การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยแนวทางการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • พระวสันต์ กิตฺติสมฺปนฺโน (ศรีวิชัย) วัดป่าถ่อน จังหวัดเชียงราย

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพชีวิต, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ประชาชนกับคุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนผ่านแนวทางการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวิเคราะห์แนวทางดังกล่าว โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง 365 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 8 คน ผลการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นในแต่ละชุมชนมีลักษณะเฉพาะและหลากหลาย เกิดจากประสบการณ์ของชุมชน และมีบทบาทสำคัญในการสร้างความยั่งยืน ความเข้มแข็ง และการรักษาวัฒนธรรมที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นยังมีคุณค่าในด้านการสร้างเอกลักษณ์ ความภูมิใจ และศักดิ์ศรีของคนในชุมชน การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการแพทย์แผนไทย สมุนไพร และการดูแลสุขภาพ เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์เชิงปริมาณพบว่า ด้านรูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ในระดับมาก (x̄= 3.597) โดยการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรมีคะแนนสูงสุด (x̄= 3.827) ด้านการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ในระดับมาก (x̄= 3.909) โดยสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้สูงสุด (x̄= 4.205) ด้านคุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาอยู่ในระดับมาก (x̄= 3.705) โดยการสร้างศักดิ์ศรีในชุมชนมีคะแนนสูงสุด (x̄= 3.871) และด้านการอนุรักษ์และถ่ายทอดอยู่ในระดับมาก (x̄= 3.439) โดยการส่งเสริมอาชีพที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญามีคะแนนสูงสุด (x̄= 3.564) การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตในมิติเศรษฐกิจ สังคม และช่วยส่งเสริมความยั่งยืนของชุมชน จึงควรอนุรักษ์ภูมิปัญญาอย่างต่อเนื่อง

References

กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมด้านการเกษตรกองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรกรมส่งเสริมการเกษตร (2564). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในงานส่งเสริมการเกษตร. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กันตยา มานะกุล (2550). “การพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาชุมชนบ้าน จอมจันทร์ หมู่ที่ 2 ตำบลสันทราย อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย”. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

โครงการแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ.2566 (2564). แผนพัฒนาจังหวัดเชียงราย 2566-2570. (กันยายน).

จินต์ประวีร์ เจริญฉิม และสิริชัย ดีเลิศ (2563). “กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาของผู้สูงอายุสู่ชุมชนและสังคมที่ยั่งยืน”. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. ปีที่ 33 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม).

ฉลาดชาย รมิตานนท์ (2545). แนวคิดในการศึกษาอัตลักษณ์ความเป็นไท. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ดำรง ฐานดี (2546). มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทวีรัสมิ์ ธนาคม (2553). ถึงจะยากก็ต้องทำ. กรุงเทพมหานคร: หอรัตนชัยการพิมพ์.

เทิดชาย ช่วยบำรุง (2554). ภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: สถาบัน พระปกเกล้า.

บุญสม ยอดมาลี (2558). การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ปรับปรนและเห็นคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรม. มหาสารคาม: สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน.

พระครูปลัดศิวภัช ภทฺราโณ (2563). “การอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมล้านนาของเยาวชนในหมู่บ้านดงป่างิ้ว ตำบลมะขุนหวาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัฒนา กิติอาษา (2546). ท้องถิ่นนิยม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โอเอส พริ้นติ้งเฮ้าส์.

พัทยา สายหู (2556). กลไกของสังคม. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พุฒิภัทร เป็กเตปิน (2565). “รูปแบบการจัดการความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนบ้านไร่ศิลาทอง ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยุพา ทรัพย์อุไรรัตน์ (2537). การศึกษาการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในงานการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาคตะวันออก. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิฑูรย์ สิมะโชคดี (2566). “คุณภาพคือความอยู่รอด ตอน คุณภาพชีวิตอยู่ที่ใคร”, มติชนออนไลน์. สืบค้นข้อมูลจาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_2530804.

ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (2566). ตารางแสดงเป้าประสงค์ภายใต้ เป้าหมายที่. สืบค้นข้อมูลจาก https://shorturl.asia/gv7OV.

สมบูรณ์ ธรรมลังกา (2556). “รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานในจังหวัดเชียงราย”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 15 (2). (เมษายน-มิถุนายน).

สมิธ เอธ วาริงตัน (2544). ไทย-ภูมิประเทศและการเดินทาง. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2556). คุณภาพชีวิตการทำงานและความสุข.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมดาเพลส จำกัด.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2566). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. สืบค้นข้อมูลจาก https://shorturl.asia/z0tOP/.

เอกวิทย์ ณ ถลาง (2540). ภูมิปัญญาสี่ภาค วิถีชีวิตและกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้านไทย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ไอลดา มณีกาศ (2564). “การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเยาวชน ในอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 32 (3) (กันยายน-ธันวาคม).

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

พระวสันต์ กิตฺติสมฺปนฺโน (ศรีวิชัย). (2023). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยแนวทางการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสาร นวพุทธศาสตร์, 2(2), 17–32. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS/article/view/1398