กลยุทธ์การบริหารธุรกิจร้านอาหารในเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สืบพญา ทิพย์ดนตรี
สุภา จิรวัฒนานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าที่มาใช้บริการธุรกิจร้านอาหาร


และเพื่อกลยุทธ์การบริหารธุรกิจร้านอาหารในเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบ


ผสมผสาน (Mixed Method) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ลูกค้าที่มาใช้บริการร้านอาหารในเขตยาน


นาวา กรุงเทพมหานคร จํานวน 254 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling)


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่


ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และสัมภาษณ์ ผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารในเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร


จํานวน 5 คน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview)


ผลการวิจัย พบว่า ลูกค้าที่มาใช้บริการร้านอาหารในเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่


เป็นเพศหญิง สถานภาพโสด อายุระหว่าง 26-35 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี หรือเทียบเท่า อาชีพ


พนักงานบริษัทเอกชนรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 บาทขึ้นไป ความถี่ในการใช้บริการร้านอาหาร 1-2 ครั้ง


ต่อสัปดาห์ เหตุผลการใช้บริการร้านอาหารเพื่อรับประทานอาหาร ใช้บริการร้านอาหารช่วงวันเสาร์-อาทิตย์


และวันหยุดนักขัตฤกษ์


ความพึงพอใจของลูกค้าในการใช้บริการธุรกิจร้านอาหารในเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร


พบว่า 1) ด้านจุดแข็ง โดยภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นพึงพอใจ คิดเป็นร้อยละ 77.78


และไม่พึงพอใจ คิดเป็นร้อยละ 22.22 2) ด้านจุดอ่อน โดยภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความคิดเห็น


พึงพอใจ คิดเป็นร้อยละ 35.60 และไม่พึงพอใจ คิดเป็นร้อยละ 64.40 3) ด้านโอกาส โดยภาพรวมผู้ตอบ


แบบสอบถามแสดงความคิดเห็นพึงพอใจ คิดเป็นร้อยละ 78.38 และไม่พึงพอใจ คิดเป็นร้อยละ 21.62 และ


4) ด้านอุปสรรค โดยภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นพึงพอใจ คิดเป็นร้อยละ 29.85 และไม่


พึงพอใจ คิดเป็นร้อยละ 70.15


กลยุทธ์การบริหารธุรกิจร้านอาหารในเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร มีกลยุทธ์ดังนี้ 1) กลยุทธ์


เชิงรุก (SO) คือ พัฒนาเมนูอาหารใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์กับคนรุ่นใหม่และจัดบริการสถานที่ไว้สําหรับให้


ถ่ายรูปเพื่อเช็คอินที่ร้านอาหารคู่กับบรรยากาศวิวทิวทัศน์ที่สวยงามริมแม่น้ําเจ้าพระยา 2) กลยุทธ์เชิงรับ


(WT) คือ ให้บริการส่งอาหารถึงบ้านลูกค้าเพื่อแก้ไขปัญหาลูกค้ารอคิวนานและช่วยป้องกันการแพร่ระบาด


ของโรค Covid-19 3) กลยุทธ์แก้ไข (WO) คือ จัดกิจกรรมหรือสถานที่ให้ลูกค้าระหว่างที่รอคิวในการใช้


บริการ เช่น มีโซนทําเล็บ ทําสปา หรือ มีโซนของเด็กเล่น เป็นต้น 4) กลยุทธ์ป้องกัน (ST) คือ ต้องมีการจัด


โปรโมชั่น ส่งเสริมการขาย เพื่อชักชวนลูกค้าให้มาใช้บริการให้มากขึ้น ด้วยสภาวะเศรษฐกิจของไทยที่ตกต่ํา


ลงเนื่องจากมีการแพร่ระบาดของโรค Covid-19

Article Details

บท
บทความวิจัย