การวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพของการศึกษาศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
คำสำคัญ:
การศึกษา, ศักยภาพการศึกษา, ศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพของการศึกษาศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์” มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและศักยภาพของการศึกษาศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และ 2) เพื่อวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาและศักยภาพของการศึกษาศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ (1) การวิเคราะห์เชิงพรรณนา (2) การตีความหมาย และ (3) การสังเคราะห์ เกี่ยวกับศึกษาปัญหาและศักยภาพของการศึกษาศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท เพื่อนำเสนอศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพของการศึกษาศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โดยพบว่า 1.ผลการศึกษาปัญหาและศักยภาพของการศึกษาศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พบว่า การจัดการศึกษาในศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ประสบปัญหาในด้านบุคลากร หลักสูตร และการเรียนการสอน โดยเฉพาะในเรื่องการวัดความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมผู้เรียน อย่างไรก็ตาม ศูนย์มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน โดยมีบทบาทสำคัญ ได้แก่ การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ และการเป็นศูนย์ฝึกอาชีพเพื่อพัฒนาทักษะของเด็ก เยาวชน และประชาชนในชุมชน 2. ผลการวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาและศักยภาพของการศึกษาศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พบว่า การพัฒนาสื่อการสอนเป็นองค์ประกอบสำคัญในการแก้ไขปัญหาและเพิ่มศักยภาพของการเรียนการสอน สื่อการสอนที่มีความหลากหลาย เช่น สื่ออุปกรณ์ วัสดุการสอน และกิจกรรม ช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การกระตุ้นความสนใจและความสนุกสนานในการเรียน การเสริมสร้างความเข้าใจร่วมและประสบการณ์การเรียนรู้ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน การพัฒนาทักษะการศึกษาค้นคว้าของผู้เรียน การแก้ปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคลผ่านการจัดการเรียนรู้รายบุคคล
References
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม (2560). แนวทางการดําเนินงานศูนยศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรม ปงบประมาณ 2560, ภายใต้กองทุนส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม (2545). แนวทางดําเนินงานศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2547). คู่มือประเมินผลการเรียนการสอน หลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพมหานคร : กรมวิชาการ.
พระประสิทธิ์ สิรินธโร และคณะ (2547). “รูปแบบการจัดการเรียนการสอนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่สอดคล้องกับเครือข่ายโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในจังหวัดเชียงใหม่”. รายงานวิจัย. สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
พระมหาณรงค์ กนฺตสีโล และคณะ (2551). คุณภาพพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. ศูนย์บัณฑิตศึกษา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.
พระราชวรมุนี (2530). บทบาทของพระสงฆ์ในสังคมไทยปัจจุบัน, หนังสือชุดหลักธรรมเฉลิมพระเกียรติ เล่ม 54/60. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.
พระอธิการสุรินทร์ ฐานวโร (2555). “การจัดการเรียนการสอนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิสิทธิ์ สารวิจิตร (2525). วิชายุทธศาสตร์การพัฒนาตนเองและบุคลิกภาพ. กรุงเทพมหานคร: พงษ์เจริญการพิมพ์.
ไพศาล หวังพานิช (2526). การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
รุ่งรัชดา พรเวหะชาติ (2548). “การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพทั้งองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน”. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมคิด สร้อยน้ำ (2542). หลักการสอน. อุดรธานี : คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏอุดรธานี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
สุภาพ วาดเขียน และอรพินธ์ โภชนดา (2520). การประเมินผลการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.