การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 2) จัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ และ (3) เสนอแนวทางการพัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จำนวน 60 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูผู้สอน และแบบวัดเจตคติ วิเคราะห์ข้อมูลใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์เนื้อหา และการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านความรู้และพฤติกรรม ครูผู้สอนมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาเรื่องการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน และการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็ม ด้านเจตคติ ครูมีเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้ในระดับค่อนข้างดี ร้อยละ 49.88 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูผู้สอนด้นการจัดการเรียนรู้จากมากไปน้อย คือ ด้านพฤติกรรม ด้านความรู้ และด้านเจตคติ ตามลำดับ 3) แนวทางการพัฒนาครูผู้สอนจากผลการประเมินความต้องการจำเป็น มีประเด็น การพัฒนาคือ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน การจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง สะเต็มศึกษา โดยครูผู้สอนเรียนรู้ด้วยการศึกษาด้วยตนเอง ศึกษาจากเพื่อนครู และวิทยากร ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครู ผู้บริหารควรให้การสนับสนุน ส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเอง
References
ซาพียัน อูมา. (2557). ความสำคัญของการศึกษา และครูในการสร้างสันติสุขในสังคมไทย. สืบค้น ธันวาคม 2565, จาก http://soleehi.blogspot.com/.
“พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542” (2542, 19 สิงหาคม ) ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 116 ตอนที่ 74ก หน้า 45-46.
ตะวัน ไชยวรรณ และกุลธิดา นุกูลธรรม. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน : การ เรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมความรู้ของผู้เรียนในโลกแห่งความจริง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(2), 251-263.
จำลอง ราชโยธา. (2552). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้คิดวิเคราะห์ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
ถนอมจิตต์ ขุททะกะพันธ์. (2546). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความรู้และทักษะของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประภา ธานีรัตน์. (2550). บทบาทครูในยุคปฏิรูปการเรียนรู้. วารสารรามคำแหง มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 24(1), 120.
พัชรี ขันอาสะวะ. (2544). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูผู้สอนด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. วิทยานิพน์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : แนวคิด วิธี และเทคนิคการสอน 1. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมนเนจเม้นท์.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รายงานการศึกษาไทยในเวทีโลก พ.ศ.2549. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอียน สมิธ และอนงค์ วิเศษสุวรรณ์. (2550). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา., 18(2), 1 – 10.
Botcheva, L.. White, C.R.. & Huffiman, L.C. (2002). Learning culture and outcomes measurement practices in community agencies. American Journal of Evaluation, 23(4), 421-434.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.