บทบาทของอธิกรณสมถะ 7 ในการบริหารและระงับข้อขัดแย้งในคณะสงฆ์

ผู้แต่ง

  • พระครูกิตติพัฒนานุยุต (อธิวัฒน์ กิตฺติเมธี) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

อธิกรณสมถะ 7, การบริหารความขัดแย้งในคณะสงฆ์, อธิกรณสมถะ 7 กับความขัดแย้ง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและความสำคัญของ อธิกรณสมถะ 7 ในการบริหารและระงับข้อขัดแย้งในคณะสงฆ์ เป็นหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา ในการจัดการข้อพิพาทด้วยความเมตตาและความยุติธรรม โดยยึดหลักพระธรรมวินัยเพื่อสร้างความสงบหมู่สงฆ์ การใช้หลักธรรมมีส่วนช่วยลดความขัดแย้งจากความเห็นที่แตกต่างกัน และเสริมความสามัคคีในหมู่สงฆ์ อธิกรณสมถะ 7 ประกอบด้วย สัมมุขาวินัย การระงับข้อขัดแย้งในที่ประชุมพร้อมหน้า โดยการเจรจาและตัดสินร่วมกันอย่างเปิดเผย สติวินัย การใช้สติและปัญญาในการพิจารณาและตัดสินข้อขัดแย้งด้วยความรอบคอบ อมูฬหวินัย การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและหลักฐานก่อนตัดสิน เพื่อให้เกิดความชอบธรรม ปฏิญญาตกรณะ การยอมรับความผิดและการขอขมา เพื่อสร้างความสมานฉันท์และคืนดี เยภุยยสิกาวินัย การตัดสินโดยใช้เสียงข้างมากเมื่อไม่มีข้อยุติที่ชัดเจน ติณวัตถารกะ การมองข้ามข้อผิดพลาดเล็กน้อย เพื่อรักษาความสงบและความสามัคคี ตัสสปาปิยสิกา การลงโทษผู้ที่กระทำผิดโดยไม่ยอมรับความผิด เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ผลการศึกษา การนำหลักอธิกรณสมถะ 7 มาใช้ในการจัดการข้อขัดแย้งในคณะสงฆ์ ลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในหมู่คณะ ทำให้การบริหารองค์กรสงฆ์มีความเป็นระเบียบและยุติธรรมมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้คณะสงฆ์สามารถดำเนินงานได้อย่างสอดคล้องกับพระธรรมวินัย อีกทั้งช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นและศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อพระพุทธศาสนา อธิกรณสมถะ 7 เป็นแนวทางสำคัญในการจัดการความขัดแย้งและสร้างความสงบสุขในคณะสงฆ์ การนำหลักธรรมมาใช้ในการบริหารการแก้ไขปัญหาในองค์กรสงฆ์อย่างเหมาะสม เสริมสร้างความสามัคคี ความชอบธรรม และการบริหารที่ดี

References

ชาญชัย อาจินสมาจาร (2549). “ความขัดแย้งในองค์การ”. เทศาภิบาล. ปีที่ 101 ฉบับที่ 3 (มีนาคม).

บุญลือ วันทายนต์ (2539). สังคมวิทยาศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2553). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพมหานคร.

พระเทพเวที (2532). ทางออกจากระบบเศรษฐกิจที่ครอบงำสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร:

มูลนิธิพุทธรรม.

พระธรรมปิฎก (2545). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระไพศาล วิสาโล (2553). “การไกล่เกลี่ยแบบพุทธ”, ใน หลักศาสนากับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท, รวบรวมจัดพิมพ์โดย ศูนย์วิทยาการระงับข้อพิพาททางเลือก สำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพลส จำกัด.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (2554). พุทธสันติวิธี การบูรณาการหลักการและเครื่องมือจัดการความขัดแย้ง. กรุงเทพมหานคร: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

พระยุทธนา รมณียธมฺโม (2547). “การศึกษาเชิงวิเคราะห์การจัดองค์กรคณะสงฆ์ในสมัยพระพุทธกาล”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี (2548). พฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพมหานคร: เพียร์สัน เอ็ดคูเคชั่น อินไชน่า.

ราชบัณฑิตยสถาน (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร :

บริษัท นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด.

วันชัย วัฒนศัพท์ (2547). ความขัดแย้ง: หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส (2535). พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.

สมผล อิ่นคำ (2540). “การศึกษาวิเคราะห์วิธีระงับอธิกรณ์ตามพระไตรปิฎก: ศึกษาตัวอย่างจากพระนิกร ธมมฺวาที”. บัณฑิตวิทยาลัย : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.

เสกโรจน์ ถ้วนถวิล (2541). สาเหตุและวิธีการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดพัทลุง. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2534). ความขัดแย้ง: การบริหารเพื่อความสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: เลิฟแอนด์ลิพเพรส.

อธิเทพ ผาทา (2549). “การศึกษารูปแบบและกระบวนการแก้ปัญหาในพระพุทธศาสนาเถรวาท : ศึกษาเฉพาะกรณีอธิกรณสมถะ 7 และ กฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคมในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31

How to Cite

พระครูกิตติพัฒนานุยุต (อธิวัฒน์ กิตฺติเมธี). (2022). บทบาทของอธิกรณสมถะ 7 ในการบริหารและระงับข้อขัดแย้งในคณะสงฆ์. วารสาร นวพุทธศาสตร์, 1(2), 63–76. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS/article/view/1386