แนวทางการจัดห้องเรียนพิเศษ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ: กรณีเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

ผู้แต่ง

  • วลัยลักษ์ขณา รัตนวงค์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • นิสสรณ์ บำเพ็ญ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

แนวทางการจัดห้องเรียนพิเศษ, เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

บทคัดย่อ

ตลอดชีวิตสำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ กลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities - LD) โดยศึกษาเกี่ยวกับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ การจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ (Environment for Learning) การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และแนวทางการจัดห้องเรียนสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต จากการศึกษาพบว่า แนวทางการจัดห้องเรียนพิเศษ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ กลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ มีความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ซึ่งการจัดห้องเรียนพิเศษไม่เพียงแต่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาความสามารถของนักเรียนให้เต็มศักยภาพ แต่ยังช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ โดยการสร้างบรรยากาศการเรียนที่สนุกสนานและมีความสุข ช่วยกระตุ้นให้นักเรียนมีแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ภายในห้องเรียนและพัฒนาไปสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพในอนาคตต่อไป

References

จุฬามาศ จันทร์ศรีสุคต. (2560). การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้.

อุดรธานี : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551. (2551, 5 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 28 ก. หน้า 1 - 13.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ.2552. (2552, 8 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 126 ตอนพิเศษ 80 ง. หน้า 45 – 47.

สถาบันราชานุกูล. (2555). เด็กแอลดี: คู่มือสำหรับครู. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิสชิ่ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Kirk, S., & Gallagher, J. (1986). Educating Exceptional Children. Boston: Houghton Mifflin.

Kirk, S., Gallagher, J., & Anastasiow, N. (1993). Educating Exceptional Children (7th ed.). Boston: Houghton Mifflin Company.

McVey, G. F. (1989). Learning environments. In M. Eraut (Ed.). International Encyclopedia of Educational Technology, 124–131.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/05/2025

How to Cite

รัตนวงค์ ว., & บำเพ็ญ น. (2025). แนวทางการจัดห้องเรียนพิเศษ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ: กรณีเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา, 3(1), 92–105. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1232

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Articles)