การวิเคราะห์เรื่องกรรมในคัมภีร์วิมานวัตถุสำหรับเยาวชนในการจัดกิจกรรมสำหรับการเรียนการสอน
คำสำคัญ:
คัมภีร์วิมานวัตถุ, การวิเคราะห์กรรม, กรรมกับการเรียนการสอนบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์เรื่องกรรมในคัมภีร์วิมานวัตถุสำหรับเยาวชนในการจัดกิจกรรมสำหรับการเรียนการสอน” มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1 เพื่อศึกษาเรื่องกรรมในคัมภีร์วิมานวัตถุสำหรับเยาวชนในการจัดกิจกรรมสำหรับการเรียนการสอน 2 เพื่อวิเคราะห์ก่อนและหลัง การจัดกิจกรรมสำหรับการเรียนการสอน เรื่องกรรมในคัมภีร์วิมานวัตถุสำหรับเยาวชน โดยใช้วิธีการวิจัย 2 รูปแบบ ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินผลก่อนและหลัง โดยพบว่า 1.ผลการศึกษาเรื่องกรรมในคัมภีร์วิมานวัตถุสำหรับเยาวชนในการจัดกิจกรรมสำหรับการเรียนการสอน พบว่า โดยออกแบบและพัฒนาชุดความรู้ผ่านกระบวนการที่ประกอบด้วยการกำหนดหมวดหมู่เนื้อหา วัตถุประสงค์ การเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดทำชุดความรู้ การประเมินผล และการปรับปรุงก่อนนำไปใช้ทดสอบจริง ใช้การจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียน 2. ผลการวิเคราะห์ก่อนและหลังเรื่องกรรมในคัมภีร์วิมานวัตถุสำหรับเยาวชนในการจัดกิจกรรมสำหรับการเรียนการสอน พบว่า ก่อนการเรียนรู้ นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องกรรมในระดับปานกลาง (x̄ = 2.95, ร้อยละ 59.00, S.D. = 0.68) แต่หลังการใช้ชุดความรู้ นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.10, ร้อยละ 82.00, S.D. = 0.88) เพิ่มขึ้นจากเดิม 1.15 คิดเป็นร้อยละ 23.00 สะท้อนถึงประสิทธิภาพของชุดความรู้ที่พัฒนาขึ้น การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดความรู้เรื่องกรรมในคัมภีร์วิมานวัตถุ ช่วยเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจของผู้เรียน และส่งเสริมการเรียนรู้ที่ดีขึ้น โดยคำนึงถึงความหลากหลายและความแตกต่างเฉพาะบุคคล
References
กรมการศาสนา (2548). โครงการจัดตั้งพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : ด่านสุทธาการพิมพ์.
จินตนา สิทธิกุล (2566). ทฤษฎีการเรียนรู้และการประยุกต์สู่การสอน. สืบค้นข้อมูลจาก https://sites. google.com/site/hnwykarreiynru 123 /thvsdi-kar-reiyn-ru-laea-kar-prayukt-su-kar-sxn
ชูศรี วงศ์รัตนะ (2544). การวิจัยเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: ทิปพับลิเคชั่น.
พระครูวินัยธรสุเทพ อกิญจโน (2539). การศึกษาเริงวิเคราะห์เรื่องเทวดาในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสุธีปริยัตยาทร (2551). “การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหา การจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของพระสงฆ์ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต 1”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
พระราชวรมุนี (2528). พจนานุกรรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.
เสนห์ สีกาวี และบรรจบ บรรณรุจิ (2560). พัฒนากระบวนการเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการ. “วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ฯ” 4(1) (มกราคม-เมษายน): 278.
Stories of the Mansions (1993). tr.I B.Horner. Oxford: PTS.
Yamane, Taro (1967). Statistics: An Introductory Analysis, and Edition. New York: Harper and Row.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.