การบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • ทนงศักดิ์ ปัดสินธุ์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, กองทุนสวัสดิการชุมชน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลห้องแซง และเพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลห้องแซง อำเภอ              เลิงนกทา จังหวัดยโสธร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ สมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนในเขตตำบลห้องแซง โดยการคำนวณหากลุ่มตัวอย่างที่จากสูตรของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 341 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนตำบลห้องแซง            มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดและรองลงมา ได้แก่ ด้านการควบคุม ด้านการจัดการองค์กร ด้านการวางแผน และด้านการอำนวยการ 2) สมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนที่มีระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลห้องแซงโดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนที่มีเพศแตกต่างกัน มีการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลห้องแซงด้านการอำนวยการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนที่มีอายุแตกต่างกัน มีการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลห้องแซงด้านการวางแผน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: หจก.สามลดา.

จริยา งามบุญสืบ. (2563). การบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนเมืองอโยธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

เชาวนนท์ เจียมใจ. (2566). การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรป่าขะสามัคคี หมู่บ้านทุ่งกระโปรง ตำบลป่าขะ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

เทศบาลตำบลห้องแซง. (2567). ข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลตำบลห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. ม.ป.ท.

นันน์ฐิยา จันทรวงศ์และคณะ. (2563). การพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจัยวิชาการ. 3(2), 51 - 64.

ปุณยภา บุญทนาวงค์. (2566). ความคิดเห็นของสมาชิกต่อการดำเนินงานกองทุนสวัสดิการชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภาคิน อนันตโสภณ. (2563). การดำเนินงานของผู้ประกอบการและแนวทางพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. 10(3), 57 - 64.

วีรินท์ ข้องเกี่ยวพันธุ์. (2561). กระบวนการจัดการที่มีผลต่อประสิทธิภาพของวิสาหกิจชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจบุรี.

ศิระ ภูมิภักดิ์. (2564). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนของ เทศบาลตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/30/2024

How to Cite

ปัดสินธุ์ ท. . . (2024). การบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา, 2(1), 1–14. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1110

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)