กระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน ยลวิถี สู่ความยั่งยืนในชุมชนท่ามะโอ
คำสำคัญ:
กระบวนการพัฒนา, การท่องเที่ยวชุมชนยลวิถี, ชุมชนท่ามะโอบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “กระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน ยลวิถี สู่ความยั่งยืนในชุมชนท่ามะโอ” ได้กำหนดวิธีการวิจัยแบบ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) โดยวิธีใช้การคัดเลือกแบบเจาะจงผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในกระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน ยลวิถี สู่ความยั่งยืนในชุมชนท่ามะโอ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลศึกษาบริบทชุมชนคุณธรรมต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ในชุมชนท่ามะโอ พบว่า ชุมชนท่ามะโอมีวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ การเยี่ยมชมสถานที่สำคัญ ธรรมชาติสวยงาม อาหารท้องถิ่นอร่อย ชุมชนอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอย่างดี และพัฒนาสมรรถนะที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ 2) ผลการวิเคราะห์กระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน ยลวิถี สู่ความยั่งยืนในชุมชนท่ามะโอพบว่า ประชาชนและหน่วยงานร่วมกำหนดเส้นทางการท่องเที่ยว ส่งเสริมการตลาดผ่าน Soft power และกิจกรรมศิลปวัฒนธรรม มุ่งสร้างธุรกิจและผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มรายได้ให้ชุมชน 3) ผลนำเสนอกระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน ยลวิถี สู่ความยั่งยืนในชุมชนท่ามะโอ พบว่า แนวทางการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน เน้นการสนับสนุนธุรกิจท้องถิ่น พัฒนาการศึกษา ส่งเสริมความสะอาด อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน พร้อมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน การเข้าถึงสิทธิอย่างเท่าเทียม และการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนาชุมชน
References
คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ (2561). คู่มือการประเมิน องค์กร ชุมชน อำเภอ และจังหวัดคุณธรรมภายใต้แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2559 - 2564). กรุงเทพมหานคร:กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม.
ณัฏฐวุฒิ ทรัพย์อุปถัมภ์ (2558). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. จันทบุรี : คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ประสิทธิ์ อาศัยบุญ (2551). “การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชนในเขตตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
พระครูประโชติสารนิวิฐ (2564). ภาวะผู้นําเชิงจริยธรรม. “วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด”. 1 (1) (มกราคม – เมษายน).
พลอยจันทร์ สุขคง, ททท (2566). เปิดแผนปี 66 เน้นพลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สร้างคุณค่าสู่ High Value & Sustainable Tourism. สืบค้นข้อมูลจาก https://thestandard.co/tat-2023-plan/.
ลำปางเมืองแห่งการเรียนรู้ (2566). หลักการและเหตุผล, สืบค้นข้อมูลจาก https://lampang .dusit.ac.th/ lampanglearningcity/%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8% b2-2/
สมชัย ศิริสมบัติ (2544). “การมีส่วนร่วมของกรรมการชุมชนในการพัฒนาเทศบาลสู่เมืองน่าอยู่กรณีศึกษาเทศบาลเมืองบ้านบึง อำเภอบ้างบึง จังหวัดชลบุรี”. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุภา สังขวรรณ (2560). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในจังหวัดสมุทรสงคราม. “Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University”. 4 (1).
สุรเชษฏ์ เชษฐมาส (2539). “การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์:แนวคิด หลักการและความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้ในอุทยานแห่งชาติ”. เอกสารประกอบประชุมสัมมนาอุทยานแห่งชาติกับนันทนาการ และการท่องเที่ยวในทศวรรษหน้าเพื่อทรัพยากรที่ยั่งยืน 27-28 พฤษภาคม 2539. กรุงเทพมหานคร : กรมป่าไม้.
อนุวัฒน์ ชมภูปัญญา และ ธนัสถา โรจนตระกูล (2565). การพัฒนาศักยภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วมสู่ชุมชนท่องเที่ยวที่ยั่งยืน. “Journal of Modern Learning Development”. 7 (8) (กันยายน).
Hosmer, L.T (1995). Trust The Connecting Link between Organizational Theory and Philosophical Ethics. “Academy of Management Review”. 20 (1).
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.