Publication Ethics
จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการ (Publication Ethics)
วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษามีนโยบายจัดเจนและการดำเนินการเพื่อให้การตีพิมพ์เผยแพร่บทความทางวิชาการ สามารถสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการเป็นไปอย่างถูกต้องมีคุณภาพ โปร่งใส และสอดคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์นานาชาติ เช่น Committee on Publication Ethics จึงได้กำหนดแนวทาง วิธีปฏิบัติที่ดี และจริยธรรมของการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยไว้สำหรับการดำเนินงานของวารสาร ทั้งนี้ วารสารจึงกำหนดบทความหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Author) บรรณาธิการ (Editor) และผู้ประเมินบทความ (Reviewer) เพื่อให้บุคคลทั้ง 3 กลุ่มดังกล่าว ได้ศึกษาและปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัดเพื่อประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ตลอดจนผู้อ่าน แวดวงวิชาการและโดยรวม รายละเอียดดังนี้
บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์
- ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าบทความต้นฉบับนั้นเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่วารสารใดมาก่อน
- ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่นต้องจัดทำรายการอ้างอิง ท้ายบทความ
- ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบของวารสารที่กำหนดไว้
- ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัย
- ผู้นิพนธ์ต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อนให้ชัดเจน
- ผู้นิพนธ์ต้องยินยอมให้วารสารตรวจสอบการคัดลอกผลงานวิชาการโดยใช้ระบบ CopyCatch ทั้งนี้ผลงานวิชาการที่มีความคล้ายคลึงกันสามารถยอบรับได้ไม่เกินร้อยละ 25 % ของผลงานทั้งหมดจึงจะนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาตีพิมพ์
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา
- พิจารณาบทความที่มีคุณภาพเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา
- บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
- บรรณาธิการต้องตัดสินใจคัดเลือกบทความ โดยพิจารณาจากความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของวารสารเป็นสำคัญ
- บรรณาธิการต้องไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว
- บรรณาธิการจะไม่ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความเพราะความสงสัยหรือไม่แน่ใจ
- บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เกี่ยวข้องทุกคนในวงจรการตีพิมพ์บทความ
- บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) อย่างจริงจัง โดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ เพื่อให้แน่ใจว่าบทความที่จะนำลงตีพิมพ์ในวารสารโดยไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น
- หากตรวจพบว่ามีการคัดลอกผลงานของผู้อื่นในระหว่างกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการจะหยุดกระบวนการประเมินและติดต่อผู้นิพนธ์หลักทันทีเพื่อขอคำชี้แจง เพื่อนำมาประกอบการพิจารณา “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้นๆ
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
- ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับและจะไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความที่ส่งมาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
- หลังจากได้รับบทความจากบรรณาธิการวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา และผู้ประเมินบทความ ตระหนักว่าตัวเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ
- ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่จะมีต่อประโยชน์ทางวิชาการในสาขาวิชานั้นๆ คุณภาพของการวิเคราะห์ และความเข้มข้นของผลงาน และผู้ประเมินบทความไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความวิจัย
- ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความตามกรอบระยะเวลาที่วารสารกำหนดและต้องส่งบทความที่ทำการประเมินแล้วเสร็จให้กับวารสารภายในไม่เกิน 30 วันนับจากวันที่ได้รับบทความ
ปรับปรุงจาก
- https://publicationethics.org/
- ประกาศของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) เรื่องการประเมินด้านจริยธรรม/จรรยาบรรณวารสารวิชาการไทยในฐานข้อมูล TCI วันที่ 21 กรกฎาคม 2566