ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารและพัฒนาองค์กรของเทศบาลตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • ลัดดาวัลย์ ประมูลพงษ์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • วิราสิณี สิริศรีเกษตร สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • จักรินทร์ นิลตะโก สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • ณัฐพัชร์ ชะอุ่ม สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

ปัจจัย, ความสำเร็จ, การพัฒนา, การบริหาร , เทศบาลตำบล

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จต่อการบริหารและพัฒนาองค์กรของเทศบาลตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารและพัฒนาให้แก่องค์กรอื่นๆ ต่อๆไป เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีกรอบการศึกษาวิจัย โดยใช้แนวคิดการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือบุคลากรของเทศบาลตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี จำนวนประชากรทั้งหมด 77 คน และได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 24 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล  และนำมาวิเคราะห์โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงเช่น ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1)  ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านการดำรงสมาชิกภาพและเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร มีการเข้าร่วมกิจกรรมขององค์กร โดยมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด   (equation = 4.71 และ S.D.= 0.54)  2)  นำเสนอแนวทางในการพัฒนาองค์กร เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยแต่ละด้าน พบว่า  ด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุดไปจนถึงต่ำสุด 1.ด้านการดำรงสมาชิกภาพและการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร  (equation = 4.71)  2. ด้านลักษณะงาน มีความรู้ความเข้าใจในหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบ (equation= 4.63)     3.ด้านความพยายามทุ่มเทปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร ปฏิบัติตามนโยบายขององค์กรอย่างเคร่งครัด  (equation= 4.63)  4.ด้านรู้สึกภูมิใจเมื่อได้ยินบุคคลอื่นกล่าวถึงองค์กรในทางที่ดี (equation= 4.63) 5.ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้า (equation= 4.42)

References

French, W. L., & Bell, C. H. (1978). Organizational development: Behavioral science interventions for organizational improvement

(2nd ed.). Prentice Hall.

Herzberg, F. (1959). The motivation to work. John Wiley & Sons, Inc.

Jirapot, S. (2019). Factors of management affecting the success of local innovation: A case study of local administrative organizations in the southern region. Master's degree in Public Administration, Prince of Songkla University, Songkhla Province.

Krejcie, R. V., & organ, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Office of the Election Commission. (2019). Knowledge about local governance and political culture in 2019: Insights into local elections. Retrieved June 4, 2024, from https://www.bankaosao.go.th/fileupload/7842.pdf

Peerapong, K., & Thanawit, T. (2020). Factors affecting local government administration in Chanthaburi province. Journal of Academic MCUR, Buriram, Suan Sunandha Rajabhat University, 5(1), 109-121.

Porter, M. E. (1980). Competitive strategy: Techniques for analyzing industries and competitors. Free Press.

Sichanangsu, R. (2017). Two-factor theory. Master of Business Administration, Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Krungthep, Bangkok, Thailand.

Thanabadee, T. (2017). Factors explaining governance of local government executives in the eastern region of Thailand. Ratchanakarin Journal of Public Administration, Doctoral Program, 1(1), 1-8.

Thakhanun Subdistrict Administrative Organization. (2021). General conditions and basic information. Thakhanun Subdistrict Administrative Organization, Thong Pha Phum District, Kanchanaburi Province. (Photocopy).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-02-2025

How to Cite

ประมูลพงษ์ ล., สิริศรีเกษตร ว., นิลตะโก จ. ., & ชะอุ่ม ณ. . (2025). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารและพัฒนาองค์กรของเทศบาลตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารสังคมศึกษาปริทรรศน์, 1(2), 10–19. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/J_SSR/article/view/1274