บทบาทของพระสงฆ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนาสังคมในยุคปัจจุบัน
คำสำคัญ:
บทบาทพระสงฆ์, พระสงฆ์กับการเผยแผ่, การเผยแผ่เพื่อการพัฒนาสังคมบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาสังคมในยุคปัจจุบัน โดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมในการแก้ไขปัญหาสังคมและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้เหมาะสมกับบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลง พระสงฆ์มีบทบาทสำคัญในฐานะผู้นำทางจิตวิญญาณ ผ่านกิจกรรมการเผยแผ่ธรรมะ การอบรมสั่งสอน การช่วยเหลือสังคม การจัดกิจกรรมเสริมสร้างจิตสำนึก การให้คำปรึกษาแก่ผู้ประสบปัญหา และการเสริมสร้างกำลังใจเพื่อช่วยให้ผู้คนสามารถเผชิญปัญหาอย่างมีสติ พระสงฆ์มีบทบาทในการพัฒนาชุมชน โดยการจัดกิจกรรมสาธารณประโยชน์ การบำเพ็ญทาน การช่วยเหลือผู้ยากไร้ การสร้างสาธารณูปโภค และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงการจัดการศึกษา การจัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม และศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ เพื่อพัฒนาเยาวชนให้มีศีลธรรมควบคู่กับการศึกษาวิชาการ ในยุคดิจิทัล พระสงฆ์ใช้สื่อออนไลน์ เช่น โซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ และยูทูบ เพื่อเผยแผ่ธรรมะให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขวาง แนวทางการพัฒนาประกอบด้วย 1) การพัฒนารูปแบบและแผนการเผยแผ่ที่เหมาะสมกับสภาพสังคม 2) การเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ 3) การผลิตสื่อที่ทันสมัยและเข้าใจง่าย บทบาทของพระสงฆ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาช่วยส่งเสริมจิตสำนึก สร้างความสามัคคีในชุมชน และพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน พร้อมปรับตัวให้เข้ากับสังคมสมัยใหม่
References
กรมการศาสนา (2524). คู่มือพระสังฆาธิการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
กรมการศาสนา (2540). คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยเรื่องการคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.
ฝ่ายเผยแผ่พระพุทธศาสนา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (2550). คู่มือการปฏิบัติงานหน่วยอบรม ประชาชนประจำตำบล. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
พระเทพปริยัติสุธี (2540). การคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเทพโสภณ (2547). พระธรรมทูตสายต่างประเทศ รุ่นที่ 9. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (2536). สถานการณ์พระพุทธศาสนาพลิกหายนะเป็นผู้พัฒนา. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์การศาสนา.
พระไพศาล วิสาโล (2546). พระพุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤติ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี – สฤษดิ์วงศ์.
พระเมธีธรรมาภรณ์ (2534). พระพุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระเมธีธรรมาภรณ์ (2539). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.
พัชนี วรกวิน (2526). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิชย์.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2539). ความเชื่อและศาสนาในสังคมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ชวนการพิมพ์.
ระเบียบ คำเขียน (2546). “การปฏิบัติบทบาทหัวหน้าหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาทประจำโรงพยาบาลพิจิตร”. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สิริพิชญ์ เตชะไกรศรี (2549). การเผยแผ่ธรรมะเชิงรุกตามวิถีพุทธ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุลักษณ์ ศิวรักษ์ (2524). ศาสนากับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: พาสิโก.
อภิชัย พันธเสน (2539). พัฒนาชนบทไทย: สมุทัยและมรรคตอนที่ 3 ความหวังทางออกและทางเลือกใหม่. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิภูมิปัญญา.
ไอศูรย์ อินทร์เพชร (2553). “บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคม: ศึกษาเฉพาะกรณีพระเทพสาครมุนี (แก้ว สุวณฺณโชโต)”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Allport, Gordon (1973). Personality: A psychological interpretation. New York: Holt.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.