การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตาก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต ในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตาก 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ที่มีต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ จำนวน 80 แห่ง เครื่องมือคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์แปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์สหสัมพันธ์สัมประสิทธิ์ถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการศึกษาเปรียบเทียบ พบว่า ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์โดยรวมของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 5 ด้าน โดยค่าเฉลี่ยของการบริหารใกล้เคียงกันตามลำดับดังนี้ ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ ด้านความปลอดภัยและสุขภาพ ด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ และด้านแรงงานสัมพันธ์ อยู่ในระดับมาก 2 ด้าน คือ ด้านการสรรหาและคัดเลือก ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความคิดเห็นเกี่ยวกับความได้เปรียบทางการแข่งขันของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตที่มีประเภทการผลิตแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความได้เปรียบทางการแข่งขันของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์กับความได้เปรียบทางการแข่งขัน สามารถสรุปได้ว่า การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ด้านความปลอดภัยและสุขภาพ 0.014 ด้านแรงงานสัมพันธ์ 0.017 ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน 0.032 มีผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันโดยรวมของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต และด้านแรงงานสัมพันธ์ 0.001 มีผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน ด้านต้นทุนของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต อีกทั้งด้านค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ 0.025 ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน 0.033 มีผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน ด้านสร้างความแตกต่างของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต และด้านความปลอดภัยและสุขภาพ 0.034 มีผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน ด้านการตอบสนองความต้องการที่รวดเร็วของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of TCI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...
References
ขจรศักดิ์ มรดกคีรี. (2564). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. คณะวิทยาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรแม่สอด.
จุฑามาศ ศรีชมภู. (2565). แนวทางการจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี. สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ณัฐพร ฉายประเสริฐ. (2565). ความปลอดภัยในการทำงาน บรรยากาศการทำงาน และความสมดุล ของชีวิตกับการทำงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร จังหวัดปทุมธานี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(8).
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นภดล ศรีตระกูล และคณะ. (2562). ความยืดหยุ่นของแรงงาน การจัดการกำลังคน การลดต้นทุน การจัดการความเสี่ยง ที่มีผลต่อการบริหารจัดการแรงงานภายนอกในการซ่อมสร้างยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธของกองทัพบก. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 10(1)
พระครูวิลาศกาญจนธรรม และพระสมุห์สิปปภาส อนันต์ยศหงส์ษา. (2565). การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์สู่ความสำเร็จขององค์กรยุคใหม่. วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์ (Journal of MCU Kanchana Review), 2(3), 155.
ริญญาภัทร์ ปยุตวรเศรษฐ์. (2564). กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ในจังหวัดนครนายก. วารสารสมาคมวิจัย, 26(4), 51-53.
วันเพ็ญ วรรณกูล และคณะ (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในโรงงานอุตสาหกรรมบริษัทผลิตและจำหน่ายขนมอบกรอบแห่งหนึ่ง ในนิคมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 3(1).
สรัญช์รัศมิ์ แก้วจุนันท์ และ จักรพงษ์ พงษ์เพ็ง. (2563). ปัจจัยที่ใช้ในการประเมินความยั่งยืนของการก่อสร้างอาคารของผู้รับเหมาที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขัน. วิศวสารลาดกระบัง, 37(4).
ศักดิ์ชาย ศรีมานพ และ ตรีเนตร ตันตระกูล. (2565). แนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุกของธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้าง. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษย์วิทยาเชิงพุทธ, 7(4).