นวัตกรรมในการพัฒนาสื่อเพื่อสืบสารพระพุทธศาสนาในยุคทวารวดี

ผู้แต่ง

  • พระครูพิศาลบุญญากร (เฟื่อง สมบูญบัติ) วัดนราภิรมย์ จังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, การพัฒนาสื่อ, ทวารวดี

บทคัดย่อ

งานวิจัย “นวัตกรรมในการพัฒนาสื่อเพื่อสืบสารพระพุทธศาสนาในยุคทวารวดี” ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญ 10 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อในยุคทวารวดีเน้นงานพุทธศิลป์ที่สัมพันธ์กับศาสนา โดยมีจารึกเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธเจ้า เช่น สังเวชนียสถาน 4 แห่ง และรูปสลักปฐมเทศนาที่นครปฐม 2) เนื้อหาสื่อสร้างสรรค์กึ่งวิชาการเชิงประวัติศาสตร์ สร้างจากความรู้ทางโบราณคดีและศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากอินเดียสู่สุวรรณภูมิ เช่น เจดีย์ยุคทวารวดีในเมืองนครปฐม 3) การประยุกต์นวัตกรรมสื่อใช้แพลตฟอร์มยอดนิยม เฟซบุ๊ก ยูทูป ติ๊กต๊อก นำเสนอประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในยุคทวารวดี เพื่อสืบสานและเผยแพร่พระพุทธศาสนา รักษาอัตลักษณ์วัฒนธรรม และส่งเสริมคุณค่าทางจิตใจของคนไทย

References

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์ (2554). นวัตกรรมและเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผลิตตำราเรียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

คณะกรรมการการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม (2564). แผนพัฒนาด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563-2565. กรุงเทพมหานคร: กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์.

จอง บาสเซอลีเยร์ (2512). “การค้นคว้าเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่เมืองนครปรูม”. วารสารโบราณคดี. 2 (4) (เมษายน–มิถุนายน).

ปรมะ สตะเวทิน (2546). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: รุ่งเรืองสาส์น.

ผาสุข อินทราวุธ (2526). รายงานการขุดค้นที่ตำบลพระประโทณ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พงศ์พันธ์ อนันต์วรณิชย์ (2564). นวัตกรรม-สื่อ (Media-Innovation) การสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์.

พรจิต สมบัติพานิช (2547). “โฆษณาในทศวรรษที่ 2000 - 2010 : การศึกษาถึงปัจจัยด้านสื่อที่มีต่อรูปแบบโฆษณา”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรทิพย์ กิมสกุล (2563). “พฤติกรรมการใช้ยูทูบและประเด็นจริยธรรมทางข้อมูลข่าวสารของผู้ใช้ยูทูบในประเทศไทย”. รายงานการวิจัย. คณะนิเทศศาสตร์: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (2539). การศึกษาเพื่ออารยธรรมที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.

________ (2539). พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (2539). พระพุทธศาสนายุคโลกาภิวัตน์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.

ศรีศักร วัลลิโภคม (2515). “นครชัยศรี”. วารสารเมืองโบราณ. 8(3). (สิงหาคม-พฤศจิกายน)

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2515). จดหมายเหตุเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเสด็จตรวจราชการหัวเมืองใน ร. ศ. 117 – 119. กรุงเทพมหานคร: ข่าวทหารอากาศ.

สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง (2553). “พัฒนาการทางวัฒนธรรมของเมืองนครปฐมโบราณในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 19”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต (2558). เทคโนโลยีทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ.

หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ (2506). โบราณคดี. พระนคร: บรรณาการ.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

พระครูพิศาลบุญญากร (เฟื่อง สมบูญบัติ). (2022). นวัตกรรมในการพัฒนาสื่อเพื่อสืบสารพระพุทธศาสนาในยุคทวารวดี. วารสาร นวพุทธศาสตร์, 1(1), 13–24. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS/article/view/1374