ผลกระทบและความเชื่อมั่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาด ของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสํารวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย 2) ศึกษาความเชื่อมั่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย โดยใช้รูปแบบการสํารวจแบบโพลล์ (Poll) ซึ่งมีแบบสํารวจ (Survey) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรทั่วประเทศทั้ง 77 จังหวัด โดยมีขอบเขตการศึกษาครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสังคม ด้านการศึกษาและด้านการท่องเที่ยว จากประเด็นการสํารวจระหว่างเดือนธันวาคม 2563-มีนาคม 2564 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาทั้ง 3 ประเด็น คือ ประชาชน จํานวนแบ่งออกเป็น 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1) 23,185 คน 2) 72,626 คน และ 3) 36,681 คน ตามลําดับใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบบังเอิญ โดยเก็บข้อมูลทั้งแบบภาคสนามและแบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในระหว่างเดือนธันวาคม 2563 – มีนาคม 2564 ซึ่งเป็นช่วงการกลับมาแพร่ระบาดรอบใหม่ ผลกระทบใน 3 ด้านที่ศึกษา คือ ด้านสังคม ด้านการศึกษา และด้านการท่องเที่ยว ด้านสังคม มีผลกระทบในระดับมาก โดยประชาชนมีการป้องกันตนเองให้เข้มงวดขึ้น และดูแลสุขภาพตัวเองให้แข็งแรงสมบูรณ์ ด้านการศึกษา มีผลกระทบจากปัญหาในการเรียนออนไลน์ คือเรื่องความเร็วของสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อระดับมากที่สุด และหากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สามารถควบคุมหรือป้องกันได้ พบว่ามีความต้องการกลับมาเรียนในห้องเรียนเป็นหลักมากกว่าการเรียนแบบออนไลน์ ด้านการท่องเที่ยว ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยในการเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยว เนื่องด้วยเหตุผลคือ เกรงว่าจะเป็นการแพร่ระบาดโรคโควิด–19 รอบใหม่ 2) ความเชื่อมั่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงเวลาเดือนธันวาคม 2563 ประชาชนค่อนข้างมีความเชื่อมั่นต่อมาตรการในการติดตามและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของภาครัฐ แต่ไม่เห็นด้วยต่อความเชื่อมั่นต่อการเปิดรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทย ในช่วงเดือน มีนาคม 2564 ด้วยเหตุผลคือ เกรงว่าจะเป็นการแพร่ระบาดโรคโควิด– 19 รอบใหม่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of TCI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...