Submissions
Submission Preparation Checklist
As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.- The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
- The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
- Where available, URLs for the references have been provided.
- The text is single-spaced; and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
- The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.
Author Guidelines
การพิจารณาและคัดเลือกบทความ
บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน โดยบทความผู้นิพนธ์ภายนอกได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายในและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ส่วนบทความผู้นิพนธ์ภายในได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสาร มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review)
ส่วนประเภทของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร
วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา ตีพิมพ์บทความประเภทต่าง ๆ ดังนี้
- บทความวิจัย
รายงานผลงานวิจัยใหม่ที่มีองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจทันต่อเหตุการณ์และยุคสมัย ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ มาก่อน ควรมีองค์ประกอบดังนี้
1.1 ชื่อเรื่อง (Title) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยพิมพ์ชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยและตามด้วยภาษาอังกฤษ
1.2 ผู้นิพนธ์ (Author) ชื่อและนามสกุล พร้อมระบุชื่อต้นสังกัด หรือชื่อหน่วยงาน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และอีเมลของผู้นิพนธ์
1.3 บทคัดย่อ (Abstract) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
1.4 คำสำคัญ (Keywords) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ระบุคำเป็นคำสำคัญของเนื้อหา ครอบคลุมชื่อเรื่องที่ศึกษา เหมาะสำหรับนำไปใช้เป็นคำค้นหาข้อมูล
1.5 บทนำ (Introduction) เป็นส่วนของเนื้อหาที่อธิบายถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา และเหตุผลนำไปสู่การศึกษาวิจัย ทั้งนี้ ควรอ้างอิงเอกสารและงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้องด้วยเพื่อให้มีน้ำหนักและเกิดความน่าเชื่อถือ
1.6 วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research Objectives) ระบุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการวิจัย
1.7 วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methods) อธิบายถึงกระบวนการดำเนินการวิจัยอย่างละเอียด และชัดเจน กล่าวถึงรายละเอียดของวิธีการศึกษาประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา และวิธีการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย รวมทั้งสถิติที่นำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล
1.8 ผลการวิจัย (Research Results) เสนอผลการวิจัยที่ตรงประเด็นตามลำดับขั้นของการวิจัย ควรจำแนกผลออกเป็นหมวดหมู่และสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยการบรรยายในเนื้อเรื่อง และแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยภาพประกอบ ตาราง กราฟ หรือแผนภูมิ ตามความเหมาะสม
1.9 อภิปรายผลการวิจัย (Research Discussion) ผสมผสานเปรียบเทียบและผลการวิจัยให้เข้ากับหลักทฤษฎี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเชื่อมโยงผลการวิจัยให้สอดคล้องกับประเด็นปัญหาการวิจัย เพื่อให้มีความเข้าใจหรือเกิดความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้น รวมทั้งข้อดี ข้อเสียของวิธีการศึกษา เสนอแนะความคิดเห็นใหม่ ๆ ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์
1.10 ข้อเสนอแนะการวิจัย (Research Suggestions) ระบุข้อเสนอแนะทั่วไปและข้อเสนอแนะการวิจัยครั้งต่อไป
1.11 เอกสารอ้างอิง (References) เป็นการอ้างอิงเอกสารในเนื้อหาให้ใช้ระบบ APA (American Psychological Association citation style ) ทั้งนี้ การอ้างอิงเอกสารที่เป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ
- บทความวิชาการ
หัวข้อและเนื้อหาควรชี้ประเด็นที่ต้องการนำเสนอให้ชัดเจนและมีลำดับเนื้อหาที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ชัดเจน รวมถึงใช้ทฤษฎีวิเคราะห์และเสนอแนะประเด็นอย่างสมบูรณ์ ควรมีองค์ประกอบดังนี้
2.1 ชื่อเรื่อง (Title) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยพิมพ์ชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยและตามด้วยภาษาอังกฤษบรรทัดถัดต่อมา
2.2 ผู้นิพนธ์ (Author) ชื่อและนามสกุล พร้อมระบุชื่อต้นสังกัด หรือชื่อหน่วยงาน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และอีเมลของผู้นิพนธ์
2.3 บทคัดย่อ (Abstract) ให้มีภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2.4 คำสำคัญ (Keywords) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ระบุคำเป็นคำสำคัญของเนื้อหา ครอบคลุมชื่อเรื่องที่ศึกษา เหมาะสำหรับนำไปใช้เป็นคำค้นหาข้อมูล
2.5 บทนำ (Introduction) เป็นส่วนแนะนำและปูพื้นเรื่อง เพื่อให้ผู้อ่านทราบข้อมูลเบื้องต้นของเนื้อหา
2.6 เนื้อหา (Content) เนื้อหาบทความ มีการแบ่งประเด็นเรื่องย่อย ๆ และการจัดเรียงลำดับเป็นไปตามรายละเอียดของเนื้อหา
2.7 บทสรุป (Conclusion) การสรุปเนื้อหาในบทความทั้งหมดออกมาอย่างชัดเจน กระชับ โดยมีการสรุปปิดท้ายเนื้อหาที่นำเสนอ
2.8 เอกสารอ้างอิง (References) เป็นการอ้างอิงเอกสารในเนื้อหาให้ใช้ระบบ APA (American Psychological Association citation style) ทั้งนี้ การอ้างอิงเอกสารที่เป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ
การส่งบทความ
บทความที่จะตีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษาต้องส่งบทความผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/ เท่านั้น
รูปแบบบทความและการพิมพ์เนื้อหาบทความ
- การเตรียมต้นฉบับบทความ มีรายละเอียดดังนี้
1.1 ขนาดต้นฉบับ ขนาดหน้ากระดาษ B5 โดยเว้นระยะห่างระหว่างขอบกระดาษด้านบนและด้านซ้าย 1 นิ้ว ด้านขวาและด้านล่าง 0.5 นิ้ว
1.2 รูปแบบการพิมพ์ เนื้อหาในบทความส่วนแรก จัดเป็นแบบ 1 คอลัมน์ คือ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้วิจัย พร้อมระบุต้นสังกัด หรือชื่อหน่วยงาน และอีเมลของผู้นิพนธ์ บทคัดย่อ และคำสำคัญ อยู่ส่วนหน้าแรก ส่วนที่สอง จัดเป็นแบบ 1 คอลัมน์ คือเนื้อหาบทความที่อยู่ส่วนหน้าที่สองเป็นต้นไป
1.3 ใช้รูปแบบตัวอักษร TH SarabunPSK
1.4 หัวกระดาษ ประกอบด้วยเลขหน้า ขนาดตัวอักษร 16 ชนิดตัวธรรมดา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านขวาบน
1.5 ชื่อเรื่อง/ชื่อบทความภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 18 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ
1.6 ชื่อผู้นิพนธ์ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ ระบุเฉพาะชื่อและนามสกุล ไม่ต้องมีคำนำหน้า เว้น 2 เคาะระหว่างชื่อและนามสกุล ขนาดตัวอักษร 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษใต้ชื่อเรื่อง
1.7 ต้นสังกัด หรือชื่อหน่วยงาน และอีเมลของผู้นิพนธ์ ขนาดตัวอักษร 16 ชนิดตัวธรรมดา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษใต้ชื่อผู้นิพนธ์
1.8 หัวข้อของบทคัดย่อภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย
1.9 เนื้อหาบทคัดย่อภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 16 ชนิดตัวธรรมดา ให้จัดเป็นแบบ 1 คอลัมน์ บรรทัดแรกเว้น 7 ตัวอักษรจากขอบกระดาษด้านซ้ายและพิมพ์ให้ชิดขอบทั้งสองด้าน ส่วนเนื้อหาบทความที่อยู่หน้าที่สองเป็นต้นไปให้จัดเป็นแบบ 1 คอลัมน์เช่นกัน ทั้งนี้ ควรมีความยาวไม่เกิน 300 คำ และลักษณะของบทคัดย่อควรประกอบไปด้วย วัตถุประสงค์ (Objective) วิธีการศึกษา (Methods) ผลการศึกษา (Results) และคุณค่าหรือการนำไปใช้ประโยชน์
1.10 หัวข้อคำสำคัญ/อังกฤษ ขนาดตัวอักษร 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย ระบุคำสำคัญที่นำไปใช้เป็นคำค้น คำสำคัญแต่ละคำคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (;) ทั้งนี้ ควรมีคำสำคัญ 3-5 คำ โดยต้องจัดเรียงคำสำคัญตามตัวอักษร
1.11 หัวข้อเรื่อง ขนาดตัวอักษร 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย
1.12 หัวข้อย่อย ขนาดตัวอักษร 16 ชนิดตัวธรรมดา ระบุหมายเลขหน้าหัวข้อย่อยโดยเรียงตามลำดับหมายเลข
1.13 จำนวนต้นฉบับ ควรมีความยาวอยู่ระหว่าง 10-15 หน้า โดยนับรวมตาราง รูปภาพ แผนภูมิ และเอกสารอ้างอิง
1.14 ตาราง รูปภาพ และแผนภูมิ กรณีเป็นตารางให้ชื่อตารางอยู่ด้านบน กรณีที่เป็นรูปภาพหรือแผนภูมิ ให้ระบุชื่อรูปภาพหรือแผนภูมิอยู่ด้านล่าง
ตารางที่ 1 รายละเอียดรูปแบบการเตรียมต้นฉบับบทความ
รายละเอียด |
ขนาดอักษร |
รูปแบบ |
ชนิด |
ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ) |
18 |
กึ่งกลาง |
ตัวหนา |
ชื่อผู้นิพนธ์ (ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ) |
16 |
กึ่งกลาง |
ตัวหนา |
หน่วยงานที่สังกัด (ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ) |
14 |
กึ่งกลาง |
ตัวธรรมดา |
อีเมลของผู้นิพนธ์ |
14 |
กึ่งกลาง |
ตัวธรรมดา |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ) |
16 |
ชิดซ้าย |
ตัวหนา |
คำสำคัญ (ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ) |
16 |
ชิดซ้าย |
ตัวหนา |
หัวข้อหลักตามรูปแบบบทความกำหนดไว้ |
16 |
ชิดซ้าย |
ตัวหนา |
หัวข้อย่อย |
16 |
ชิดซ้าย |
ตัวหนา |
เนื้อหาตามรูปแบบบทความกำหนดไว้ |
16 |
ชิดซ้าย |
ตัวธรรมดา |
เอกสารอ้างอิง (ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ) |
16 |
ชิดซ้าย |
ตัวหนา |
ตาราง ชื่อตาราง (ตารางที่ : จัดไว้บนตาราง) รายละเอียดชื่อตาราง (พิมพ์ต่อจากชื่อตาราง) |
16 16 |
ชิดซ้าย ชิดซ้าย |
ตัวหนา ตัวธรรมดา |
รูปภาพ/แผนภูมิ ชื่อรูปภาพ/แผนภูมิ (ภาพ/แผนภูมิที่ : จัดไว้ใต้รูปภาพ/แผนภูมิ) รายละเอียดชื่อรูปภาพ/แผนภูมิ (พิมพ์ต่อจากชื่อรูปภาพ/แผนภูมิ) |
16
16 |
ชิดซ้าย
ชิดซ้าย |
ตัวหนา
ตัวธรรมดา |
เอกสารอ้างอิง : ใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association citation style) โดยการอ้างอิงเอกสารที่เป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ |
|||
จำนวนต้นฉบับ : มีความยาวอยู่ระหว่าง 10-15 หน้า |
เอกสารอ้างอิงในบทความ
รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อเรื่องใช้วิธีการอ้างอิงระบบนาม-ปี ตามรูปแบบของ American Psychological Association (APA) โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
- การอ้างอิงต้นเนื้อความ ให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยระบุชื่อ-นามสกุล ตามด้วย วงเล็บ เปิด-ปิด แล้วระบุปีที่ตีพิมพ์ เช่น ......ศิวาพัชญ์ บำรุงเศรษฐพงษ์ (2560) เป็นต้น
- การอ้างอิงท้ายเนื้อความ ให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยใช้ วงเล็บ เปิด-ปิด แล้วระบุชื่อ-นามสกุลของผู้เขียนและปีที่ตีพิมพ์ กำกับท้ายเนื้อความที่ได้อ้างอิง ดังนี้
อ้างอิงจากเอกสารภาษาไทย
- ผู้แต่งหนึ่งคน ให้อ้างชื่อผู้แต่งแล้วตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และตามด้วยปีที่พิมพ์ เช่น (ศิวาพัชญ์ บำรุงเศรษฐพงษ์, 2561)
- ผู้แต่งสองคน ให้อ้างชื่อของผู้แต่งทั้งสองคนโดยใช้คําว่า “และ” ในการเชื่อมผู้เขียนทั้งสองแล้วตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และปีที่พิมพ์ เช่น (อนุวัต กระสังข์และสมาน งามสนิท, 2560)
- ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 คนให้อ้างชื่อของผู้แต่งคนแรกแล้วเพิ่มคำว่า “และคณะ” แล้วตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และตามด้วยปีที่พิมพ์ เช่น (ศิวาพัชญ์ บำรุงเศรษฐพงษ์และคณะ, 2562)
อ้างอิงจากเอกสารภาษาอังกฤษ
- ถ้ามีผู้แต่งหนึ่งคนให้อ้างนามสกุลของผู้แต่ง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และปีที่พิมพ์ เช่น (Therry, 2018)
- ถ้ามีผู้แต่งสองคนให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งทั้งสองคน โดยใช้เครื่องหมายแอนด์ (&) คั่นกลางระหว่างนามสกุลของผู้แต่งทั้งสอง แล้วตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และปีที่พิมพ์ เช่น (Horry & Peter, 2018)
- ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 คนให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งคนแรกตามด้วย et al. ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และปีที่พิมพ์ (Peter et al., 2010)
เอกสารอ้างอิงที่ใช้อ้างอิงในเนื้อหาบทความ จะต้องปรากฏในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกรายการ
เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ
- หนังสือ
ชื่อ/นามสกุลผู้นิพนธ์./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อหนังสือ./ครั้งที่พิมพ์(ถ้ามี)./เมืองที่พิมพ์/:/ สำนักพิมพ์.
Author./(Year of Publication)./Title of Book./Edition of Book./Place of Publication/:/
Publisher Name.
ตัวอย่าง
อนุวัต กระสังข์. (2560). พื้นฐานรัฐประศาสนศาสตร์. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Cook, Robert D. (1995). Finite Element Modeling for Stress Analysis. New york: John wiley & sons.
- วารสาร
ชื่อ/นามสกุลผู้นิพนธ์./(ปี,/เดือน/วันที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร./ปีที่พิมพ์ (ฉบับที่พิมพ์),/เลขหน้าแรก–หน้าสุดท้าย.
Author./(Date of Publication)./Title of Article./Name of Journal./Year(Volume),/page.
ตัวอย่าง
ยรรยงวรกร ทองแย้ม. (2563). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์โดยใช้อัตลักษณ์ท้องถิ่นในการสร้างแบรนด์ชุมชนกาแฟดอยเผ่าไทยของบ้านรักไทย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 6(4), 55-68.
Buchanan, I. B. (1974). Building organizational commitment: The socialization of managers in work organizations. Administrative Science Quarterly. 19 (4), 533 - 545.
- หนังสือพิมพ์
ชื่อ/นามสกุลผู้นิพนธ์./(ปี,/เดือน/วันที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อหนังสือพิมพ์./เลขหน้าแรก/–/หน้าสุดท้าย.
Author./(Date of Publication)./Title of Article./Name of Newspaper./ page.
ตัวอย่าง
ปริยา เหล่าวิวัฒน์. (2549, พฤศจิกายน 6). เกียรติอันภาคภูมิ. กรุงเทพธุรกิจ, น. 13 - 14.
Jewell, Mark. (2006, November 7). Silent Aircraft' Spreads its Wings. Bangkok Post, p. 13
- วิทยานิพนธ์
ชื่อ/นามสกุลผู้นิพนธ์./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อวิทยานิพนธ์./วิทยานิพนธ์ระดับ/(บัณฑิต, มหาบัณฑิต, ดุษฎีบัณฑิตให้ระบุลงให้ชัดเจน)./ชื่อสถานศึกษา.
Author./(Year of Publication)./Title of Thesis.//Degree of Thesis./Publisher Name.
ตัวอย่าง
อนุวัต กระสังข์. (2557). การพัฒนาทรัพย์มนุษย์ในองค์กรตามแนวพุทธภายใต้กระแสบริโภคนิยม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Anne L Tonkin. (2016). Leading schools for innovation and success: five case studies of Australian principals creating innovative school cultures. Doctoral thesis. The University of Melbourne.
- รายงานการวิจัย
ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(รายงานผลการวิจัย)./สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
อนุวัต กระสังข์. (2557). การพัฒนาทรัพย์มนุษย์ในองค์กรตามแนวพุทธภายใต้กระแสบริโภคนิยม. รายงานผลการวิจัย. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
- สัมภาษณ์
ชื่อผู้ที่ได้รับการสัมภาษณ์./(ปีที่สัมภาษณ์, วัน เดือน)./ตำแหน่ง/[บทสัมภาษณ์].
อนุวัต กระสังข์. (2560, 5 มีนาคม). คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี [บทสัมภาษณ์].
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์
ผู้แต่ง./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อเรื่อง./สืบค้น วัน เดือน ปี,/จาก/แหล่งที่มาของข้อมูล.
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์. (2548). พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. สืบค้น 3 กรกฎาคม 2548, จาก http://www.moc. go.th/thai/dbe/ecoco/e-com3.htm
Buddhism Meditation Triratna Find us Community. (2020). Who Was The Buddha?. Retrieved March 20, 2020, from https://thebuddhist centre.com/text/who-was-buddha.
บทความวิจัย (Research article)
Section default policy
Copyright Notice
- เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
- บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษาถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษาก่อนเท่านั้น
Privacy Statement
The names and email addresses entered in this journal site will be used exclusively for the stated purposes of this journal and will not be made available for any other purpose or to any other party.