การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกมะแขว่นของกลุ่มสตรีไทยทรงดำ หมู่บ้านท่าช้าง ตำบลคลองน้ำไหล อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

ดารารัตน์ จันทร์อินทร์
เพ็ญศรี ยวงแก้ว
พัตราภรณ์ อารีเอื้อ
ภาวิดา สินสวัสดิ์
ธนาภา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา
พิชิตชัย ใจผ่อง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าน้ำพริกมะแขว่นของกลุ่มสตรีไทยทรงดำ หมู่บ้านท่าช้าง ต.คลองน้ำไหล อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร 2) ตรวจสอบความปลอดภัยของน้ำพริกมะแขว่น 3) พัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายน้ำพริกมะแขว่นรูปแบบออนไลน์ 4) ประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคน้ำพริกมะแขว่น เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี วัตถุประสงค์ที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แหล่งข้อมูลคือ กลุ่มสตรีไทยทรงดำ ที่ทำการผลิตน้ำพริกมะแขว่น 3 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์เนื้อหา วัตถุประสงค์ที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แหล่งข้อมูลคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบการผลิตตามมาตรฐานความปลอดภัยทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 1 คน เครื่องมือวิจัยคือ แบบทดสอบค่าวอเตอร์แอกติวิตี จุลินทรีย์ทั้งหมด ยีสต์และราทั้งหมด วิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาเปรียบเทียบกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรม มผช.321/2556 วัตถุประสงค์ที่ 3 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แหล่งข้อมูลคือ กลุ่มสตรีไทยทรงดำ ที่ทำการผลิตน้ำพริกมะแขว่น 3 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 7 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยคือ การสนทนากลุ่ม ทำการวิเคราะห์เนื้อหา วัตถุประสงค์ที่ 4 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ ผู้บริโภคน้ำพริกมะแขว่นของกลุ่มสตรีไทยทรงดำ ปี 2566 จำนวน 260 คน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคน้ำพริกมะแขว่นของกลุ่มสตรีไทยทรงดำ 40 คน เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า  1) สภาพและปัญหาบรรจุภัณฑ์เดิมเป็นรูปแบบพลาสติกอ่อน แตกง่าย ตราสินค้าไม่มีเอกลักษณ์และรายละเอียดในการติดต่อที่หลากหลาย ความต้องการคือ การเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ที่มีความแข็งแรง มีฝาปิดมิดชิด มีตราสัญลักษณ์ของกลุ่ม และมีช่องทางการติดต่อผ่านทางเพจเฟสบุ๊ค 2) ผลการตรวจสอบความปลอดภัยพบว่าผ่านมาตรฐาน โดยมีจุลินทรีย์ 5.3x103 โคโลนี, มียีสต์และรา 9.0x101 โคโลนี และ Water Activity 0.083@25.O0C  3) การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายได้มีการเพิ่มช่องทางการขายผ่านช่องทางออนไลน์ผ่านเพจ Facebook “น้ำพริก มะแขว่น ชินชินจริงๆ” 4) ความพึงพอใจของผู้บริโภคในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (equation = 4.13) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน ดังนี้ 1) ด้านสินค้าและบริการ (equation =4.20)  2) ด้านราคา (equation = 4.08)  3) ด้านการส่งเสริมการขาย ( = 4.05) และ  4) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (equation = 4.03) ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
จันทร์อินทร์ ด., ยวงแก้ว เ., อารีเอื้อ พ., สินสวัสดิ์ ภ., ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ธ., & ใจผ่อง พ. (2024). การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกมะแขว่นของกลุ่มสตรีไทยทรงดำ หมู่บ้านท่าช้าง ตำบลคลองน้ำไหล อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารการจัดการและการพัฒนาท้องถิ่น, 7(2), 1–16. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMLD/article/view/1219
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Product Development). [Online]. Available: https://www.dip.go.th/th/category/2020-05-26-19-14-36/2020-05-27-16-41-31

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2566). มาตรฐานอุตสาหกรรมเอส การบริการออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์. [Online]. Available: https://www.tisi.go.th/assets/website/pdf/tiss/s238-2566.pdf

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2566). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนน้ำพริกผัด. [Online]. Available: https://tcps.tisi.go.th/pub/tcps321_66(น้ำพริกผัด).pdf

ชลิดา ศรีสุนทร, ดารณี ดวงพรม และ อรรณพ ต.ศรีวงษ์. (2564). แนวทางการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากเกลือสินเธาว์ ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟชบุ๊กของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 5(2), 363-375.

พลอยณัชชา เดชะเศษฐศิริ และ เพ็ญศรี ยวงแก้ว. (2566). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์น้ำพริกเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านตำบลเขาคีริส อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารพิกุล, 21(2), 89-108.

รัชนี ทบประดิษฐ์. (2567). สถิติธุรกิจ. [Online]. Available: http://blog.bru.ac.th/wp-content/uploads/bp-attachments/9485/Chapter-5-การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง.pdf

วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง, กอแก้ว จันทร์กิ่งทอง และ นุษณา ณ พายัพ. (2566). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาดุกปักษ์ใต้จากเศษปลาดุกเหลือใช้ของชุมชนบ้านโงกน้ำ จังหวัดพัทลุง. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 14. (น.1796-1806). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สงขลา.

ศิริรัตนาพร หล้าบัววงศ์ และ จารุณี ภิลุมวงศ์. (2566). “มะแขว่น” เครื่องเทศล้านนา ลำแต๊แต๊ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ. [Online]. Available: https://www.matichonweekly.com/column/article_509219

สกุลรัตน์ แก้วเพิ่มพูล. (2567). การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. [Online]. Available: https://hiperc.sru.ac.th/pluginfile.php/116468/mod_resource/content/1/บทที่%206%20การบรรจุภัณฑ์.pdf

สุชิน สงวนศิลป์. (2567, ตุลาคม 14). ประธานวิสาหกิจชุมชนบ้านท่าช้าง. สัมภาษณ์.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570. [Online]. Available: https://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_DraftFinal.pdf [2566].