แนวทางสำหรับการแก้ปัญหาพฤติกรรมเด็กติดเกมออนไลน์ด้วยหลักไตรสิกขา

ผู้แต่ง

  • SONG VOEUNG วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ส่งเสริม แสงทอง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • รัตกร แสงสุด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เด็กติดเกมออนไลน์, หลักไตรสิกขา, ไตรสิกขากับเกมออนไลน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “แนวทางสำหรับการแก้ปัญหาพฤติกรรมเด็กติดเกมออนไลน์ ด้วยหลักไตรสิกขา” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทเกี่ยวกับสภาพปัญหาพฤติกรรมเด็กติดเกมออนไลน์ เพื่อศึกษาวิธีการนำหลักไตรสิกขามาใช้ในการแก้ปัญหาพฤติกรรมเด็กติดเกมออนไลน์ และเพื่อเสนอรูปแบบการแก้ปัญหาพฤติกรรมเด็กติดเกมออนไลน์ ด้วยหลักไตรสิกขา เป็นวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก(In-depth Interview) และ สนทนากลุ่ม (Focus Group) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) โดยวิธีใช้การคัดเลือกแบบเจาะจงผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องจำนวน 26 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า 1.การศึกษาบริบทเกี่ยวกับสภาพปัญหาพฤติกรรมเด็กติดเกมออนไลน์ พบว่า ลักษณะพฤติกรรมเด็กที่ติดเกมออนไลน์มักจะมีพฤติกรรมที่แสดงถึงความหมกมุ่น เช่น ใช้เวลาเล่นเกมเป็นเวลานาน, มักละเลยการบ้านหรือการเรียน, และมีปัญหาในการเข้าสังคม เด็กบางคนรู้สึกเบื่อกับการเรียนหรือชีวิตประจำวัน จึงหันมาเล่นเกมเพื่อหาความสนุกการได้รับอิทธิพลจากเพื่อนที่เล่นเกมด้วยกันบางคนใช้เกมเป็นที่พึ่งเมื่อมีปัญหาในครอบครัว 2.การศึกษาวิธีการนำหลักไตรสิกขามาใช้ในการแก้ปัญหาพฤติกรรมเด็กติดเกมออนไลน์ พบว่า 1)กิจกรรมฝึกพฤติกรรม (ศีล) ช่วยสร้างวินัยรับผิดชอบพร้อมรู้จักหน้าที่ ไม่ใช้เวลาหมดไปกับการเล่นเกม 2) กิจกรรมฝึกจิต (สมาธิ) สามารถรับรู้และ มีความกระตือรือร้นในการเรียน และ 3) กิจกรรมฝึกความคิดความอ่าน (ปัญญา) นักเรียนรู้จักการวางแผน สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ จัดการเวลาและกิจกรรมอย่างเมาะสมในการพัฒนาทักษะทางอารมณ์รู้จักการพัฒนาตนเองและปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น 3. การนำเสนอรูปแบบการแก้ปัญหาพฤติกรรมเด็กติดเกมออนไลน์ ด้วยหลักไตรสิกขา พบว่า กิจกรรม “แสงธรรมนำชีวิต”เพื่อให้นักเรียนและผู้เข้ารับการอบรมทุกคน มีความเข้าใจในหลักธรรมของศาสนาเท่าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างถูกต้องและเพียงพอ พร้อมนำหลักธรรมมาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เช่นมีระเบียบ วินัย ขยัน อดทน  ซื่อสัตย์ สุจริต รับผิดชอบจนเกิดเป็นคุณธรรมประจำชีวิต มีชีวิตอยู่อย่างปลอดภัยและสงบเย็น

References

กมลวิสาข์ เตชะพูลผล นายแพทย์หญิง (2567). อย่าปล่อยให้ลูกแปรปรวน! เมื่อลูกติดเกม..ควรรีบรักษา. สืบค้นข้อมูลจาก https://www.phyathai.com/th/article/

กรมสุขภาพจิต (2567). โรคติดเกม (Gaming disorder) มุมมองที่เปลี่ยนไป. สืบค้นข้อมูลจาก https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2271

กาญจนา นาคสกุล ()2567. การกำหนดอายุเยาวชน, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http:// legacy.orst.go.th/,.

เจตพล จิตต์วิบูลย์ (2563). “ผลกระทบของเกมออนไลน์กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น”. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.

ชัยพร วิชชาวุธ (2529). พฤติกรรมจริยธรรมของคนในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงใจ วัฒนสินธุ์ (2559). “การทดสอบรูปแบบภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นไทย: กรณีศึกษาเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่”. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปรานี ปวีณชนา, แพทย์หญิง (2567). การเสพติดเกม (Game Addiction). สืบค้นข้อมูลจาก https://www.manarom.com/blog/GameAddiction.html.

พระธรรมปิฎก (2527). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงขยายความ. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พระมหาศุภกร จนฺทูปโม (2562). “การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา โรงเรียนในสังกัดเทศบาล อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาอานนท์ อานนฺโท (2560). “การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา เพื่อพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนทวีวัฒนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รามา มหิดล (2567). เด็กติดเกม ปัญหาพฤติกรรมที่ต้องให้ความสำคัญ. สืบค้นข้อมูลจาก https://www.rama.mahidol.ac.th/

วิไลพรรณ มีบุญธรรม (2552). พฤติกรรมติดเกมคอมพิวเตอร์ของวัยรุ่น การศึกษารายกรณี, [10], 166 แผ่น + ซีดีรอม 161 แผ่น.

ศิริไชย หงส์สงวนศรี และพนม เกตุมาน (2567). Game Addiction: The Crisis and Solution. สืบค้นข้อมูลจาก https://med.mahidol.ac.th/ 2564

สงวน สุทธิเลิศอรุณ (2543). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาคน. กรุงเทพมหานคร: อักษราพิพัฒน์.

สชา จันทร์เอม (2540). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส (2547). บาลีไวยากรณ์ วจีวิภาค ภาคที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 48. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน (2567). เด็กไทยเล่นเกมออนไลน์สูงสุดเกิน 8 ชั่วโมง/วัน นำหนึ่งคือ ROV. สืบค้นข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/social/856162

สราวุฒิ ตรีศรี, ดร. และคณะ (2565). “การศึกษาแนวทางการป้องกันและลดผลกระทบจากการเสพติดเกมออนไลน์ ในกลุ่มเยาวชน”. รายงานวิจัย. คณะแพทยศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภะเกษ ประกายเพชร, นันทมงคลชัย สุธรรม, และ ดำรงศักดิ์ มัณฑนา (2555). “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเกมคอมพิวเตอร์ ในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา”. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 42 (1): 66-77.

สุภาวดี เจริญวานิช (2567). “พฤติกรรมการติดเกม ผลกระทบและการป้องกัน”. วารสารวิทยาศาสตร์และเทโนโลยี. 22 (6): 871-879.

Blair ;&Jones (1964). Psychology of Adolescence for Teacher. New York: Mc Millin Company.

Crow, Lester Donal (1961). Education in The Secondary School. New York: America.

Goldenson, R.M. (1994). Longman Dictionary of Psychology and Psychiatry. New York: n.p.

Hilgard, E.R. (1966). Introduction to psychology. 3 rd. ed. New York: Harcourt Brace and Word.

King, L. A. (2011). The Science of Psychology. 2nd ed. New York: McGraw Hill.

Lefton, L. A., & Brannon, L. (2008). Psychology. New York: Pearson Education.

Nevid, J. S. (2012). An Introduction to Psychology. 4 th ed. Connecticus: WADSWORTH CENGAGE Learning.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

SONG VOEUNG, ส่งเสริม แสงทอง, & รัตกร แสงสุด. (2024). แนวทางสำหรับการแก้ปัญหาพฤติกรรมเด็กติดเกมออนไลน์ด้วยหลักไตรสิกขา. วารสาร นวพุทธศาสตร์, 3(1), 33–49. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS/article/view/1407