การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้บูรณาการสื่อมัลติมีเดีย เพื่อส่งเสริม การคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ รายวิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • สรายุธ รัศมี สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ , สื่อมัลติมีเดีย, การคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย รายวิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อรูปแบบการเรียนรู้บูรณาการสื่อมัลติมีเดีย เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 คน ใช้วิธีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 6 ชนิด คือ  1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ปัญหาทางสังคม 2) แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน 4) แบบประเมินการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน 5) แบบประเมินกิจกรรมกลุ่มสำหรับประเมินการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบไม่อิสระ (t-test) และการบรรยายเชิงพรรณา

ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้มี 5 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ หลักการออกแบบ วัตถุประสงค์ ขั้นตอน การวัดและประเมินผลและปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้  2) นักเรียนร้อยละ 73.33 สามารถพัฒนาการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมกลุ่ม มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 74.81  3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)  4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.62 สะท้อนให้เห็นว่าการศึกษาในโลกยุคใหม่เป็นการเรียนรู้ที่ต้องประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อทำให้ผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์ในบริบทที่หลากหลาย เกิดการสร้างสรรค์ทางความคิด ส่งเสริมให้สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเชิงลึกได้อย่างมีเหตุผล นำไปสู่การพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 อย่างมีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ในชีวิตจริง

References

Bebell, D., & O'Dwyer, L. M. (2010). The impact of technology on academic achievement. Educational Policy Analysis Archives, 18(1). https://doi.org/10.14507/epaa.v18n1.2010.

Boonpakdee, K. (2009). Study on Factors Affecting Student Educational Achievement Bachelor of Education, Industrial and Technology, King Mongkut's University of Technology Thonburi. Thesis, Faculty of Industrial Education and Technology, King Mongkut's University of Technology Thonburi.

Chanchokpong, N. (2024). Raising a modern child Understanding Generation Z for better parenting. https://th.theasianparent.com/get-to-know-gen-z.

Chanthong, K. (2017). Teaching of Social Studies in the 21st Century. Academic Services Journal Prince of Songkla University, 28(2), 227-241. Retrieved from https://journal.oas.psu.ac.th/index.php/asj/article/view/1139/1004.

Garrison, K. & Magoon, R. A. (1972). Educational psychology ; an integration of psychology and educational practices. Publisher Columbus.

Khaochaeng, T. (2012). Satisfaction of Grade 6 Students with Buddhist Methods Teaching in the Trisikkha Style in Chanthaburi Kindergarten. Social Sciences for Development, Rumpaiphanee Rajabhat University.

Markham,T. (2011). Project-Based Learning and Its Impact on Students' Motivation and Achievement. International Journal of Project-Based Learning.

Ministry of Education (Thailand). (2008). Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). Office of Academic Affairs and Educational Standards.

National Science and Technology Development Agency. (2017). Thai Glossary. NSTDA annals. https://www.nstda.or.th/archives/thaiglossary/.

Osborn, A. F. (1953). Applied imagination: Principles and procedures of creative problem-solving. Charles Scribner's Sons.

Sangthong, A. Niyomsap, N. & Sirithanyarat, C. (2019). Development of problem-solving ability using psychomotor skills learning management with problem solving process and jigsaw technique in culinary arts for eleventh-grade students. Journal for social sciences

research, 10(2), 113-129.

Shelly, W. M. (1975). Responding to social change. dowden Hutchision&Press.

Silver, D. H., & McCormick, L. K. (2012). The impact of creative problem-solving on student achievement and engagement. Journal of Educational Psychology, 104(2), 306–316. https://doi.org/10.1037/a0027600.

Treffinger D., Isaksen S., & Dorval K. (2010). Creative Problem Solving (CPS Version 6.1™) A Contemporary Framework for Managing Change. Center for Creative Learning, Inc. and Creative Problem Solving Group, Inc.

Ubon Ratchathani University. (2021). Meaning of Multimedia. Online Course. https://ismart.ubru.ac.th /lesson/ความหมายของ-multimedia.

Vongtathum, P. (2015). Creative Problem Solving Thinking skills for 21st Century of Learning. Journal of Education Khon kaen university, 38(2), 111-121.

Wongyai, W. & Patphol, M. (2019). Creative Integration. Innovative Leaders Center of Curriculum and Learning.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-12-2024

How to Cite

รัศมี ส. (2024). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้บูรณาการสื่อมัลติมีเดีย เพื่อส่งเสริม การคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ รายวิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารสังคมศึกษาปริทรรศน์, 1(1), 53–65. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/J_SSR/article/view/1104