แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในการถ่ายทอดคลังปัญญาของประชาชน

ผู้แต่ง

  • สงคราม จันทร์ทาคีรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • รสนันท์ มานะสุข วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ฐิญาภัณณ์ วงษา วิทยาลัยสงฆ์ตาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อำนาจ สาเขตร์ วิทยาลัยสงฆ์ตาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพชีวิต, การถ่ายทอดคลังปัญญา, ผู้สูงอายุกับการถ่ายทอดคลังปัญญา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาลักษณะการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในการถ่ายทอดคลังปัญญาของประชาชน 2) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในการถ่ายทอดคลังปัญญาของประชาชน 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในการถ่ายทอดคลังปัญญาของประชาชน คณะผู้วิจัยได้กำหนดใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodology Research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการคัดเลือกผู้สูงอายุจังหวัดเชียงราย 55 คน และ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญผู้เกี่ยวข้องกับงานวิจัย 22 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาลักษณะการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในการถ่ายทอดคลังปัญญาของประชาชนผลการวิจัย พบว่า ลักษณะการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในการถ่ายทอดคลังปัญญาของประชาชน เป็นลักษณะการถ่ายทอดที่เน้นการตระหนักและเห็นความสำคัญของการถ่ายทอดเพื่อเป็นการสืบทอดคลังปัญญาแก่คนรุ่นหลังสู่คนรุ่นหลัง 2) การวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในการถ่ายทอดคลังปัญญาของประชาชน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มผู้สูงอายุได้ให้ในหัวข้อเกี่ยวกับ ความสำคัญของการถ่ายทอดคลังปัญญา ในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.50  และเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในการถ่ายทอดคลังปัญญาของประชาชนผลการวิจัย พบว่า การนำเสนอในเรื่องของการถอดบทเรียนของผู้สูงอายุมีการเตรียมความพร้อมในการถ่ายทอดของผู้ถ่ายทอด โดยให้ให้ความรู้และอธิบายในเรื่องประวัติความเป็นมา วัสดุ อุปกรณ์ คติความเชื่อ ประโยชน์ใช้สอยและคุณค่าของคลังปัญญาท้องถิ่น

References

จิรภา วิลาวรรณ (2565). “ผลของโปรแกรมการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและป้องกัน ภาวะซึมเศร้า เชิงสังคมและวัฒนธรรมในกลุ่มผู้สูงอายุตำบลนาฝาย อำเภอเมืองจังหวัดชัยภูมิ”. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 15 (1) (มกราคม – เมษายน)

ธันยาภรณ์ โพธิกาวิน. (2553). กระบวนการเรียนรู้และการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีประเภทขลุ่ยและแคน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี . วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (พัฒนศึกษา) นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประหยัด พิมพา. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุ ในเขตตรวจราชการที่ 10. หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ (นบส.ศธ.3). สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา. สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ.

พระมหาเรื่องเดช ศรีประสม (ถาวรธมโม) (2553). ศูนย์การเรียนรู้: การพัฒนารูปแบบเพื่อบริการชุมชน ของวัดในภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วรเวศม์ สุวรรณระดา และรักชนก คชานุบาล (2557). การขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคม. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีจันทรัตน์ กันทะวัง. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวการสอนเชิงประสบการณ์ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา. ดุษฏีนิพนธ์ ดบ. (ศึกษาศาสตร์). สุโขทัย : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต. (2555). แบบสำรวจความสุขด้วยตนเอง HAPPINOMETE ความสุขวัดเองก็ได้. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศิรินุช ฉายแสง. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (การสร้างเสริมสุขภาพ). มหาวิทยาลัยราชภัฏ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุภรัชต์ อินทรเทพ. (2561). รูปแบบการพัฒนาการถ่ายทอดภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการดำรงชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับครัวเรือนในชุมชน จังหวัดสระแก้ว. ดบ. (สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา) ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30

How to Cite

จันทร์ทาคีรี ส., รสนันท์ มานะสุข, วงษา ฐ. ., & สาเขตร์ อ. . (2024). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในการถ่ายทอดคลังปัญญาของประชาชน. วารสาร นวพุทธศาสตร์, 3(2), 1–16. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/jMBS/article/view/1323