รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะภาษาไทยสำหรับนักเรียน
คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการเรียนรู้, ทักษะภาษาไทยของผู้เรียน, ภาษาไทยกับการจัดการเรียนรู้บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะภาษาไทยสำหรับนักเรียน เพื่อวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะภาษาไทย และเพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะภาษาไทยสำหรับนักเรียน ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก In-depth Interview) กับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้อง 8 คน และ วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม 60 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1) การเรียนการสอนภาษาไทยในภาพรวมของ ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นมากขึ้น มีแสดงความคิดเห็น ตั้งคำถาม และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม การอภิปราย กลุ่มบ่อย ๆ ก็เริ่มมั่นใจขึ้น และพอได้เขียนงานกลุ่มหรือแต่งเรื่องสั้นร่วมกัน สามารถพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การเขียน และการสื่อสาร และช่วยสร้างความมั่นใจในการใช้ภาษาไทย
2) ภาพรวมของการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะภาษาไทย อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.54 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.497 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการนำสิ่งที่ควรปรับปรุงมาแก้ไข เป็นด้านที่มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.63 และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.486
3) การเรียนแบบมีส่วนร่วมช่วยให้ได้รับประสบการณ์ที่ไม่ใช่แค่การอ่านและเขียนแบบเดิม ๆ แต่ยังมีการวิเคราะห์และอภิปรายร่วมกับเพื่อน ๆ ทำให้การอ่านและการเขียนมีความหมายมากขึ้น ช่วยให้ฝึกใช้เหตุผลในการพูดและการตอบสนอง รวมถึงการคิดวิเคราะห์เนื้อหาอย่างลึกซึ้ง สามารถ เรียนรู้การฟังความคิดเห็นของเพื่อน ๆ และเรียนรู้การปรับตัวให้เหมาะสมกับคนในทีม
References
กระทรวงศึกษาธิการ (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การรับส่งสินค้าและพัสดุครุภัณฑ์ (ร. ส. พ.).
เกวลิน งามพิริยกร และสิทธิกร สุมาลี (2564). “การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน”. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน มจร. 9(3).
ขวัญนภา สุขคร (2554). ความหมายของการวิจัย. ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์ลำปาง.
คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้ (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สำนักคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
พระธรรมปิฎก (2541). การศึกษากับการพัฒนาอย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (2547). ธรรมกับไทยในสถานการณ์ปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: เฟื่องฟ้าการพิมพ์.
รัตนะ บัวสนธิ์ (2552). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คําสมัย.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2546). ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
อนุตรศักดิ์ วิชัยรัตน์ สำราญ กำจัดภัย และจินดา ลาโพธิ์ (2567). “รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแนวคิดสมดุลภาษา”. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 18(2).
อรทัย มูลคำ และสุวิทย์ มูลคำ (2544). การบรูณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.
อรอนุตร ธรรมจักร (2565). “การพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ด้วยวิธีการสะท้อนคิดจากการปฏิบัติการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการสอนภาษาไทยของนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูม”. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 7(2).
อาณัติ วงศ์โกสิตกุล (2536). “การเปรียบเทียบระบบเสียงภาษาไทยกับภาษาอังกฤษเพื่อการสอนภาษาไทย แก่ชาวต่างประเทศ”. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 12(1).
Tosi, H.L. and Carroll, S.J (1982). Management. New York: John Wiley & Sons.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสาร นวพุทธศาสตร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.