https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS/issue/feed
วารสาร นวพุทธศาสตร์
2025-06-30T02:27:37+07:00
พระมหาณรงค์ศักดิ์ สุทนฺโต, ดร.
narongsag@gmail.com
Open Journal Systems
<p><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร:</strong></p> <p><strong>เลขมาตรฐานสากล: </strong><strong>ISSN : 3057 – 0875 (Online)</strong></p> <p>วารสาร นวพุทธศาสตร์ (Journal of Modern Buddhist Studies) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ บทความวิจารณ์หนังสือ และบทความในสาขาที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้ สาขาศาสนาและเทววิทยา สาขาพระพุทธศาสนา สาขาปรัชญา สาขาศิลปศาสตร์ และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 3 ท่าน เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ<br /><strong>กำหนดการเผยแพร่ </strong> <br /><strong>เผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ ดังนี้ </strong> <br />ฉบับที่ 1: มกราคม – มิถุนายน <br />ฉบับที่ 2: กรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p><strong>ประเภทของผลงานที่รับตีพิมพ์ ได้แก่ </strong>บทความวิชาการ (Academic Article) บทความวิจัย (Research Article) บทความวิจารณ์หนังสือ (Book Review) บทความอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวารสาร<br /><strong>หมายเหตุ:</strong> ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์</p> <p><strong>การพิจารณาและคัดเลือกบทความ<br /></strong> บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) จำนวนไม่น้อยกว่า 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double - Blind Peer Review)<br /> บทความที่ส่งมาตีพิมพ์ในวารสาร นวพุทธศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น ๆ ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่วารสารกำหนด</p> <p><strong>ข้อสงวนสิทธิ์<br /></strong> ทัศนะและความคิดเห็นในบทความวารสาร นวพุทธศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความแต่ละท่านไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร</p>
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS/article/view/2042
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะภาษาไทยสำหรับนักเรียน
2025-06-03T18:20:49+07:00
สงคราม จันทร์ทาคีรี
mbu.songkhram@gmail.com
พระรัตนมุนี (ปุณณมี วิสารโท)
mcu.songkhram@gmail.com
บรรพต ต้นธีรวงศ์
mcu.songkhram@gmail.com
เอกลักษณ์ เทพวิจิตร
mcu.songkhram@gmail.com
กิตติศักดิ์ ณ สงขลา
akekalak.tap@mcu.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะภาษาไทยสำหรับนักเรียน เพื่อวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะภาษาไทย และเพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะภาษาไทยสำหรับนักเรียน ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก In-depth Interview) กับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้อง 8 คน และ วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม 60 คน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1) การเรียนการสอนภาษาไทยในภาพรวมของ ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นมากขึ้น มีแสดงความคิดเห็น ตั้งคำถาม และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม การอภิปราย กลุ่มบ่อย ๆ ก็เริ่มมั่นใจขึ้น และพอได้เขียนงานกลุ่มหรือแต่งเรื่องสั้นร่วมกัน สามารถพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การเขียน และการสื่อสาร และช่วยสร้างความมั่นใจในการใช้ภาษาไทย</p> <p> 2) ภาพรวมของการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะภาษาไทย อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.54 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.497 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการนำสิ่งที่ควรปรับปรุงมาแก้ไข เป็นด้านที่มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.63 และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.486</p> <p> 3) การเรียนแบบมีส่วนร่วมช่วยให้ได้รับประสบการณ์ที่ไม่ใช่แค่การอ่านและเขียนแบบเดิม ๆ แต่ยังมีการวิเคราะห์และอภิปรายร่วมกับเพื่อน ๆ ทำให้การอ่านและการเขียนมีความหมายมากขึ้น ช่วยให้ฝึกใช้เหตุผลในการพูดและการตอบสนอง รวมถึงการคิดวิเคราะห์เนื้อหาอย่างลึกซึ้ง สามารถ เรียนรู้การฟังความคิดเห็นของเพื่อน ๆ และเรียนรู้การปรับตัวให้เหมาะสมกับคนในทีม</p>
2025-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสาร นวพุทธศาสตร์
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS/article/view/2148
วิเคราะห์ศูนย์การเรียนรู้พุทธศิลป์เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เชียงรายเมืองศิลปะ
2025-05-28T22:20:38+07:00
พระครูปริยัติกาญจนกิจ (สุวัฒน์) สุวฑฺฒโน
kanjana.cholasiri@gmail.com
พระครูวินัยธรณรงวิทย์ สิทฺธิเมธี (ทองหยู่)
Watphrasittichai1@gmail.com
พระพัฒนวัชร์ ญาณสิริ (พูลสวัสดิ์)
pphattanawachr@gmail.com
พระครูสันตยาภิรัต
kanjana.cholasiri@gmail.com
Phra Vajirapanyaporn
kanjana.cholasiri@gmail.com
<p>การวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์ศูนย์การเรียนรู้พุทธศิลป์เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เชียงรายเมืองศิลปะ” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบริบทและบทบาทของศูนย์การเรียนรู้พุทธศิลป์ในจังหวัดเชียงราย (2) วิเคราะห์แนวทางการจัดการเรียนรู้พุทธศิลป์ที่ส่งเสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่น และ (3) สังเคราะห์แนวทางการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้พุทธศิลป์ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ “เชียงรายเมืองศิลปะ” โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งเชิงคุณภาพผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มสนทนา และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ร่วมกับการวิเคราะห์เนื้อหาและเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า 1) ศูนย์การเรียนรู้พุทธศิลป์ในจังหวัดเชียงรายมีบทบาทสำคัญในฐานะแหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านพุทธศิลป์และวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยมีลักษณะการดำเนินงานแบบร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน ชุมชน และครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งผลต่อการเรียนรู้ การอนุรักษ์ และการสร้างแรงบันดาลใจเชิงสร้างสรรค์แก่เยาวชน 2) แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่นคือการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ทั้งผ่านศิลปะล้านนา พุทธจิตรกรรม การปั้น การแกะไม้ และเทคโนโลยีร่วมสมัย เช่น virtual exhibition และสื่อดิจิทัล ซึ่งส่งเสริมทั้งทักษะและจิตวิญญาณของผู้เรียน 3) แนวทางการพัฒนาในอนาคตควรเน้นให้ศูนย์เป็นกลไกเชิงรุกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เมืองศิลปะ โดยเชื่อมโยงกับภาคีเครือข่ายในระดับท้องถิ่นและสากล ควรมีระบบบริหารจัดการภายในที่คล่องตัว การพัฒนาครูภูมิปัญญาให้ทันสมัย การสร้างเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่เด่นด้านศิลปะ การใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ และการประชาสัมพันธ์ต่อเนื่องเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งนี้ ศูนย์การเรียนรู้พุทธศิลป์จึงเป็นฐานรากสำคัญในการหล่อหลอมศิลปะ วัฒนธรรม และจิตวิญญาณของท้องถิ่นให้เจริญงอกงาม</p>
2025-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสาร นวพุทธศาสตร์
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS/article/view/1656
รูปแบบกระบวนการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุตามแนวคิดพุทธบูรณาการ
2025-02-19T21:16:08+07:00
พระมหาทวีบูรณ์ ปญฺญาทีโป (ปัญญานี)
tanabut.aom555@gmail.com
พระมหาวชิรวิชญ์ วชิรเมธี (คามพินิจ)
Wachirawich@gmail.com
พระมหาวีรภัทร วีรภทฺโท (เที่ยงแท้)
Weerapathoop@gmail.com
พระจิรภัทร อธิปญฺโญ (ชูเล็ก)
Jirapatdodo2544@gmail.com
กิตติ เบญญาบวรกิตติ์
kittimatee11@gmail.com
<p>การเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุตามแนวคิดพุทธบูรณาการเป็นกระบวนการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่ผสานหลักธรรมในพระพุทธศาสนากับการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในทุกมิติ ได้แก่ มิติทางร่างกาย จิตใจ ปัญญา และสังคม โดยใช้กระบวนการฝึกสมาธิ การเจริญสติ และกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาสุขภาพกาย การเสริมสร้างจิตใจที่สงบผ่านการวิปัสสนาและเมตตาภาวนา รวมถึงการสร้างปัญญาโดยการศึกษาอริยสัจ 4 ไตรลักษณ์ และอิทธิบาท 4 เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติของชีวิต การเรียนรู้ยังสนับสนุนการมีส่วนร่วมในสังคมผ่านการถ่ายทอดภูมิปัญญาและการทำงานอาสาสมัคร โดยกระบวนการเรียนรู้ถูกออกแบบให้เกิดขึ้นผ่านกิจกรรมกลุ่ม การปฏิบัติจริง และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในชุมชน ทำให้ผู้สูงอายุสามารถยอมรับและปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงในชีวิต มีสุขภาพกายและจิตที่ดี และดำรงชีวิตอย่างสงบสุข แนวคิดพุทธบูรณาการจึงสามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ สร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัว ชุมชน และสังคมในภาพรวม เป็นแนวทางที่ตอบสนองความต้องการของสังคมสูงวัยในยุคปัจจุบัน</p>
2025-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสาร นวพุทธศาสตร์
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS/article/view/1657
โครงการรัตนโมเดล : การพัฒนาชุมชนด้วยวิถีพุทธ
2025-02-26T12:33:43+07:00
พระมหาสมัย สมโย (ไกรประโคน)
watpra.samayo001@gmail.com
พระครูโสภณปฐมาภรณ์ (ทวี สิรินฺธโร)
watpra.samayo001@gmail.com
<p>บทความนี้ศึกษาการพัฒนาชุมชนด้วยวิถีพุทธโดยเฉพาะผ่านการประยุกต์ใช้ รัตนโมเดล อันเป็นแนวทางที่ใช้ “ไตรสรณคมน์” หรือ “รัตนะทั้งสาม” ได้แก่ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ มาเป็นกลไกในการขับเคลื่อนชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมั่นคงในคุณธรรม โดยมี วัดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และ พระสงฆ์ เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณและวัฒนธรรมในการเชื่อมระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน และชุมชน (บวร). พุทธรัตนะทำหน้าที่เป็นต้นแบบแห่งความดี ธรรมรัตนะเป็นหลักในการส่งเสริมศีลธรรมและเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนสังฆรัตนะคือพลังการรวมกลุ่มและการประสานความร่วมมือในสังคม. กิจกรรมต่าง ๆ เช่น การฝึกสมาธิ การอบรมคุณธรรม การอนุรักษ์วัฒนธรรม และการใช้เทคโนโลยีเผยแผ่ธรรมะออนไลน์ เป็นการแปลงหลักธรรมให้เข้ากับบริบทยุคดิจิทัล ทำให้เยาวชนสามารถเข้าถึงธรรมะและมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน. ผลการศึกษาพบว่า รัตนโมเดล ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความสมานฉันท์ และเสริมสร้างจิตสำนึกทางศีลธรรมในระดับบุคคล ครอบครัว และสังคม ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างวิถีพุทธทั่วไปกับรัตนโมเดล คือ รัตนโมเดลเป็นแนวปฏิบัติเชิงโครงสร้างที่ใช้ “พุทธ ธรรม สังฆะ” อย่างเป็นระบบในการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน ไม่ใช่เพียงการใช้หลักธรรมโดยทั่วไป แต่เป็นการออกแบบเชิงกลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง</p>
2025-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสาร นวพุทธศาสตร์
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS/article/view/1939
พุทธศิลป์ยุคทวารวดี: การเผยแผ่ศิลปะและหลักธรรมในพระพุทธศาสนา
2025-05-16T19:30:54+07:00
พระจิรภัทร อธิปญฺโญ (ชูเล็ก)
jirapatdodo2544@gmail.com
<p>บทความนี้ศึกษาความหมายเกี่ยวกับพุทธศิลป์ในยุคทวารวดีรวมถึงการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทย พุทธศิลป์ยุคทวารวดีมีความเชื่อมโยงระหว่างศิลปะ วัฒนธรรม และหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา แสดงถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนาและบทบาทสำคัญในสังคมไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-16 อิทธิพลจากอินเดียผ่านศิลปกรรม ได้แก่ พระพุทธรูป ธรรมจักร สถูป และเจดีย์ เป็นเครื่องมือเผยแผ่คำสอนทางธรรมและสร้างเอกลักษณ์ให้เป็นพุทธศิลป์ ในยุคนั้นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเริ่มต้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช โดยมีสมณทูต พระโสณะและพระอุตตระ เดินทางมายังสุวรรณภูมิ ส่งผลให้เกิดศูนย์กลางทางศาสนาในภาคกลาง พระปฐมเจดีย์ ในจังหวัดนครปฐม การอพยพของชาวอินเดียเพื่อมาเผยแผ่ศาสนา รวมถึงการค้าขายส่งเสริมความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมในดินแดนไทย บทบาทของพุทธศิลป์จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งธรรม แสดงถึงหลักธรรมและความมุ่งหมายสู่พระนิพพาน พุทธศิลป์ทวารวดีจึงเป็นมรดกสำคัญที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมไทยจนถึงปัจจุบัน</p>
2025-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสาร นวพุทธศาสตร์
https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS/article/view/2106
การวิเคราะห์อตักกาวจรธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้
2025-05-18T17:26:33+07:00
พระมหาไวทย์ชนินทร์ อาวุธปญฺโญ (มีสุวรรณ)
waichanin007@gmail.com
มนตรี สิระโรจนานันท์
montree.s@arts.tu.ac.th
<p>การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเป็นเหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่การเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ภายหลังการตรัสรู้ พระพุทธองค์ทรงพิจารณาถึงธรรมที่ได้บรรลุ โดยเฉพาะอริยสัจสี่และปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นหลักธรรมที่อธิบายถึงกระบวนการเกิดและดับของทุกข์ แม้ว่าธรรมะดังกล่าวจะลึกซึ้งและยากแก่การเข้าใจ แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ พระพุทธองค์ทรงตัดสินพระทัยเผยแผ่คำสอนเหล่านี้แก่ผู้มีปัญญาที่สามารถเข้าใจและเข้าถึงได้ ปฏิจจสมุปบาทและนิพพานถือเป็นอตักกาวจรธรรม กล่าวคือ ไม่สามารถเข้าใจได้ด้วยตรรกะและการคิดตามสามัญสำนึกทั่วไป แต่ต้องอาศัยปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติสมาธิและวิปัสสนาเพื่อเข้าถึง พระพุทธองค์ทรงเน้นย้ำว่าการเข้าใจธรรมะเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องของการคิดคำนวณ แต่เป็นการพิจารณาผ่านญาณทัศนะ อย่างไรก็ตาม ปฏิจจสมุปบาทยังสามารถนำมาพิจารณาในชีวิตประจำวันเพื่อช่วยลดทิฏฐิและอุปาทานได้ บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์ธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้โดยอาศัยหลักไวยากรณ์บาลีและทฤษฎีญาณวิทยา โดยชี้ให้เห็นว่าคำว่า “ธรรม” ที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงนั้นมีความหมายกว้างขวาง ครอบคลุมถึงทั้งปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน การศึกษาธรรมะเช่นนี้จึงช่วยให้เข้าใจความหมายอันลึกซึ้งของพุทธพจน์ได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์</p>
2025-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสาร นวพุทธศาสตร์