การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ อําเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

กฤษฎา ตัสมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาทรัพยากรวัฒนธรรมวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทรัพยากรวัฒนธรรมในวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ สําหรับกําหนดรูปแบบคู่มือนําเที่ยวทางวัฒนธรรมในวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ อําเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาบริบทของวัด ทรัพยากรวัฒนธรรมที่มีอยู่ในพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ และนําทรัพยากรวัฒนธรรมมาดําเนินการจัดทําคู่มือให้ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรวัฒนธรรมที่มีอยู่ในวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ อําเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ในการนําข้อมูลมากําหนดรูปแบบคู่มือให้ความรู้ที่เหมาะพร้อมทั้งคุณภาพในเนื้อหาของคู่มือจากการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อนํามาทดลองใช้กับนักท่องเที่ยวตอบแบบสอบถามวัดค่าความพึงพอใจ 5 ระดับ โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถแบบบังเอิญ ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1. ทรัพยากรวัฒนธรรมในวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ เป็นวัดที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ. 2478 เป็นวัดเก่าแก่และมีความเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา จนถึงในช่วงกรุงธนบุรี พบทรัพยากรวัฒนธรรมที่มีคุณค่าทางด้านวิชาการ ได้ทั้งสิ้น 19 องค์ประกอบ โดยข้อมูลที่ได้นํามาใช้ในการกําหนดรูปแบบคู่มือนําเที่ยวผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอยู่ในระดับมาก 2. รูปแบบคู่มือนําเที่ยวที่เหมาะสม มีขนาด เอ 5 จัดพิมพ์ 4 สี ภาพประกอบสองมิติ พร้อมเนื้อหาและได้ทําการทดลองใช้คู่มือนําเที่ยวภายในวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถกับกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวจํานวน 30 คน พบว่าอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด เป็นคู่มือที่ช่วยให้ได้รับความรู้ เนื้อหา ที่มีภาพประกอบสีสันสดใส สวยงาม ขนาดกระทัดรัดพกพาสะดวก มีความเพลิดเพลินในการเดินชมโบราณสถานต่างๆ ที่อยู่ในเขตโบราณสถานวัดพระฝางสวางคบุรีมุมีนาถ และยังสามารถนําไปต่อยอดหรือใช้เป็นแนวทางในการจัดทําคู่มือในสถานที่อื่นๆ ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย