การท่องเที่ยววิถีพุทธ: สัมผัสวิถีวัฒนธรรมวัดไร่ขิง พระอารามหลวง
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยววิถีพุทธ, สัมผัสวิถีวัฒนธรรม, วัฒนธรรมวัดไร่ขิงบทคัดย่อ
บทความวิชาการเรื่อง “การท่องเที่ยววิถีพุทธ: สัมผัสวิถีวัฒนธรรมวัดไร่ขิง พระอารามหลวง” มุ่งศึกษาการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธ การเรียนรู้และสัมผัสวัฒนธรรมทางศาสนา ณ วัดไร่ขิง พระอารามหลวง จังหวัดนครปฐม เป็นศูนย์กลางแห่งศรัทธาและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญทางพระพุทธศาสนาในภาคกลางของประเทศไทย การศึกษาครอบคลุมการท่องเที่ยวในมิติทางศาสนา วัฒนธรรม และประเพณี ที่ผสมผสานกับวิถีชีวิตชุมชนท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า วัดไร่ขิงมีศักยภาพในฐานะศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงพุทธ เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทางศาสนา เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร และพระพุทธรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิง อันเป็นสัญลักษณ์แห่งศรัทธาของชาวพุทธทั่วประเทศ การท่องเที่ยววิถีพุทธที่นี่ไม่เพียงแต่การเยี่ยมชมสถานที่ แต่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมในพิธีกรรมทางศาสนา ได้แก่ การทำบุญตักบาตร การสวดมนต์ และการฟังเทศน์ งานเทศกาลประจำปีวัดไร่ขิง เป็นกิจกรรมเชิงวัฒนธรรมที่สะท้อนประเพณีและวิถีชีวิตของชุมชนในพื้นที่ มิติทางศาสนาและวัฒนธรรม วัดไร่ขิงยังมีตำนานที่เล่าขานกันมา เรื่องการอัญเชิญพระพุทธรูปลอยน้ำและประวัติการสร้างวัดในปี พ.ศ. 2394 มิติทางประวัติศาสตร์และความน่าสนใจให้กับการท่องเที่ยว ตลอดจนการบูรณาการศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยที่งดงาม การท่องเที่ยววิถีพุทธที่วัดไร่ขิง พระอารามหลวง เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงศรัทธา วัฒนธรรม และวิถีชีวิตเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน การจัดการการท่องเที่ยวที่เหมาะสมควรคำนึงถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อสร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวที่ลึกซึ้งและยั่งยืนแก่นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก
References
กระทรวงวัฒนธรรม (2557). แนวทางการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยว เส้นทางแสวงบุญในมิติทางศาสนา ปี 2557. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
กฤษณา รักษาโฉม และคณะ (2556). “รูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: กระบวนการเปลี่ยนเส้นทางบุญ สู่เส้นทางธรรม”. บทความวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (2566). ประเภทการท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2566. จากhttps://sites. google. com./site /tourisum.
ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว (2566). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2566. จากhttp://tourismdan1. blogspot.com/2013/06/blog-post.html.
จุฑามาศ คงสวัสดิ์ (2550). “การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม”. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธนกฤต สังข์เฉย (2550). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ. เพชรบุรี: คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศ.
ธฤษวรรณ มาตกุล (2556). “แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยสู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสาน กรณีศึกษาวัดศิลาอาสน์ (ภูพระ) จังหวัดชัยภูมิ”. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นิศา ชัชกุล (2557). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทวี พริ้นท์.
ปรัชญาพร พัฒนผล (2554). “การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยววัฒนธรรมแม่น้ำเพชรบุรี”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารงานวัฒนธรรม. วิทยาลัยนวัตกรรม :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไปเที่ยวกัน (2566). วัดไร่ขิง. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2566 จากhttps://th.trip.com/moments/ detail/tha-talat-1450172119167495?locale=th-TH&curr=THB.
พระครูวิมลศิลปะกิจ (เรืองฤทธิ์ ธนปญฺโญ) และคณะ (2555). “การศึกษารูปแบบและสภาพแหล่งเรียนรู้ของวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย”. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ห้องเรียนวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย.
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (2554). ประวัติและตำนาน หลวงพ่อวัดไร่ขิง. กาญจนบุรี: ธรรมเมธี-สหายพัฒนาการพิมพ์.
มาโนช พรหมปัญโญ และคณะ (2556). “แนวทางการเตรียมความพร้อมการท่องเที่ยวเชิงพุทธของจังหวัดอุบลราชธานี”. วารสารการบริการและการท่องเที่ยว. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม): 37
มาโนช พรหมปัญโญ และคณะ (2556). แนวทางการเตรียมความพร้อมการท่องเที่ยวเชิงพุทธของจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม).
ราณี อิสิชัยกุล (2557). การจัดการการท่องเที่ยวเฉพาะทาง. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วัดไร่ขิง (2566). ประวัติวัดไร่ขิง. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2566 จาก https://watriakhing. wordpress.com/
สำนักพัฒนาบริการท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (2557). คู่มือการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
สุดาทิพย์ นันทโชค (2555). “พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงศาสนาในเขตจังหวัดสิงห์บุรี ของนักท่องเที่ยวสูงอายุ”. ประชุมเชิงวิชาการ SWUMBA Research Conference. 17 กรกฎาคม พ.ศ.2555 ณ โรงแรมจัสมินเอ็กเซกคิวทีฟสวีท. กรุงเทพมหานคร.
สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ (2530). “กลุ่มพระพุทธรูปสี่อิริยาบถในศิลปะสุโขทัย: ความหมายทางพระพุทธศาสนาบางประการ”. วารสารเมืองโบราณ. ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน): 60
หม่อมหลวงตุ้ย ชุมสาย และญิบพันธ์ พรหมโยธี (2527). ปฐมบทแห่งวิชาการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
Bhatia, A.K (1983). Tourism Development: Principle and Practices. New Delhi: 2 nd Steering Publishers Private Limited.
Davidson Rob (1995). Tourism. 2nd.ed. Singapore Longman: Group Limited.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.