ดนตรีตับเต่า จังหวัดอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ดนตรีตับเต่า จังหวัดอุตรดิตถ์ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาที่มาและพัฒนาการของการละเล่นดนตรีตับเต่า จังหวัดอุตรดิตถ์ 2) เพื่อศึกษาลักษณะเฉพาะทางดนตรีของดนตรีตับเต่าจังหวัดอุตรดิตถ์ ขั้นตอนในการศึกษาวิจัย ผู้วิจัยใช้การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับดนตรีตับเต่า คือ นักดนตรีและผู้แสดงดนตรีตับเต่า นักวิชาการดนตรี ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีตับเต่า จํานวน 37 คน และใช้ระบบการบันทึกเสียงจากการบรรเลงจริง ซึ่งวงดนตรีที่นํามาศึกษาครั้งนี้ เป็นวงดนตรีที่บรรเลงประกอบการละเล่นดนตรีตับเต่า ของจังหวัดอุตรดิตถ์ จํานวน 3 คณะ คือ คณะฟากท่าบันเทิงศิลป์ คณะชมรมผู้สูงอายุน้ําปาด และคณะกลุ่มแม่บ้านนาคันทุง ผลการวิจัยพบดังนี้ 1) ที่มาและพัฒนาการของการละเล่นดนตรีตับเต่า จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า ดนตรีตับเต่าเป็นดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการละเล่นตับเต่าโดยเฉพาะ การละเล่นตับเต่า พัฒนาการจากการนําวรรณกรรมที่บันทึกเป็นภาษาไทยน้อยในสมุดใบลาน มาเล่าเป็นนิทาน จนกระทั่งพัฒนาเป็นรูปแบบการละเล่น เครื่องดนตรีที่ประสมวงมี 2 ชนิด คือ ซอตับเต่า (ซอปิ๊บ) และกลองตับเต่า เพลงที่ใช้บรรเลงเพลงเดียวคือ เพลงตับเต่า จากการศึกษาพบว่าดนตรีตับเต่ามุ่งเน้นบรรเลงประกอบการการละเล่นให้สัมพันธ์กลมกลืน มากกว่าการบรรเลงประกอบกิริยาของตัวละคร และ 2) ลักษณะเฉพาะทางดนตรีของดนตรีตับเต่า จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า ดนตรีตับเต่ามีกลุ่มเสียงทํานองเพลงเสียง 5 เสียงคือ C (โด), D (เร), E (มี), G (ซอล) และ A (ลา) ทํานองหลักมี 2 วรรค (หรือ 4 วลี)โครงสร้าง ทํานองประกอบด้วย การบรรเลงภายในวรรค การบรรเลงทั้งหมด ทํานองหลักแบ่งตามลักษณะการใช้ได้ 2 ช่วง คือ ช่วงที่ใช้บรรเลงประกอบการร้อง และช่วงใช้เป็นลูกจบเพลง การเคลื่อนที่ของทํานองนิยมใช้การเคลื่อนที่เป็นแบบช่วงกว้างระยะ 2 เสียง และใช้แบบช่วงกว้างระยะ 3 เสียงและ 4 เสียงตามลําดับ ทิศทางการเคลื่อนที่ของทํานองมีลักษณะขึ้นและลงอย่างรวดเร็ว และลงจบที่เสียง D (เร) การประดับตกแต่งทํานอง พบว่ามีการใช้ทุกคณะ กระสวนจังหวะกลองตับเต่า แบ่งได้ 2 ช่วง คือ ช่วงที่ยืนจังหวะตรงกับจังหวะเคาะ และเป็นสัญญาณเพื่อลงจบ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of TCI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...