ปัญหาการทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30/1

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐณิชา ยิ้มซ้าย ผู้ช่วยนักวิจัย

คำสำคัญ:

การทำงานบริการสังคม, ค่าปรับ, ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30/1, มาตรการทางเลือก, การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 30/1 ในบริบทกระบวนการยุติธรรมไทย ศึกษาเปรียบเทียบกับหลักกฎหมายและการบังคับใช้ในต่างประเทศ โดยอาศัยการรวบรวมค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารที่เป็นภาษาไทย รวมทั้งหาข้อมูลทางเว็ปไซด์ที่สามารถเข้าถึงง่ายและเป็นเหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ  อันเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่องานวิจัย ตลอดจนศึกษาหนังสือ ตำรา เอกสารคำสอน งานวิจัย รายงานการศึกษา วิทยานิพนธ์  บทความทางวิชาการ บทความวิจัย ทั้งที่เป็นหนังสือ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และโดยการศึกษาสัมภาษณ์เชิงลึก

ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาสำคัญในการบังคับใช้มาตรการดังกล่าว ได้แก่ 1) ปัญหาด้านการบริหารจัดการ 2) ปัญหาการขาดระบบประเมินสถานะทางการเงินก่อนที่ศาลจะพิจารณา และ 3) ปัญหาด้านบุคลากร ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ ดังนี้ 1. ปัญหาด้านการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในการไม่แจ้งสิทธิในการยื่นคําร้องเพื่อขอทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 30/1 เมื่อพิพากษาลงโทษปรับก็ควร มีการแจ้งสิทธิ์โดยทันที 2. ปัญหาการขาดระบบประเมินสถานะทางการเงินก่อนที่ศาลจะพิจารณา ควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์และแบบประเมินสถานะทางการเงินที่เป็นมาตรฐาน 3. ปัญหาด้านบุคลากร อบรมพนักงานคุมประพฤติเฉพาะด้านเกี่ยวกับการดูแลผู้กระทำความผิดที่ทำงานบริการสังคมเพื่อให้คำปรึกษาแก่ผู้ต้องโทษปรับได้เลือกงานบริการสังคมที่เหมาะสมแก่ตนเอง และรวมถึงควรให้อำนาจพนักงานคุมประพฤติในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเภทงานได้เพื่อให้ผู้ต้องโทษปรับสามารถทำงานได้จริง

ผู้วิจัยเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้งในด้านการลดความแออัดในเรือนจำ การฟื้นฟูผู้กระทำความผิด และการสร้างประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง

References

กฤษณพงค์ พูตระกูล และคณะ. (2564). กระบวนการยุติธรรมทางเลือกในต่างประเทศ สู่โมเดลการแก้ไขปัญหากระบวนการยุติธรรมไทย. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2025, จาก https://researchcafe.tsri. or.th/judicial-process/

ณัฐธิดา ดวงวิโรจน์. (2562). ความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ทางเลือกในการระงับข้อพิพาทที่ ‘ยุติธรรมสำหรับทุกคน. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2025, จาก https://www.the101.world/restorative-justice-1/

ปกป้อง ศรีสนิทและปริญญา เทวานฤมิตร. (2567). การกักขังผู้ต้องโทษค่าปรับที่ไม่มีเงินจ่ายค่าปรับเป็นปัญหาอย่างไร.สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2025, จาก https://thammasatlawcenter.law.tu.ac. th//f/

ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2559 (2559, เมษายน 7) ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 133 ตอนที่ 31, ก

ปิยวรรณ พันธวงค์. (2563). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ แทนค่าปรับของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

มนสิชา บุนนาค. (2556). การกำหนดโทษทางเลือกกับการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ศรันยา สีมา. (2567). การทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ. (รายการร้อยเรื่องเมืองไทยสถานีวิทยุกระจาย เสียงรัฐสภาและสำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร).

ศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา. (2566). การทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2025, จาก https://atymc.coj.go.th/th/ content/category/detail/id/8/iid/388476

ศิวรุฒ ลายคราม และคณะ. (2566). มาตรการกักขังแทนค่าปรับกับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 6(1).

สำนักคุมประพฤติจังหวัดชุมพร. (ม.ป.ป). งานบริการสังคม. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2025, จาก https:// chuphonprobation.com/index.p hp/งานบริการสังคม

สุภาวดี อินแถลง. (2567). ปัญหาและแนวทางการทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์ แทนค่าปรับในคดีอาญา. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา.

อัคคกร ไชยพงษ์. (2567). กระบวนการยุติธรรมทางอาญา. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ บริษัท สามดี ออลล์ จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-28

How to Cite

ยิ้มซ้าย ณ. . (2025). ปัญหาการทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30/1. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการบริหารงานยุติธรรม, 1(1), 15–27. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/JISSJA/article/view/1850