รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ : มาร์เก็ต โมเดล

Main Article Content

ดัชนีย์ จะวรรณะ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิด


วิเคราะห์ “มาร์เก็ต โมเดล” โดยมีกรอบแนวคิดในการออกแบบรูปแบบการเรียนการสอนแบบมาร์เก็ต โมเดล


จากแนวคิดทฤษฎีการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ ตามทฤษฎีโมเดลการ


เรียนรู้ 3 P ของ บิ๊กส์ และมัวร์ (Biggs & Moore) ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการฝึกนักศึกษาให้คิดสร้างความรู้ด้วย


ตนเอง (Construction) ของ เพียเจต์ (Jean Piaget) ทฤษฎีการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหา


ความรู้ (Inquiry Method) ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทฤษฎีการจัดการเรียนรู้


ด้วยการแก้ปัญหาโดยใช้รูปแบบ SSCS ของ พิซซินี่ เซฟาสัน และเอเบล (Pizzini, Shepardson & Abell)


ทฤษฎีการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดสร้างสรรค์ (Creative Process) ของ วอลลาส และโคแกน


(Wallach & Kogan) และทฤษฎีการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem - Based Learning) ของ


แอเรนส์ ริชาร์ด (Arends Richard) ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสามารถ


จัดกลุ่มองค์ประกอบออกได้เป็น 2 ด้าน คือ 1) องค์ประกอบด้านวางแผน ได้แก่ หลักการของรูปแบบการเรียน


การสอน จุดมุ่งหมายของรูปแบบการเรียนการสอน ลักษณะเฉพาะของรูปแบบการเรียนการสอน และเงื่อนไข


ของการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอน 2) องค์ประกอบด้านกิจกรรมการเรียนการสอนมี 6 ขั้นตอน ได้แก่


ขั้นสร้างความสนใจ (M-Motivation) ขั้นคิดวิเคราะห์ (A-Analyze) ขั้นสรุปผลการศึกษา (R-Result)


ขั้นแบ่งปันความรู้ (K-Knowledge Sharing) ขั้นประเมิน (E-Evaluation) และขั้นคิดเพื่อสร้างสรรค์ (T-


Thinking to Create) การจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบนี้ มีจุดมุ่งหมายหลัก คือ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการ


พัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้ด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติ ด้วยกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เสริมสร้าง


ทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยครูผู้สอนและผู้เรียนต้องร่วมมือกันในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุผลสำเร็จ


ซึ่งครูผู้สอนมีบทบาทสำคัญในขั้นสร้างความสนใจ ขั้นแบ่งปันความรู้ และขั้นคิดเพื่อสร้างสรรค์ โดยการกระตุ้น


พฤติกรรมของผู้เรียนให้เกิดความรู้สึกสนใจใฝ่รู้ การแสดงออกในการนำเสนองาน กิจกรรม หรือปัญหาของ


ตนเอง และการนำความรู้ที่สร้างขึ้นมานั้นไปใช้ในแบบฉบับของตนเอง สำหรับผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในขั้นคิด


วิเคราะห์ ขั้นสรุปผลการศึกษา และขั้นประเมิน โดยการพัฒนาตนเองให้เกิดพฤติกรรมการศึกษาค้นคว้าและ


เรียนรู้ด้วยตนเอง การอธิบายสิ่งที่ได้รับรู้ภายในกลุ่มของตนเอง ด้วยคำพูดของตนเองหรือเขียนด้วยตนเอง และ


การตรวจสอบและประเมินผลการเรียนรู้ของตนเอง และรับทราบผลการประเมินว่าตนเองมีความรู้อะไรบ้าง


อย่างไร และมากน้อยเพียงใด เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

Article Details

บท
บทความวิจัย