ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ละครภัย (ใต้) จิตสำนึก เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสัมพันธภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยทักษิณ ฝ่ายมัธยม
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, ละครภัย (ใต้) จิตสำนึก, ทักษะการสร้างสัมพันธภาพบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ละครภัย (ใต้) จิตสำนึก เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสัมพันธภาพ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ละครภัย (ใต้) จิตสำนึก เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสัมพันธภาพ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ได้ศึกษาแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก ละครสร้างสรรค์ และทักษะการสร้างสัมพันธภาพ เป็นกรอบการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 3 ห้องเรียน จำนวน 87 คน ใช้วิธีคัดเลือกโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ละครภัย (ใต้) จิตสำนึก 2) แบบประเมินทักษะการสร้างสัมพันธภาพและการประเมินทักษะการสร้างสัมพันธภาพ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ละครภัย (ใต้) จิตสำนึก เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสัมพันธภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบซี (Z-test) ผลการวิจัยพบว่า
- ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ โดยใช้ละครภัย (ใต้) จิตสำนึก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ละครภัย (ใต้) จิตสำนึก เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสัมพันธภาพ อยู่ในระดับดีมากที่สุด
องค์ความรู้/ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอนที่สนในในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อกระบวนการทำงานกลุ่ม โดยใช้กิจกรรมชั้นเรียนในรูปแบบละคร เพื่อสร้างสรรค์ผลงานละครภัย(ใต้) จิตสำนึกของห้องเรียนบนฐานปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์และมีความสุข
References
Baldwin, Jill1 & Williams, Hank2. (1988). Active Learning: a Trainer’s Guide. England: Blackwell Education.
Baipho, P. (2021). Development of Storytelling with Creative Drama Activity Package to Enhance Relationship Skills of Primary School Students. Bangkok. Faculty of Education:Chulalongkorn University.
Collaborative for Academic Social and Emotional Learning: CASEL. (2017). Sample Teaching Activities to Support Core Competencies of Social and Emotional Learning. https://casel.org/sample-teaching-activities-to-support-corecompetencies/
Damrung, P. (2007). Drama for youth (Phim khrang thī 3.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. Form*/”Active Learning Management by STAD Techniques of Students Course Psychology for Teachers in the Graduate Diploma Teaching Profession College of AsianScholars,”/by/ Songad, P,/2019/College of Asian Scholars Journal,/Volume(2019),/p. 161 – 172.
Hening, R. B1, & Stillwell, L2. (1981). Creative drama for the classroom teacher (2nd ed.). Prentice-Hall.
Jungwiwattanaporn, P. (2004). Creative Drama for Children. Bangkok: Institute of Academic Development.
Office of the Basic Education Commission. (2019). Guidelines for supervision to develop and promote active learning management according to the policy Teach less, learn more. Bangkok: OBEC Supervisory Division.
Phattarakorn, S. (2009). The Effects of Organizing Activity Learning on Problem Solving and Mathematical Communication Abilities of Mathayomsuksa III Studenta in Probability. Bngkok: Srinakharinwirot University.
Secondary Education Administration Bureau. (2015). the guidelines for learning management In 21st Century Skills that Emphasize Professional Competence. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand Publisher.
Singcharoern, T. (2000). The satisfaction of Grade 7 students at Wang Klai Kangwon School and Rajaprajanugroh School under Royal Patronage with the satellite-based distance learning method. Bangkok: Ramkhamhaeng University.
Somsak, D. (2021). Guidelines for Education Management to Develop Human Resources in the 21st Century. Bangkok: Journal of Teacher Professional Development.
World Health Organization: WHO. (2003). Skills for health: Skills-based health education including life skills: An important component of a child-friendly/healthpromoting school.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศึกษาปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.