การวิเคราะห์วิถีชีวิตพระสงฆ์ไทยกับการปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานในยุคปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • พระสิทธิศักดิ์ ชุตินฺธโร (ศรีไดสองฟ้า) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูไพโรจน์คีรีรักษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูสมุห์ธนาการ ธนกโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พระสงฆ์ไทย, วิถีชีวิตพระสงฆ์, วิปัสสนากรรมฐาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์วิถีชีวิตพระสงฆ์ไทยกับการปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานในยุคปัจจุบัน” มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาหลักการเกี่ยวกับการปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานในยุคปัจจุบัน และ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์วิถีชีวิตพระสงฆ์ไทยกับการปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานในยุคปัจจุบัน และได้กำหนดวิธีการวิจัยแบบ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) โดยวิธีใช้การคัดเลือกแบบเจาะจงผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้อง จำนวน 11 คน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์วิถีชีวิตพระสงฆ์ไทยกับการปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานในยุคปัจจุบัน  ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลศึกษาหลักการเกี่ยวกับการปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานในยุคปัจจุบัน พบว่า รูปแบบวิถีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน 5 สายของพระสงฆ์ไทยในยุคศตวรรษที่ 25 กับยุคปัจจุบัน ทุกสายล้วนปฏิบัติ ตามหลักสติปัฏฐานเหมือนกัน วิถีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน 5 สายของพระสงฆ์ไทยในปัจจุบัน ยึดหลักสติปัฏฐาน 4 ตามพระไตรปิฎกและวิสุทธิมรรค โดยมีความแตกต่างในวิธีสอนด้านกายานุปัสสนา ขณะที่เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา และธัมมานุปัสสนาใช้ร่วมกัน แต่คำอธิบายอาจต่างกัน 2. ผลศึกษาวิเคราะห์วิถีชีวิตพระสงฆ์ไทยกับการปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานในยุคปัจจุบัน พบว่า มีความแตกต่างในแง่ของรายละเอียดวิธีการ และข้อวัตรปฏิบัติ วิธีการปฏิบัติอาจหลากหลายตามเทคนิคของผู้สอน แต่ทั้งหมดสอดคล้องกับหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท การมีรูปแบบที่หลากหลายช่วยให้ผู้ปฏิบัติเข้าถึงวิธีที่เหมาะสมกับจริตตน โดยมีเป้าหมายเดียวคือการหลุดพ้นจากทุกข์สู่นิพพาน

References

พระครูภาวนาวีรานุสิฐ วิ. (2560). “รูปแบบการสอบอารมณ์กลุ่มเพื่อการให้การปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยา แก่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน”. รายงานวิจัย. คณะมนุษยศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูศรีปริยัติวิกรม (2546). “ศึกษาวิจัยเรื่อง ศึกษาเทคนิคและรูปแบบการเผยแผ่ พุทธธรรมของพระเทพสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาธรรมนิเทศ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสมุห์ทองล้วน คงพิศ (2545). “วิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท: กรณีศึกษาวิธีปฏิบัติกรรมฐานตามแนวทางของพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ, ป.ธ. 9)”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พระธรรมสิงหบุรจารย์ (มปป.). ประวัติชีวิต การงาน หลักธรรม. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์ธรรมสภา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพุทธโฆสเถระ (2556). คัมภีร์วิสุทธิมรรค, แปลและเรียบเรียงโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหา เถร). พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส.

พระมหาศรัญญู ปญฺญาธโร (2546). “การศึกษาหลักการและวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสุธรรมยานเถร (ครูบาอินทจักรรักษา)”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชธรรมนิเทศ (2535). ธรรมปริทรรศน์ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

วริยา ชินวรรโณ และคณะ (2543). สมาธิในพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม (2553). คู่มือปฏิบัติ สมถวิปัสสนากรรมฐาน 5 สาย. นครปฐม: เพชรเกษม พริ้นติ้ง.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30

How to Cite

พระสิทธิศักดิ์ ชุตินฺธโร (ศรีไดสองฟ้า), พระครูไพโรจน์คีรีรักษ์, & พระครูสมุห์ธนาการ ธนกโร. (2023). การวิเคราะห์วิถีชีวิตพระสงฆ์ไทยกับการปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานในยุคปัจจุบัน. วารสาร นวพุทธศาสตร์, 2(1), 32–45. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS/article/view/1391