วารสาร นวพุทธศาสตร์ https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS <p><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร:</strong></p> <p><strong>เลขมาตรฐานสากล: </strong> <strong>ISSN : 3057 – 0875 (Online) </strong></p> <p>วารสาร นวพุทธศาสตร์ (Journal of Modern Buddhist Studies) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ บทความวิจารณ์หนังสือ และบทความในสาขาที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้ สาขาศาสนาและเทววิทยา สาขาพระพุทธศาสนา สาขาปรัชญา สาขาศิลปศาสตร์ และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 3 ท่าน เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ </strong></p> <p> ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน</p> <p> ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p><strong>ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร:</strong></p> <p> 1) บทความวิชาการ (Academic Article)</p> <p> 2) บทความวิจัย (Research Article)</p> <p> 3) บทความวิจารณ์หนังสือ (Book Review)</p> <p> 4) บทความอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวารสาร</p> <p><strong><em>*</em><em class="t55VCb">ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์</em>*<br /><br />การพิจารณาและคัดเลือกบทความ:</strong></p> <p>บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) จำนวนไม่น้อยกว่า 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double - Blind Peer Review)</p> <p>บทความที่ส่งมาตีพิมพ์ในวารสาร นวพุทธศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น ๆ ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่วารสารกำหนด</p> <p>ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสาร นวพุทธศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร</p> สํานักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแห่งที่ 1 วัดพยัคฆาราม th-TH วารสาร นวพุทธศาสตร์ 3057-0875 แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในการถ่ายทอดคลังปัญญาของประชาชน https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS/article/view/1323 <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาลักษณะการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในการถ่ายทอดคลังปัญญาของประชาชน 2) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในการถ่ายทอดคลังปัญญาของประชาชน 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในการถ่ายทอดคลังปัญญาของประชาชน คณะผู้วิจัยได้กำหนดใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodology Research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการคัดเลือกผู้สูงอายุจังหวัดเชียงราย 55 คน และ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญผู้เกี่ยวข้องกับงานวิจัย 22 คน </span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">ผลการวิจัยพบว่า </span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">1) การศึกษาลักษณะการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในการถ่ายทอดคลังปัญญาของประชาชนผลการวิจัย พบว่า ลักษณะการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในการถ่ายทอดคลังปัญญาของประชาชน เป็นลักษณะการถ่ายทอดที่เน้นการตระหนักและเห็นความสำคัญของการถ่ายทอดเพื่อเป็นการสืบทอดคลังปัญญาแก่คนรุ่นหลังสู่คนรุ่นหลัง </span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">2) การวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในการถ่ายทอดคลังปัญญาของประชาชน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มผู้สูงอายุได้ให้ในหัวข้อเกี่ยวกับ ความสำคัญของการถ่ายทอดคลังปัญญา ในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.50 และเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53 </span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในการถ่ายทอดคลังปัญญาของประชาชนผลการวิจัย พบว่า การนำเสนอในเรื่องของการถอดบทเรียนของผู้สูงอายุมีการเตรียมความพร้อมในการถ่ายทอดของผู้ถ่ายทอด โดยให้ให้ความรู้และอธิบายในเรื่องประวัติความเป็นมา วัสดุ อุปกรณ์ คติความเชื่อ ประโยชน์ใช้สอยและคุณค่าของคลังปัญญาท้องถิ่น</span></span></p> สงคราม จันทร์ทาคีรี รสนันท์ มานะสุข ฐิญาภัณณ์ วงษา อำนาจ สาเขตร์ Copyright (c) 2024 วารสาร นวพุทธศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-30 2024-12-30 3 2 1 16 การวิเคราะห์กระบวนการสร้างความสำเร็จในชีวิตตามหลักอธิษฐานธรรม https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS/article/view/1329 <p class="5175" style="margin-top: 0cm;"><span lang="TH" style="font-size: 14.0pt;">งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักอธิษฐานธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาสร้างความสำเร็จในชีวิตของบุคคล และเพื่อวิเคราะห์ความสำคัญของกระบวนการสร้างความสำเร็จในชีวิตของบุคคลตามหลักอธิษฐานธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท เพื่อนำเสนอกระบวนการสร้างความสำเร็จในชีวิตตามหลักอธิษฐานธรรมดังนี้ ผลการวิจัยพบว่า</span></p> <p class="5175" style="margin-top: 0cm;"><span lang="TH" style="font-size: 14.0pt;">1) การศึกษาหลักอธิษฐานธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาสร้างความสำเร็จในชีวิตของบุคคล พบว่า ความสำเร็จในชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย หลักความเจริญ ปฏิบัติตามหลักธรรมที่จะนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง</span><span style="font-size: 14.0pt;">, <span lang="TH">หลักความสำเร็จ ปฏิบัติตามหลักธรรม ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จแห่งกิจการนั้นๆ ประกอบด้วย 1) ด้านปัญญาธรรม เป็นความคิดเห็นตามความจริง 2) ด้านสัจธรรม เป็นสิ่งสำคัญต่อมนุษย์ 3) ด้านจาคะธรรม การสินตัดใจ หรือตัดกรรมสิทธิ์ของตน 4) ด้านอุปสมธรรม ฐานความมั่นคงให้ประสบผลสำเร็จของชีวิต สามารถดำเนินชีวิตของตนเองให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมาย</span></span></p> <p class="5175" style="margin-top: 0cm;"><span lang="TH" style="font-size: 14.0pt;">2) การวิเคราะห์ความสำคัญของกระบวนการสร้างความสำเร็จในชีวิตของบุคคลตามหลักอธิษฐานธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา พบว่า 1) กระบวนการด้านปัญญา 4 องค์ประกอบ คือ ปัญญาพัฒนาศักยภาพที่จะมีความสุข ยึดหลักทางสายกลางในการแก้ไขปัญหาด้วยหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา 2) กระบวนการด้านสัจจะ โดยเน้นการพูดพอประมาณ พูดถูกกาล เพราะพูดถูกกาลอันควร คือพูดตามกำหนดกาลที่ควรพูด 3) กระบวนการด้านจาคะ การแก้ปัญหาในแบบองค์รวม และเสียสละเพื่อส่วนรวม และ 4) กระบวนการด้านอุปสมะ เป็นการประยุกต์ใช้กระบวนธรรมประกอบด้วย ฆราวาสธรรม 4 สังคหวัตถุ 4 อิทธิบาท 4 และธรรมจักร 4 มาใช้ในการข่มจิตข่มใจ การรู้จักระงับอารมณ์เมื่อมีความไม่พอใจเกิดขึ้น</span></p> วีรพงศ์ พิชัยเสนาณรงค์ สมชาย มะรินทร์ จักรพันธ์ นะวะแก้ว Copyright (c) 2024 วารสาร นวพุทธศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-30 2024-12-30 3 2 17 31 มรดกพุทธศิลป์ทวารวดี: การแสดงออกทางศิลปะและวัฒนธรรมในยุคโบราณ https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS/article/view/1338 <p>บทความนี้ศึกษาความหมายคำว่า “ทวารวดี” ซึ่งมีรากศัพท์จากภาษาสันสกฤต “ทวารกะ” หมายถึง “ปากประตู” หรือ “ทางเข้า” เชื่อมโยงกับตำนานเมืองศักดิ์สิทธิ์ที่พระกฤษณะทรงสร้างขึ้นในแคว้นคุชราต คำนี้ถูกนำมาใช้โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในการกำหนดอายุโบราณวัตถุและโบราณสถานสมัยศิลปะคุปตะ หลังคุปตะ และปาละ-เสนะ นอกจากนี้ยังวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงพุทธศตวรรษที่ 6-9 ชุมชนในลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำเลยมีการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าต่างชาติ ส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมผ่านเส้นทางคมนาคมโบราณ หลักฐานสำคัญที่แสดงถึงการแลกเปลี่ยนนี้ ได้แก่ ลูกปัด เครื่องถ้วย และใบเสมาหินแบบทวารวดีที่มีความเชื่อมโยงกับศิลปกรรมในภูมิภาค นักวิชาการสันนิษฐานว่าใบเสมาหินนอกจากแสดงขอบเขตทางศาสนา มีคติความเชื่อทางศาสนาและการทำบุญ ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของพระพุทธศาสนาเถรวาทและมหายาน รวมถึงลัทธิพราหมณ์ในสมัยนั้น สะท้อนผ่านโบราณวัตถุที่ค้นพบ การผสมผสานทางวัฒนธรรมนี้จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างอัตลักษณ์และมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน</p> ศตวรรษ ชายทวีป Copyright (c) 2024 วารสาร นวพุทธศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-30 2024-12-30 3 2 32 45 สถูปเจดีย์สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS/article/view/1335 <p>บทความนี้ศึกษาสถูปเจดีย์ในพระพุทธศาสนาเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนาและวัฒนธรรมที่สะท้อนความศรัทธาและคติความเชื่อสืบทอดมาแต่โบราณ ในสมัยสุโขทัย คำว่า “สถูป” และ “เจดีย์” ถูกใช้ควบคู่กัน หมายถึงสิ่งก่อสร้างที่บรรจุอัฐิธาตุของบุคคลสำคัญ พระเจ้ายอดเชียงรายทรงสร้างสถูปเพื่อบรรจุพระอัฐิของพระเจ้าติโลกราช ในอินเดีย สถูปเริ่มต้นจากเนินดินบรรจุอัฐิธาตุ พัฒนาเป็นศาสนสถานสำคัญ ท่านสร้างมหาสถูปแห่งนาลันทา พระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งเสริมการสร้างสถูปเพื่อเป็นพุทธบูชา ทรงสร้างสถูปสาญจีและศิลาบัลลังก์ต่าง ๆ การแพร่ขยายของพระพุทธศาสนาทำให้รูปแบบสถูปได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดีย ศรีลังกา และพม่า จนกลายเป็นศิลปะเฉพาะถิ่นในไทยตั้งแต่ยุคทวารวดี สุโขทัย อยุธยา ถึงรัตนโกสินทร์ เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์และศิลปกรรมที่ทรงคุณค่า ช่วยเปิดเผยประวัติศาสตร์วัฒนธรรมไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการผสมผสานศิลปะและคติความเชื่ออันหลากหลาย</p> วรท ฤทธิ์มะหันต์ Copyright (c) 2024 วารสาร นวพุทธศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-30 2024-12-30 3 2 46 55 โอปปาติกะตามภพภูมิในคัมภีร์พระพุทธศาสนา https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS/article/view/1328 <p>บทความนี้ศึกษาความหมายและบทบาทของโอปปาติกะในพระพุทธศาสนา หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นโดยไม่ผ่านกระบวนการธรรมชาติ แต่ปรากฏตัวอย่างสมบูรณ์ทันทีตามผลกรรมที่ได้กระทำไว้ โอปปาติกะสะท้อนถึงหลักธรรมเรื่องกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด มีบทบาทสำคัญในการอธิบายชีวิตหลังความตายตามคติทางพระพุทธศาสนา ประเภทของโอปปาติกะในคัมภีร์พระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามผลกรรมและสถานะทางจิตวิญญาณ ได้แก่ มนุษย์ต้นกัปที่สูญเสียสภาพทิพย์เพราะกินง้วนดิน สัตว์นรกที่รับโทษจากบาปกรรม เปรตและอสุรกายที่ทนทุกข์จากความอดอยาก เทวดาและพรหมที่เสวยสุขในสวรรค์จากบุญกุศล แต่ยังคงอยู่ในวัฏจักรการเกิดใหม่ ตลอดจนมาร ยักษ์ คนธรรพ์ นาค และครุฑที่มีบทบาทหลากหลายในโลกทิพย์</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เนื้อหาในพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎกแสดงให้เห็นบทบาทของโอปปาติกะในการสนทนาธรรม การปกป้องพระพุทธศาสนา และการรับรู้ผลกรรมของมนุษย์ ช่วยตอกย้ำความเชื่อเรื่องผลของการกระทำที่สะท้อนถึงหลักกรรมในพระพุทธศาสนา การศึกษาโอปปาติกะจึงให้มนุษย์ตระหนักถึงผลกรรม ยึดมั่นในศีลธรรม และปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาจิตใจให้หลุดพ้นจากวัฏจักรแห่งการเวียนว่ายตายเกิด อันเป็นแนวทางสู่การบรรลุพระนิพพานในที่สุด</p> พระมหาวีรภัทร วีรภทฺโท Copyright (c) 2024 วารสาร นวพุทธศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-31 2024-12-31 3 2 56 65 รูปแบบผู้นำสตรีในองค์กรเชิงพุทธ https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS/article/view/1327 <p>บทความนี้ศึกษาบทบาทของสตรีในองค์กรเชิงพุทธมีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในยุคปัจจุบัน ทั้งในด้านการเผยแผ่ธรรมะ การบริหารจัดการองค์กร และการสนับสนุนกิจกรรมทางศาสนา โดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนา ช่วยสร้างจริยธรรมในการบริหาร ผู้นำสตรีในองค์กรพุทธต้องพัฒนาทักษะการสื่อสาร วางแผนเชิงกลยุทธ์ และสร้างเครือข่าย เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม ภาวะผู้นำสตรีแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของปัจจัยส่วนบุคคล การเป็นแบบอย่างที่ดี คุณลักษณะที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้ประสบความสำเร็จ ผู้นำสตรีในองค์กรพุทธจึงต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี โดยอาศัยการพัฒนาเชิงวิชาการและการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการบริหารงาน</p> ศุภกริช สามารถกุล Copyright (c) 2024 วารสาร นวพุทธศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-31 2024-12-31 3 2 67 76