วัฒนธรรมเชิงนิเวศวิทยากับการท่องเที่ยววัดร่องเสือเต้นในจังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • พระครูธรรมธรกฤษนล เขมธมฺโม (กันตีมูล) วัดร่องเสือเต้น จังหวัดเชียงราย

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมเชิงนิเวศวิทยา, การท่องเที่ยววัด, วัดร่องเสือเต้น

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “วัฒนธรรมเชิงนิเวศวิทยากับการท่องเที่ยววัดร่องเสือเต้นในจังหวัดเชียงราย” มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาวัฒนธรรมเชิงนิเวศวิทยากับการท่องเที่ยววัดร่องเสือเต้นในจังหวัดเชียงราย เพื่อพัฒนาวัฒนธรรมเชิงนิเวศวิทยากับการท่องเที่ยววัดร่องเสือเต้นในจังหวัดเชียงราย และเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการพัฒนาวัฒนธรรมเชิงนิเวศวิทยากับการท่องเที่ยววัดร่องเสือเต้นในจังหวัดเชียงราย ผู้วิจัยได้กำหนดวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) โดยวิธีใช้การคัดเลือกแบบเจาะจงผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้อง จำนวน 17 คน/รูป โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนาความ พร้อมการวิเคราะห์เชิงเอกสารและการพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1. ลักษณะวัฒนธรรมนิเวศวิทยาและการท่องเที่ยว วัดร่องเสือเต้นมีการพัฒนาโครงสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว เป็นศูนย์รวมทางศาสนาและพิธีกรรมที่สำคัญ มีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมและความรู้ทางประวัติศาสตร์ 2. แนวทางการพัฒนามาตรฐานที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการจัดกิจกรรมและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมอนุรักษ์วัฒนธรรมนิเวศวิทยา 3. การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย การสร้างการมีส่วนร่วมควรเน้นกิจกรรมที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมนิเวศวิทยา ชุมชนมีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการและส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยการประชาสัมพันธ์และกำหนดกลุ่มเป้าหมาย

References

กระทรวงวัฒนธรรม (2556). คู่มือการดำเนินงานโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ประเทศของกระทรวงวัฒนธรรม: โครงการรากวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม.

ประพันธ์ สิริปัญโญ และจิรกิตต์ภณ พิริยสุวัฒน์ (2560). “นิเวศวิทยาวัฒนธรรม แนวคิดและการจัดการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของจังหวัดเลย”. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ผจงจิตต์ อธิคมนันทะ (2543). สังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

พระสมุห์อนุรักษ์ ธีรสกฺโก (2555). “การพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดสมุทรสาคร”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร (2566). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ (Ecotourism) : การท่องเที่ยววิถีอนุรักษ์ ผสาน คน กับ ธรรมชาติ เป็นหนึ่งเดียวกัน, สืบค้นข้อมูลจาก https://www.seub.or.th/bloging/ knowledge/ecotourism/

วศิน อิงคพัฒนากุล (2554). คุณลักษณะ 7 ประการของผู้ให้บริการที่ดี. สืบค้นข้อมูลจาก http://lib. dtc.ac.th/article /tourism

วีระ บํารุงรักษ์ (2566). กลุ่มประชาสัมพันธ์ สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม, ความหมาย แนวคิดและประเด็นที่เกี่ยวกับ “วัฒนธรรม”. สืบค้นข้อมูลจาก http://www.openbase.in.th/node/ 5954.

สุฑาพรรธ์ ผดุงชีวิต (2566). การปรับตัวเข้าวัฒนธรรม. สืบค้นข้อมูลจาก http://library1.nida. ac.th/termpaper6/lang/2556/20080.pdf

สุรเชษฏ์ เชษฐมาส (2539). “การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์:แนวคิด หลักการและความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้ในอุทยานแห่งชาติ”. เอกสารประกอบประชุมสัมมนาอุทยานแห่งชาติกับนันทนาการ และการท่องเที่ยวในทศวรรษหน้าเพื่อทรัพยากรที่ยั่งยืน 27-28 พฤษภาคม 2539. กรุงเทพมหานคร : กรมป่าไม้.

อนุรักษ์ ทองขาวและคณะ (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรองติดชายฝั่งทะเลภาค ตะวันออกในมิติของคุณภาพการให้บริการ ภาพลักษณ์การท่องเที่ยว อุปสงค์การท่องเที่ยวและความภักดีของ นักท่องเที่ยว. รายงานการวิจัย. ภาควิชาศึกษาทั่วไปและภาควิชาบริหารธุรกิจ วิทยาลัยดุสิตธานีพัทยา.

Boo, E. (1991).Making Ecotourism Sustainable: Recommendations for Planning, Development, and Management, In Nature Tourism; Managing for the Environment. Washington D.C.: Island Press, 1991.

Ceballos-Lascuráin (1991) Héctor. “Tourism, Ecotourism and Protected Areas InParks. 2 (3) (March).

MGR ONLINE (2566). “วัดร่องเสือเต้น” ที่เที่ยวมาแรงแห่งเชียงราย งดงามวิจิตร จากฝีมือศิษย์ อ.เฉลิมชัย. สืบค้นข้อมูลจาก https://mgronline.com/travel/detail/9590000100258.

The International Ecotourism Society (2023). The Ecotourism Society’s Definition. From to https://ecotourism.org/.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

พระครูธรรมธรกฤษนล เขมธมฺโม (กันตีมูล). (2023). วัฒนธรรมเชิงนิเวศวิทยากับการท่องเที่ยววัดร่องเสือเต้นในจังหวัดเชียงราย. วารสาร นวพุทธศาสตร์, 2(2), 1–16. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS/article/view/1396