงานวิจัยใหม่ที่มีองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจทันต่อเหตุการณ์และยุคสมัย ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ มาก่อน ควรมีองค์ประกอบดังนี้
1.1 ชื่อเรื่อง (Title) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยพิมพ์ชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยและตามด้วยภาษาอังกฤษ
1.2 ผู้นิพนธ์ (Author) ชื่อและนามสกุล พร้อมระบุชื่อต้นสังกัด หรือชื่อหน่วยงาน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และอีเมลของผู้นิพนธ์
1.3 บทคัดย่อ (Abstract) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
1.4 คำสำคัญ (Keywords) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ระบุคำเป็นคำสำคัญของเนื้อหา ครอบคลุมชื่อเรื่องที่ศึกษา เหมาะสำหรับนำไปใช้เป็นคำค้นหาข้อมูล
1.5 บทนำ (Introduction) เป็นส่วนของเนื้อหาที่อธิบายถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา และเหตุผลนำไปสู่การศึกษาวิจัย ทั้งนี้ ควรอ้างอิงเอกสารและงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้องด้วยเพื่อให้มีน้ำหนักและเกิดความน่าเชื่อถือ
1.6 วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research Objectives) ระบุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการวิจัย
1.7 วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methods) อธิบายถึงกระบวนการดำเนินการวิจัยอย่างละเอียด และชัดเจน กล่าวถึงรายละเอียดของวิธีการศึกษาประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา และวิธีการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย รวมทั้งสถิติที่นำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล
1.8 ผลการวิจัย (Research Results) เสนอผลการวิจัยที่ตรงประเด็นตามลำดับขั้นของการวิจัย ควรจำแนกผลออกเป็นหมวดหมู่และสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยการบรรยายในเนื้อเรื่อง และแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยภาพประกอบ ตาราง กราฟ หรือแผนภูมิ ตามความเหมาะสม
1.9 อภิปรายผลการวิจัย (Research Discussion) ผสมผสานเปรียบเทียบและผลการวิจัยให้เข้ากับหลักทฤษฎี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเชื่อมโยงผลการวิจัยให้สอดคล้องกับประเด็นปัญหาการวิจัย เพื่อให้มีความเข้าใจหรือเกิดความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้น รวมทั้งข้อดี ข้อเสียของวิธีการศึกษา เสนอแนะความคิดเห็นใหม่ ๆ ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์
1.10 ข้อเสนอแนะการวิจัย (Research Suggestions) ระบุข้อเสนอแนะทั่วไปและข้อเสนอแนะการวิจัยครั้งต่อไป
1.11 เอกสารอ้างอิง (References) เป็นการอ้างอิงเอกสารในเนื้อหาให้ใช้ระบบ APA (American Psychological Association citation style ) ทั้งนี้ การอ้างอิงเอกสารที่เป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ
- บทความวิชาการ
หัวข้อและเนื้อหาควรชี้ประเด็นที่ต้องการนำเสนอให้ชัดเจนและมีลำดับเนื้อหาที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ชัดเจน รวมถึงใช้ทฤษฎีวิเคราะห์และเสนอแนะประเด็นอย่างสมบูรณ์ ควรมีองค์ประกอบดังนี้
2.1 ชื่อเรื่อง (Title) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยพิมพ์ชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยและตามด้วยภาษาอังกฤษบรรทัดถัดต่อมา
2.2 ผู้นิพนธ์ (Author) ชื่อและนามสกุล พร้อมระบุชื่อต้นสังกัด หรือชื่อหน่วยงาน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และอีเมลของผู้นิพนธ์
2.3 บทคัดย่อ (Abstract) ให้มีภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2.4 คำสำคัญ (Keywords) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ระบุคำเป็นคำสำคัญของเนื้อหา ครอบคลุมชื่อเรื่องที่ศึกษา เหมาะสำหรับนำไปใช้เป็นคำค้นหาข้อมูล
2.5 บทนำ (Introduction) เป็นส่วนแนะนำและปูพื้นเรื่อง เพื่อให้ผู้อ่านทราบข้อมูลเบื้องต้นของเนื้อหา
2.6 เนื้อหา (Content) เนื้อหาบทความ มีการแบ่งประเด็นเรื่องย่อย ๆ และการจัดเรียงลำดับเป็นไปตามรายละเอียดของเนื้อหา
2.7 บทสรุป (Conclusion) การสรุปเนื้อหาในบทความทั้งหมดออกมาอย่างชัดเจน กระชับ โดยมีการสรุปปิดท้ายเนื้อหาที่นำเสนอ
2.8 เอกสารอ้างอิง (References) เป็นการอ้างอิงเอกสารในเนื้อหาให้ใช้ระบบ APA (American Psychological Association citation style) ทั้งนี้ การอ้างอิงเอกสารที่เป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ
การส่งบทความ
บทความที่จะตีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษาต้องส่งบทความผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/ เท่านั้น
รูปแบบบทความและการพิมพ์เนื้อหาบทความ
- การเตรียมต้นฉบับบทความ มีรายละเอียดดังนี้
1.1 ขนาดต้นฉบับ ขนาดหน้ากระดาษ B5 โดยเว้นระยะห่างระหว่างขอบกระดาษด้านบนและด้านซ้าย 1 นิ้ว ด้านขวาและด้านล่าง 0.5 นิ้ว
1.2 รูปแบบการพิมพ์ เนื้อหาในบทความส่วนแรก จัดเป็นแบบ 1 คอลัมน์ คือ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้วิจัย พร้อมระบุต้นสังกัด หรือชื่อหน่วยงาน และอีเมลของผู้นิพนธ์ บทคัดย่อ และคำสำคัญ อยู่ส่วนหน้าแรก ส่วนที่สอง จัดเป็นแบบ 1 คอลัมน์ คือเนื้อหาบทความที่อยู่ส่วนหน้าที่สองเป็นต้นไป
1.3 ใช้รูปแบบตัวอักษร TH SarabunPSK
1.4 หัวกระดาษ ประกอบด้วยเลขหน้า ขนาดตัวอักษร 16 ชนิดตัวธรรมดา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านขวาบน
1.5 ชื่อเรื่อง/ชื่อบทความภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 18 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ
1.6 ชื่อผู้นิพนธ์ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ ระบุเฉพาะชื่อและนามสกุล ไม่ต้องมีคำนำหน้า เว้น 2 เคาะระหว่างชื่อและนามสกุล ขนาดตัวอักษร 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษใต้ชื่อเรื่อง
1.7 ต้นสังกัด หรือชื่อหน่วยงาน และอีเมลของผู้นิพนธ์ ขนาดตัวอักษร 16 ชนิดตัวธรรมดา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษใต้ชื่อผู้นิพนธ์
1.8 หัวข้อของบทคัดย่อภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย
1.9 เนื้อหาบทคัดย่อภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 16 ชนิดตัวธรรมดา ให้จัดเป็นแบบ 1 คอลัมน์ บรรทัดแรกเว้น 7 ตัวอักษรจากขอบกระดาษด้านซ้ายและพิมพ์ให้ชิดขอบทั้งสองด้าน ส่วนเนื้อหาบทความที่อยู่หน้าที่สองเป็นต้นไปให้จัดเป็นแบบ 1 คอลัมน์เช่นกัน ทั้งนี้ ควรมีความยาวไม่เกิน 300 คำ และลักษณะของบทคัดย่อควรประกอบไปด้วย วัตถุประสงค์ (Objective) วิธีการศึกษา (Methods) ผลการศึกษา (Results) และคุณค่าหรือการนำไปใช้ประโยชน์
1.10 หัวข้อคำสำคัญ/อังกฤษ ขนาดตัวอักษร 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย ระบุคำสำคัญที่นำไปใช้เป็นคำค้น คำสำคัญแต่ละคำคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (;) ทั้งนี้ ควรมีคำสำคัญ 3-5 คำ โดยต้องจัดเรียงคำสำคัญตามตัวอักษร
1.11 หัวข้อเรื่อง ขนาดตัวอักษร 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย
1.12 หัวข้อย่อย ขนาดตัวอักษร 16 ชนิดตัวธรรมดา ระบุหมายเลขหน้าหัวข้อย่อยโดยเรียงตามลำดับหมายเลข
1.13 จำนวนต้นฉบับ ควรมีความยาวอยู่ระหว่าง 10-15 หน้า โดยนับรวมตาราง รูปภาพ แผนภูมิ และเอกสารอ้างอิง
1.14 ตาราง รูปภาพ และแผนภูมิ กรณีเป็นตารางให้ชื่อตารางอยู่ด้านบน กรณีที่เป็นรูปภาพหรือแผนภูมิ ให้ระบุชื่อรูปภาพหรือแผนภูมิอยู่ด้านล่าง
ตารางที่ 1 รายละเอียดรูปแบบการเตรียมต้นฉบับบทความ
รายละเอียด |
ขนาดอักษร |
รูปแบบ |
ชนิด |
ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ) |
18 |
กึ่งกลาง |
ตัวหนา |
ชื่อผู้นิพนธ์ (ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ) |
16 |
กึ่งกลาง |
ตัวหนา |
หน่วยงานที่สังกัด (ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ) |
14 |
กึ่งกลาง |
ตัวธรรมดา |
อีเมลของผู้นิพนธ์ |
14 |
กึ่งกลาง |
ตัวธรรมดา |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ) |
16 |
ชิดซ้าย |
ตัวหนา |
คำสำคัญ (ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ) |
16 |
ชิดซ้าย |
ตัวหนา |
หัวข้อหลักตามรูปแบบบทความกำหนดไว้ |
16 |
ชิดซ้าย |
ตัวหนา |
หัวข้อย่อย |
16 |
ชิดซ้าย |
ตัวหนา |
เนื้อหาตามรูปแบบบทความกำหนดไว้ |
16 |
ชิดซ้าย |
ตัวธรรมดา |
เอกสารอ้างอิง (ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ) |
16 |
ชิดซ้าย |
ตัวหนา |
ตาราง ชื่อตาราง (ตารางที่ : จัดไว้บนตาราง) รายละเอียดชื่อตาราง (พิมพ์ต่อจากชื่อตาราง) |
16 16 |
ชิดซ้าย ชิดซ้าย |
ตัวหนา ตัวธรรมดา |
รูปภาพ/แผนภูมิ ชื่อรูปภาพ/แผนภูมิ (ภาพ/แผนภูมิที่ : จัดไว้ใต้รูปภาพ/แผนภูมิ) รายละเอียดชื่อรูปภาพ/แผนภูมิ (พิมพ์ต่อจากชื่อรูปภาพ/แผนภูมิ) |
16
16 |
ชิดซ้าย
ชิดซ้าย |
ตัวหนา
ตัวธรรมดา |
เอกสารอ้างอิง : ใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association citation style) โดยการอ้างอิงเอกสารที่เป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ |
|||
จำนวนต้นฉบับ : มีความยาวอยู่ระหว่าง 10-15 หน้า |
เอกสารอ้างอิงในบทความ
รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อเรื่องใช้วิธีการอ้างอิงระบบนาม-ปี ตามรูปแบบของ American Psychological Association (APA) โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
- การอ้างอิงต้นเนื้อความ ให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยระบุชื่อ-นามสกุล ตามด้วย วงเล็บ เปิด-ปิด แล้วระบุปีที่ตีพิมพ์ เช่น ......ศิวาพัชญ์ บำรุงเศรษฐพงษ์ (2560) เป็นต้น
- การอ้างอิงท้ายเนื้อความ ให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยใช้ วงเล็บ เปิด-ปิด แล้วระบุชื่อ-นามสกุลของผู้เขียนและปีที่ตีพิมพ์ กำกับท้ายเนื้อความที่ได้อ้างอิง ดังนี้
อ้างอิงจากเอกสารภาษาไทย
- ผู้แต่งหนึ่งคน ให้อ้างชื่อผู้แต่งแล้วตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และตามด้วยปีที่พิมพ์ เช่น (ศิวาพัชญ์ บำรุงเศรษฐพงษ์, 2561)
- ผู้แต่งสองคน ให้อ้างชื่อของผู้แต่งทั้งสองคนโดยใช้คําว่า “และ” ในการเชื่อมผู้เขียนทั้งสองแล้วตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และปีที่พิมพ์ เช่น (อนุวัต กระสังข์และสมาน งามสนิท, 2560)
- ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 คนให้อ้างชื่อของผู้แต่งคนแรกแล้วเพิ่มคำว่า “และคณะ” แล้วตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และตามด้วยปีที่พิมพ์ เช่น (ศิวาพัชญ์ บำรุงเศรษฐพงษ์และคณะ, 2562)
อ้างอิงจากเอกสารภาษาอังกฤษ
- ถ้ามีผู้แต่งหนึ่งคนให้อ้างนามสกุลของผู้แต่ง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และปีที่พิมพ์ เช่น (Therry, 2018)
- ถ้ามีผู้แต่งสองคนให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งทั้งสองคน โดยใช้เครื่องหมายแอนด์ (&) คั่นกลางระหว่างนามสกุลของผู้แต่งทั้งสอง แล้วตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และปีที่พิมพ์ เช่น (Horry & Peter, 2018)
- ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 คนให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งคนแรกตามด้วย et al. ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และปีที่พิมพ์ (Peter et al., 2010)
เอกสารอ้างอิงที่ใช้อ้างอิงในเนื้อหาบทความ จะต้องปรากฏในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกรายการ
เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ
- หนังสือ
ชื่อ/นามสกุลผู้นิพนธ์./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อหนังสือ./ครั้งที่พิมพ์(ถ้ามี)./เมืองที่พิมพ์/:/ สำนักพิมพ์.
Author./(Year of Publication)./Title of Book./Edition of Book./Place of Publication/:/
Publisher Name.
ตัวอย่าง
อนุวัต กระสังข์. (2560). พื้นฐานรัฐประศาสนศาสตร์. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Cook, Robert D. (1995). Finite Element Modeling for Stress Analysis. New york: John wiley & sons.
- วารสาร
ชื่อ/นามสกุลผู้นิพนธ์./(ปี,/เดือน/วันที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร./ปีที่พิมพ์ (ฉบับที่พิมพ์),/เลขหน้าแรก–หน้าสุดท้าย.
Author./(Date of Publication)./Title of Article./Name of Journal./Year(Volume),/page.
ตัวอย่าง
ยรรยงวรกร ทองแย้ม. (2563). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์โดยใช้อัตลักษณ์ท้องถิ่นในการสร้างแบรนด์ชุมชนกาแฟดอยเผ่าไทยของบ้านรักไทย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 6(4), 55-68.
Buchanan, I. B. (1974). Building organizational commitment: The socialization of managers in work organizations. Administrative Science Quarterly. 19 (4), 533 - 545.
- หนังสือพิมพ์
ชื่อ/นามสกุลผู้นิพนธ์./(ปี,/เดือน/วันที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อหนังสือพิมพ์./เลขหน้าแรก/–/หน้าสุดท้าย.
Author./(Date of Publication)./Title of Article./Name of Newspaper./ page.
ตัวอย่าง
ปริยา เหล่าวิวัฒน์. (2549, พฤศจิกายน 6). เกียรติอันภาคภูมิ. กรุงเทพธุรกิจ, น. 13 - 14.
Jewell, Mark. (2006, November 7). Silent Aircraft' Spreads its Wings. Bangkok Post, p. 13
- วิทยานิพนธ์
ชื่อ/นามสกุลผู้นิพนธ์./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อวิทยานิพนธ์./วิทยานิพนธ์ระดับ/(บัณฑิต, มหาบัณฑิต, ดุษฎีบัณฑิตให้ระบุลงให้ชัดเจน)./ชื่อสถานศึกษา.
Author./(Year of Publication)./Title of Thesis.//Degree of Thesis./Publisher Name.
ตัวอย่าง
อนุวัต กระสังข์. (2557). การพัฒนาทรัพย์มนุษย์ในองค์กรตามแนวพุทธภายใต้กระแสบริโภคนิยม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Anne L Tonkin. (2016). Leading schools for innovation and success: five case studies of Australian principals creating innovative school cultures. Doctoral thesis. The University of Melbourne.
- รายงานการวิจัย
ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(รายงานผลการวิจัย)./สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
อนุวัต กระสังข์. (2557). การพัฒนาทรัพย์มนุษย์ในองค์กรตามแนวพุทธภายใต้กระแสบริโภคนิยม. รายงานผลการวิจัย. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
- สัมภาษณ์
ชื่อผู้ที่ได้รับการสัมภาษณ์./(ปีที่สัมภาษณ์, วัน เดือน)./ตำแหน่ง/[บทสัมภาษณ์].
อนุวัต กระสังข์. (2560, 5 มีนาคม). คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี [บทสัมภาษณ์].
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์
ผู้แต่ง./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อเรื่อง./สืบค้น วัน เดือน ปี,/จาก/แหล่งที่มาของข้อมูล.
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์. (2548). พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. สืบค้น 3 กรกฎาคม 2548, จาก http://www.moc. go.th/thai/dbe/ecoco/e-com3.htm
Buddhism Meditation Triratna Find us Community. (2020). Who Was The Buddha?. Retrieved March 20, 2020, from https://thebuddhist centre.com/text/who-was-buddha.
บทความวิจัย (Research article)
Section default policy
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
- เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
- บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษาถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษาก่อนเท่านั้น
นโยบายส่วนบุคคล
ชื่อและที่อยู่อีเมล หรือข้อมูลส่วนบุคคล ที่กรอกในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในงานวารสารเท่านั้นและจะไม่เปิดเผยเพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่น ๆ หรือให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดทราบ