การศึกษากระบวนการฝึกจิตตปัญญาตามแนวธุดงควัตร

ผู้แต่ง

  • พระครูสุวรรณจันทนิวิฐ วัดองค์พระ จังหวัดสุพรรณบุรี
  • พระมหากิตติ กิตฺติเมธี (เบญญาบวรกิตติ์) วัดไร่ขิง พระอารามหลวง จังหวัดนครปฐม
  • พระครูสังฆรักษ์บุญมี ยติโก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การฝึกจิตตปัญญา, กระบวนการฝึกธุดงควัตร, ธุดงควัตรกับจิตตปัญญา

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มี วัตถุประสงค์ ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาหลักการเกี่ยวกับกระบวนการฝึกจิตตปัญญาตามแนวธุดงควัตร  และ 2) เพื่อการวิเคราะห์แนวทางเกี่ยวกับกระบวนการฝึกจิตตปัญญาตามแนวธุดงควัตร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย วิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับกลุ่มเป้าหมาย 15 คน/รูป ผลการวิจัยพบว่า

1. การศึกษาหลักการเกี่ยวกับกระบวนการฝึกจิตตปัญญาตามแนวธุดงควัตร ผลการวิจัย พบว่า การฝึกจิตตปัญญาตามแนวธุดงควัตรของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่ดูลย์ อตุโล และ หลวงปู่ชา สุภทฺโท เมื่อพิจารณาแล้วจากการศึกษาข้อมูล การฝึกจิตตปัญญาโดยทั่วไปว่า จิตของชาวเอเชียและชาวตะวันตก โดยพื้นฐานแล้วไม่แตกต่างกัน ซึ่งการปฎิบัติธรรมปัญญาที่แท้เกิดจากการที่เรา มีสติในทุก ๆ อิริยาบถ การฝึกปฏิบัติต้องเริ่มขึ้นทันทีที่ตื่นนอนตอนเช้า และต้องปฏิบัติ ให้ต่อเนื่อง ยึดถือธุดงควัตรด้วยจริยวัตรปฏิปทาจนได้รับการยกย่องจากผู้ศรัทธาทั้งหลายว่าเป็นพระผู้เลิศทางธุดงควัตร เข้าใจหลักสามารถรู้เห็นและเข้าใจได้ด้วยการศึกษาจิตของตนเอง และแนวทางการสร้างสัมพันธภาพกับที่เรียน

2 การวิเคราะห์แนวทางเกี่ยวกับกระบวนการฝึกจิตตปัญญาตามแนวธุดงควัตร ผลการวิจัย พบว่า 1) เข้าใจหลักการของการพัฒนาเข้าสู่มิติที่สามซึ่งเป็นอิสรภาพในระดับสูงสุดว่าเป็น การเกิดญาณหยั่งรู้จนแทงตลอดถึงความจริงของสรรพสิ่ง ว่าทั้งส่วนที่เป็นร่างกายและส่วนที่เป็นจิตใจไม่มีส่วนใดที่เป็นตัวเราหรือของเราอย่างแท้จริง จะเลือกทำสิ่งที่เหตุผลหรือปัญญาเห็นว่าถูกต้อง 2) ลักษณะการปฎิบัติธุดงค์ กับการปฎิบัติธรรม มีเป้าหมายเหมือนกัน เพื่อให้พ้นทุกข์ หลักปฏิบัติเราต้องเรียนรู้กาย เรียนรู้ใจ ความอยากเกิดจากอะไร ความอยากเกิดจากการไม่รู้ความจริงของกายของใจ 3) พระสงฆ์หรืออุบาสกอุบาสิกามีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติ และ 4) เกิดเรียนรู้ถึงความสุขแม้จะมองว่าดูทุกข์ แต่เมื่ออินทรีย์ของผู้ปฏิบัติแกร่งกล้านาน ๆ ก็จะเห็นสุขคือสุขโดยการละสิ่งต่าง ๆ ได้มีผู้คนศรัทธาในพระพุทธศาสนา ก็ยังผลให้เกิดประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาในภาพรวม

References

กรนัท สุรพัฒน์. (2556). “กระบวนการแนวจิตตปัญญาศึกษา: การเปลี่ยนแปลงภายในตน บนเส้นทางสู่ชีวิตที่หลอมรวม”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

จิรพร ชีวะธรรม. (2565). วิเคราะห์การพัฒนาชีวิตตามหลักที่ปรากฎในพระไตรปิฎก. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: file:///C:/Users/Lenovo/Downloads/adminpali.

จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร. (2550). “การวิจัยและพัฒนาจิตตปัญญาศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทย”. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษา. คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลลดา ทองทวี และคณะ. (2551). จิตตปัญญาพฤกษา : การสำรวจและสังเคราะห์ความรู้จิตตปัญญาศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: โครงการวิจัยและการจัดการความรู้จิตตปัญญาศึกษา ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประเวศ วะสี. (2550). มหาวิทยาลัยไทยกับจิตตปัญญาศึกษาและไตรยางค์แห่งการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

ปราณี อ่อนศรี. (2557). “จิตตปัญญาศึกษา: การศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ในศตวรรษที่ 21”. วารสารพยาบาลทหารบก 15. (1) (มกราคม – เมษายน)

พระธรรมโกศาจารย์. (2549). คู่มือพ้นทุกข์ ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมสภา.

พระธรรมปิฎก. (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ชำระเพิ่มเติมช่วงที่ 1/ยุติ). พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.

_________ (2537). ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิกจำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์. (2557). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 27.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

_________ (2552). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

พระมหาบุญไทย ปุญญมโน. (2563). การเดินทางคือส่วนหนึ่งของชีวิต. สืบค้นข้อมูลจาก https://www.cyber vanaram.net/2009-12-17-14-44-23-14/1198-2015-06-30-13-53-28.

พระราชธรรมเจติยาจารย์. (2541). ประวัติพระอาจารย์มั่น (ฉบับสมบูรณ์) และจิตใต้สำนึก. กรุงเทพมหานคร: บริษัทประชาชน.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2543). มิลินทปัญหา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มิตซูโอะ คเวสโก. (2555). ธุดงค์ญี่ปุ่น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิมายา โคตรมี.

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (2533). คัมภีร์วิสุทธิมรรค เล่ม 1 วัดมหาธาตุ จัดพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในงานออกเมรุพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง กรุ๊ฟ.

สรยุทธ รัตนพจนารถ (มปป.). “ริเริ่มสำรวจความรู้น้อมนำมาเข้าสู่ใจใคร่ครวญประยุกต์ใช้ฏิบัติ”. การประชุมวิชาการประจำปี 2551. โครงการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

สิริอัญญา (2549). วิมุตตะมิติมหัศจรรย์แห่งโลกภายใน. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ธรรมนิติ เพรส จำกัด.

อัมพร จันทร์ตัน. (2550). “ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติธุดงค์กับการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Gentlediary. (2565). นิยามของการเดินทาง. สืบค้นข้อมูลจาก https://storylog.co/story/5b2fd4ab 2f12bbf32777a403.

Pknn storyteller. (2565). การเดินทาง. สืบค้นข้อมูลจาก https://storylog.co/story/56c6f- 3814e86bb 6d223eba73.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

พระครูสุวรรณจันทนิวิฐ, พระมหากิตติ กิตฺติเมธี (เบญญาบวรกิตติ์), & พระครูสังฆรักษ์บุญมี ยติโก. (2022). การศึกษากระบวนการฝึกจิตตปัญญาตามแนวธุดงควัตร. วารสาร นวพุทธศาสตร์, 1(1), 1–12. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS/article/view/1371