พุทธศิลป์ยุคทวารวดี: การเผยแผ่ศิลปะและหลักธรรมในพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • พระจิรภัทร อธิปญฺโญ (ชูเล็ก) วัดไร่ขิง พระอารามหลวง จังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

พุทธศิลป์, ทวารวดี, หลักธรรม, ศิลปะและวัฒนธรรม, การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาความหมายเกี่ยวกับพุทธศิลป์ในยุคทวารวดีรวมถึงการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทย พุทธศิลป์ยุคทวารวดีมีความเชื่อมโยงระหว่างศิลปะ วัฒนธรรม และหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา แสดงถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนาและบทบาทสำคัญในสังคมไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-16 อิทธิพลจากอินเดียผ่านศิลปกรรม ได้แก่ พระพุทธรูป ธรรมจักร สถูป และเจดีย์ เป็นเครื่องมือเผยแผ่คำสอนทางธรรมและสร้างเอกลักษณ์ให้เป็นพุทธศิลป์ ในยุคนั้นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเริ่มต้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช โดยมีสมณทูต พระโสณะและพระอุตตระ เดินทางมายังสุวรรณภูมิ ส่งผลให้เกิดศูนย์กลางทางศาสนาในภาคกลาง พระปฐมเจดีย์ ในจังหวัดนครปฐม การอพยพของชาวอินเดียเพื่อมาเผยแผ่ศาสนา รวมถึงการค้าขายส่งเสริมความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมในดินแดนไทย บทบาทของพุทธศิลป์จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งธรรม แสดงถึงหลักธรรมและความมุ่งหมายสู่พระนิพพาน พุทธศิลป์ทวารวดีจึงเป็นมรดกสำคัญที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมไทยจนถึงปัจจุบัน

References

สมบูรณ์ คำดี (2549). การศึกษาปรัชญาในงานพุทธศิลป์เพื่อเป็นแนวทางออกแบบตกแต่งภายในพิพิธภัณฑ์. วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบภายใน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปรีชา กาญจนาคม (2556). โบราณคดีเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง (2568). ศิลปวัฒนธรรมทวารวดี. สืบค้น 7 มกราคม 2568 จาก https://www.silpa-mag.com/culture/article_36408

สิริวัฒน์ คำวันสา (2534). ประวัติพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุภัทรดิศ ดิศกุล (2538) ศิลปะในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล (2553). ทรงนิพนธ์พระปฐมเจดีย์ (ฉบับแก้ไขใหม่). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

เมธาวี ธรรมชัย (2561). การสืบทอดและการสร้างงานช่างพุทธศิลป์ล้านนา: กรณีศึกษางานช่างฝีมือพระเบญจิมิน สุตา จากงานพุทธศิลป์วัดหาดนาค ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สิริวัฒน์ คำวันสา (2534). ประวัติพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมภพ โชติปญฺโญ (2546). ธรรมบรรยาย วิสาขะรำลึก ธรรมิกถาก่อนฟ้าสนธยา. 12 พ.ค. 2546. [ซีดี-รอม], สกลนคร: วัดนิพเพธพลาราม. แผ่นที่ 1. (เวลาที่ 23.51 - 25.31).

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) (2542). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยวาหระลาล เนห์รู แปลโดย กรุณา กุศลาสัย (2537). พบถิ่นอินเดียน้อย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศยาม บริษัทเคล็ดไทยจำกัด.

วิเชียร ชาบุตรบุณฑริก (2535). พุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

นาวาตรีสมพงษ์ สันติสุขวันต์ (2550). การศึกษาวิเคราะห์ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในสมัยทวารวดี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-30

How to Cite

อธิปญฺโญ (ชูเล็ก) พ. . (2025). พุทธศิลป์ยุคทวารวดี: การเผยแผ่ศิลปะและหลักธรรมในพระพุทธศาสนา. วารสาร นวพุทธศาสตร์, 4(1), 55–65. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS/article/view/1939