การประเมินโครงการพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านปากคลอง 17 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก

ผู้แต่ง

  • กุลวดี วิมะลิน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปากคลอง 17

คำสำคัญ:

การประเมินโครงการ, คุณธรรม, จริยธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการ และประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากคลอง 17 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ ผลการประเมินพบว่า ตัวชี้วัด ประเด็นการประเมินทุกประเด็นและภาพรวมของโครงการทั้งหมด มีดังนี้ 1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า มีความสอดคล้องกับความมุ่งหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ วัตถุประสงค์ของโครงการ มีความเหมาะสมกับสภาพปัญหา ความต้องการจำเป็นของโรงเรียนและแนวการดำเนินการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2.  ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีความพร้อม ความพอเพียง และการสนับสนุนต่าง ๆ ในด้านบุคลากร งบประมาณ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3.  ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ขั้นเตรียมการ ขั้นดำเนินการ ขั้นประเมินผลและขั้นปรับปรุงแก้ไข มีการปฏิบัติและมีความเหมาะสม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4.  ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า 4.1  ผลการประเมินด้านผลผลิต ของโครงการพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากคลอง 17 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก พบว่า ครูและนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ มีความเห็นว่า ด้านผลผลิตของโครงการฯทั้ง 8 กิจกรรม มีผลการประเมินทั้งด้านคุณภาพและปริมาณอยู่ในระดับมากทุกกิจกรรม ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน 4.2  ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูและผู้ปกครองที่มีต่อนักเรียนก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากคลอง 17 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก พบว่า ครูและผู้ปกครองนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ มีความพึงพอใจหลังร่วมโครงการสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

References

ชฎาพร เสนเผือก. (2560). รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมนักเรียนตามแนวการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม โรงเรียนวัดปากจ่า. ปัตตานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2.

ชูชาติ แปลงล้วน. (2563). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5(7), 379 - 393.

นฤมล วิทยาวุฒิรัตน์. (2562). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. 2(4), 97 - 107.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2565). รายงานผลการประเมินคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นพลเมืองของผู้เรียนทุกช่วงชั้น. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

อรรถพล เกิดด้วยทอง. (2566). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนของโรงเรียนบ้านโรงเหล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 4. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์. 8(1), 69 - 81.

Stufflebeam, D. L. (2003). The CIPP model for evaluation. In T. Kellaghan & D. L. Stufflebeam (Eds.), International handbook of educational evaluation (Vol. 9, pp. 31 - 62). Kluwer International Handbooks of Education. Springer.

zWillems, F., Denessen, E., Hermans, C. & Vermeer, P. (2012). Students' perceptions and teachers' self-ratings of modelling civic virtues: An exploratory empirical study in Dutch primary schools. Journal of Moral Education, 41(1), 1 - 17.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/05/2025

How to Cite

วิมะลิน ก. (2025). การประเมินโครงการพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านปากคลอง 17 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา, 3(1), 1–15. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1065

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)